เมนู

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีธรรมา-
ภิสมัยสำเร็จเจริญไป ครั้งนั้น ในการทรงแสดงธรรม
ครั้งที่ 1 สัตว์ร้อยโกฏิตรัสรู้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผีโต ได้แก่ถึงความเจริญโดยชนเป็นอัน
มากรู้ธรรม. บทว่า โกฏิสตานิ ได้แก่ร้อยโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสตะ ปาฐะว่า
โกฏิสตโย ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นความว่า ร้อยโกฏิ.
ภายหลังสมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน
ต้นประดู่ ใกล้ประตู โอสธีนคร ประทับนั่งเหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
ภพดาวดึงส์ ซึ่งพวกอสูรครอบงำได้ยาก ทรงยังฝนคือพระอภิธรรมให้ตกลง
ตลอดไตรมาส. ครั้งนั้น เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ตกลงในอภิสมัยต่อจากนั้น ในการที่ทรงแสดงธรรม
ครั้งที่ 2 เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ เมื่อมหาเมฆคือพระ-
พุทธเจ้า หลั่งฝนตกลง. บทว่า ธมฺมวุฏฺฐิโย ได้แก่ เมล็ดฝน คือ ธรรมกถา.
สมัยต่อจากนั้น สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฏิตรัสรู้ ในการที่ทรงแสดงมงคล
ปัญหา. นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือ
ธรรม ต่อจากนั้น ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่ม อภิสมัยครั้ง
ที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฎิ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ ทรงหลั่งธารน้ำ คือ
ธรรมกถา. บทว่า ตปฺปยนฺเต ได้แก่ ให้เขาอิ่มด้วยน้ำฝน คืออมตธรรม.
อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเขาให้อิ่ม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ทรงมีสาวกสันนิบาต 3 ครั้ง. ใน 3
ครั้งนั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์แปดแสน ซึ่งเลื่อมใส
ในธรรมที่ทรงแสดงโปรด พระเจ้าอิสิทัตตะ ณ กรุงโสเรยยะ แล้วบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในเมื่อทรงแสดงธรรมโปรด พระสุนทรินธระ
กรุงราธวดี นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลาง
พระอรหันต์หกแสน ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา พร้อมกับ พระเจ้าโสเรยยะ
กรุงโสเรยยะ
อีก นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระอรหันต์ผู้ ถึง
กำลังแห่งอภิญญาผู้บานแล้วด้วยวิมุตติ.
ครั้งนั้น ประชุมพระอรหันต์แปดแสน ผู้ละ-
ความเมาและโมหะ มีจิตสงบ คงที่.
ครั้งที่ 2 ประชุมพระอรหันต์เจ็ดแสน ผู้ไม่มี
กิเลส ปราศจากกิเลสดังธุลี ผู้สงบคงที่.
ครั้งที่ 3 ประชุมพระอรหันต์หกแสน ผู้ถึงกำลัง-
แห่งอภิญญา ผู้เย็น ผู้มีตบะ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสาปิ จ มเหสิโน ได้แก่ แม้พระ
อโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น. ปาฐะว่า ตสฺสาปิ