เมนู

พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมู่ชนที่ควรข้ามให้ข้าม
โอฆสงสาร ยังหมู่ชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
พระภิกษุขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้
ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น ท่านเหล่านั้นมียศยิ่ง
ใหญ่ สำแดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบแล้วก็ปรินิพพาน.
พระญาณที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น และรัตนะที่ไม่มี
อะไรชั่งได้นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ทรงพระยศ ก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม พระชินสถูปของ
พระองค์ ณ อังคารามนั้น สูงถึงสี่โยชน์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจนคฺฆยสงฺกาโส ได้แก่ มีพระ-
รูปพระโฉมงามเหมือนรูปบูชาทำด้วยทองอันวิจิตรด้วยรัตนะหลากชนิด. บทว่า
ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้าด้วยรัศมีของพระองค์.
บทว่า ตารณีเย แปลว่า ยังหมู่ชนผู้ที่ควรให้ข้ามคือผู้ควรข้าม อธิบายว่า
พุทธเวไนยทั้งปวง. บทว่า อุฬุราชาว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. บทว่า
อตฺถมิ แปลว่า ดับ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถํ คโต ถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้. บทว่า อสาทิโส ก็คือ อสทิโส ผู้ไม่มีผู้เสมือน. บทว่า มหายสา
ได้แก่ ผู้มีเกียรติมาก และมีบริวารมาก. บทว่า ตญฺจ ญาณํ ได้แก่
พระสัพพัญญุตญาณนั้น. บทว่า อตุลิยํ ได้แก่ วัดไม่ได้ ไม่มีอะไรเสมือน.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า

5. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ 5



ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า



[6] ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า พระ-
เรวตชินพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้
เสมือน ไม่มีผู้วัด สูงสุด.
แม้พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศธรรม เป็นเครื่องกำหนดขันธ์และธาตุ
อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.
ในการทรงแสดงธรรม พระองค์มีอภิสมัย 3
ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1 กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
ครั้งพระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแต่สัตว์แสนโกฏิ.
พระนราสภเสด็จออกจากที่เร้นในวันที่ 7 ทรง
แนะนำมนุษย์และเทวดาร้อยโกฏิให้บรรลุผลสูงสุด.
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมีสัน-
นิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดีแล้ว
ผู้คงที่ 3 ครั้ง.
ผู้ที่ประชุมกัน ครั้งที่ 1 เกินที่จะนับจำนวนได้
การประชุมครั้งที่ 2 นับจำนวนผู้ประชุมได้แสนโกฏิ.