เมนู

แม้ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์
ทั้งหลายก็ยินดี สัตว์เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระองค์
ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสี ได้แก่ น่าดูไม่มีที่เทียบ
หรือน่าดูหาประมาณมิได้. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารหาประมาณ
มิได้ หรือมีพระเกียรติหาประมาณมิได้. บทว่า เตชสฺสี ได้แก่ ทรงประกอบ
ด้วยเดชคือศีลสมาธิปัญญา. บทว่า ทุรติกฺกโม ได้แก่ อันใครกำจัดได้ยาก
อธิบายว่า ทรงเป็นผู้อันไม่ว่าเทวดา หรือมาร หรือใคร ๆ ไม่อาจละเมิดได้.
บทว่า โส เฉตฺวา พนฺธนํ สพฺพํ ได้แก่ ทรงตัดสัญโยชน์ 10 อย่างได้
หมด. บทว่า วิทฺธํเสตฺวา ตโย ภวา ได้แก่ กำจัดกรรมที่ไปสู่ภพทั้ง 3
ด้วยญาณเครื่องทำให้สิ้นกรรม. อธิบายว่า ทำไม่ให้มี. บทว่า อนิวตฺติคมนํ
มคฺคํ
ความว่า พระนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการกลับ การเป็นไป ท่าน
เรียกว่า อนิวตฺติ บุคคลย่อมถึงพระนิพพาน อันไม่กลับนั้น ด้วยมรรคานั้น
เหตุนั้นบรรดานั้น ชื่อว่าอนิวัตติคมนะ เครื่องไปไม่กลับ. อธิบายว่า ทรง
แสดงมรรคมีองค์ 8 อัน เป็นเครื่องไปไม่กลับนั้น. ปาฐะว่า ทสฺเสติ ดังนี้
ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เทวมานุเส ได้แก่ สำหรับเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อสงฺโขโภ ความว่า ทรงเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจให้กระ-
เพื่อให้ไหวได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อักโขภิยะ ผู้อันใครให้กระเพื่อมมิได้.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า สมุทรลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ เป็นที่อยู่แห่งภูต
หลายพันโยชน์ อันอะไรๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นผู้อัน