เมนู

เราตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่าน
ผู้นี้.

พึงกล่าว 17 คาถาให้พิศดาร
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่ม
พูน จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรณํ ตสฺส คญฺฉหํ ตัดบทว่า ตํ
สรณํ อคญฺฉึ อหํ
แปลว่า ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ. ฉัฏฐี-
วิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปญฺญาคุณํ ได้แก่ สมบัติคือปัญญา.
บทว่า อนุตฺตมํ ได้แก่ ประเสริฐสุด. ปาฐะว่า ปญฺญาวิมุตฺติ-
คุณมุตฺตมํ
ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ก็ง่ายเหมือนกัน. บทว่า โถมยิตฺวา
แปลว่า ชมเชยแล้ว สรรเสริญแล้ว. บทว่า ยถาถามํ แปลว่า
ตามกำลัง. บทว่า อุตฺตรียํ แปลว่า ผ้าอุตตราสงค์. บทว่า อทาสหํ
ตัดบทว่า อทาสึ อหํ. บทว่า พุทฺธธมฺมํ ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็น
พระพุทธเจ้า อธิบายว่า บารมีธรรม. บทว่า สริตฺวา แปลว่า ตามระลึกถึง.
บทว่า อนุพฺรูหยึ ได้แก่ ทำให้เจริญยิ่งแล้ว. บทว่า อาหริสฺสามิ แปลว่า
จักนำมา. บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. บทว่า
ยํ มยฺหํ อภิปตฺถิตํ ความว่า เราจักนำความพระพุทธเจ้าที่เราปรารถนา
นักหนามาให้ได้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเรวตพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญ-
วดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้า วิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนาง
วิปุลา
คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระวรุณะ และ พระพรหมเทวะ. พุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททา และ
พระสุภัททา โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ พระสรีระสูง 80 ศอก พระชนมายุ
หกหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา พระโอรสพระ-
นามว่า วรุณะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ครั้งนั้น เปลวพระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย
ของพระองค์ยอดเยี่ยม แผ่ไปโยชน์หนึ่งเป็นนิตย์ ทั้ง
กลางวันทั้งกลางคืน.
พระมหาวีระชินพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรง
อนุเคราะห์สรรพสัตว์ ทรงอธิษฐานว่า ธาตุทั้งหลาย
ของเราทั้งหมด จงเฉลี่ยให้ทั่วถึงกัน.
พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันมนุษย์และ
เทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว ดับขันธปรินิพพาน ณ พระ-
ราชอุทยานมหานาควัน แห่งพระนครอันยิ่งใหญ่แล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า สุธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระ-
เจ้าวิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหม-
เทวะ พระพุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระสัมภวะ.

พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททา และพระสุ-
ภัททา พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้
ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นนาคะ.
อัครอุปัฏฐา ชื่อว่า ปทุมะ และ กุญชระ อัครอุ-
ปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง
80 ศอก ทรงส่งพระรัศมีไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์
อุทัย.
เปลวพระรัศมีบังเกิดในพระสรีระ ของพระองค์
ยอดเยี่ยม แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางคืนกลาง
วัน .
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์เพียงนั้น จึงทรงยัง
หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระเรวตพุทธเจ้า ทรงแสดงกำลังของพระพุทธ-
เจ้า ทรงประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนไฟสิ้นเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.
พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย พระธรรมไม่มีธรรม
อื่นเทียบได้นั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.


1. ม. ชื่อว่า สิริมา และยสว.ตี

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาเสติ ได้แก่ ส่องสว่าง. บทว่า
อุคฺคโต แปลว่า ขึ้นไปแล้ว. บทว่า ปภามาลา ได้แก่ ขอบเขตพระรัศมี.
บทว่า ยถคฺคิ ได้แก่ เหมือนกับไฟ บทว่า อุปาทานสงฺขยา แปลว่า สิ้น
เชื้อ. บทว่า โส จ กาโย รตนนิโภ ได้แก่ พระวรกายของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นมีวรรณะเพียงดังทองนั้นด้วย. ปาฐะว่า ตญฺจ กายํ รตนนิภํ
ดังนี้ก็มี ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. ปาฐะนั้นความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. คาถา
ที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระเรวตพุทธเจ้า