เมนู

แม้ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์
ทั้งหลายก็ยินดี สัตว์เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระองค์
ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสี ได้แก่ น่าดูไม่มีที่เทียบ
หรือน่าดูหาประมาณมิได้. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารหาประมาณ
มิได้ หรือมีพระเกียรติหาประมาณมิได้. บทว่า เตชสฺสี ได้แก่ ทรงประกอบ
ด้วยเดชคือศีลสมาธิปัญญา. บทว่า ทุรติกฺกโม ได้แก่ อันใครกำจัดได้ยาก
อธิบายว่า ทรงเป็นผู้อันไม่ว่าเทวดา หรือมาร หรือใคร ๆ ไม่อาจละเมิดได้.
บทว่า โส เฉตฺวา พนฺธนํ สพฺพํ ได้แก่ ทรงตัดสัญโยชน์ 10 อย่างได้
หมด. บทว่า วิทฺธํเสตฺวา ตโย ภวา ได้แก่ กำจัดกรรมที่ไปสู่ภพทั้ง 3
ด้วยญาณเครื่องทำให้สิ้นกรรม. อธิบายว่า ทำไม่ให้มี. บทว่า อนิวตฺติคมนํ
มคฺคํ
ความว่า พระนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการกลับ การเป็นไป ท่าน
เรียกว่า อนิวตฺติ บุคคลย่อมถึงพระนิพพาน อันไม่กลับนั้น ด้วยมรรคานั้น
เหตุนั้นบรรดานั้น ชื่อว่าอนิวัตติคมนะ เครื่องไปไม่กลับ. อธิบายว่า ทรง
แสดงมรรคมีองค์ 8 อัน เป็นเครื่องไปไม่กลับนั้น. ปาฐะว่า ทสฺเสติ ดังนี้
ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เทวมานุเส ได้แก่ สำหรับเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อสงฺโขโภ ความว่า ทรงเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจให้กระ-
เพื่อให้ไหวได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อักโขภิยะ ผู้อันใครให้กระเพื่อมมิได้.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า สมุทรลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ เป็นที่อยู่แห่งภูต
หลายพันโยชน์ อันอะไรๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นผู้อัน

ใครๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันนั้น. บทว่า อากาโสว อนนฺโต ความว่า
เหมือนอย่างว่า ที่สุดแห่งอากาศไม่มี ที่แท้ อากาศมีที่สุดประมาณมิได้ ไม่
มีฝั่ง ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่มีที่สุด ประมาณมิได้ ไม่มีฝั่ง
ด้วยพระพุทธคุณทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น. บทว่า สาลราชาว ผุลฺลิโต ความว่า ย่อมงามเหมือนพระ-
ยาสาลพฤกษ์ที่ดอกบานเต็มที่ เพราะทรงมีพระสรีระประดับด้วยพระลักษณะ
และอนุพยัญชนะทุกอย่าง. บทว่า ทสฺสเนนปิ ตํ พุทฺธํ ความว่า แม้ด้วย
การเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. แม้ในฐานะเช่นนี้ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์
ย่อมประกอบฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า โตสิตา ได้แก่ ยินดี อิ่มใจ. บทว่า
พฺยาหรนฺตํ ได้แก่ พฺยาหรนฺตสฺส ของพระองค์ผู้กำลังตรัสอยู่ ทุติยา.
วิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า อมตํ ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า
ปาปุณนฺติ แปลว่า บรรลุ. บทว่า เต ความว่า สัตว์เหล่าใด ฟังพระดำรัส
คือพระธรรมเทศนาของพระองค์ สัตว์เหล่านั้น ย่อมบรรลุอมตธรรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ อัน
ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทรง
แสดงธรรม ทรงเห็นชนสามโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
อุปนิสัย ทรงใคร่ครวญว่า เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นอยู่กันที่ไหน ก็ทรงเห็นชน
เหล่านั้นอยู่ ณ สุธัมมราชอุทยาน กรุงสุภวดี เสด็จไปทางอากาศ ลงที่
สุธัมมราชอุทยาน. พระองค์อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ท่ามกลางบริษัทพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ณ ที่นั้น อภิสมัย
ที่ 1 ได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีธรรมา-
ภิสมัยสำเร็จเจริญไป ครั้งนั้น ในการทรงแสดงธรรม
ครั้งที่ 1 สัตว์ร้อยโกฏิตรัสรู้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผีโต ได้แก่ถึงความเจริญโดยชนเป็นอัน
มากรู้ธรรม. บทว่า โกฏิสตานิ ได้แก่ร้อยโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสตะ ปาฐะว่า
โกฏิสตโย ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นความว่า ร้อยโกฏิ.
ภายหลังสมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน
ต้นประดู่ ใกล้ประตู โอสธีนคร ประทับนั่งเหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
ภพดาวดึงส์ ซึ่งพวกอสูรครอบงำได้ยาก ทรงยังฝนคือพระอภิธรรมให้ตกลง
ตลอดไตรมาส. ครั้งนั้น เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ตกลงในอภิสมัยต่อจากนั้น ในการที่ทรงแสดงธรรม
ครั้งที่ 2 เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ เมื่อมหาเมฆคือพระ-
พุทธเจ้า หลั่งฝนตกลง. บทว่า ธมฺมวุฏฺฐิโย ได้แก่ เมล็ดฝน คือ ธรรมกถา.
สมัยต่อจากนั้น สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฏิตรัสรู้ ในการที่ทรงแสดงมงคล
ปัญหา. นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือ
ธรรม ต่อจากนั้น ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่ม อภิสมัยครั้ง
ที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฎิ.