เมนู

สมัยใด พระมหาวีระ ทรงโอวาทหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น การตรัสรู้ธรรม ได้แก่ สัตว์พันโกฏิ ในการ
แสดงธรรมครั้งที่ 2.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติตฺถิเย คเณ ได้แก่ คณะที่เป็น
เดียรถีย์ หรือคณะของเดียรถีย์ทั้งหลาย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ติตฺถิเย
อภิมทฺทนฺโต พุทฺโธ ธมฺมมเทสยิ พระพุทธเจ้าเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์
ก็ได้ทรงแสดงธรรม.
ก็สมัยใด เทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาลประชุมกันในจักรวาลนี้
ตั้งเรื่องนิโรธขึ้นว่า ท่านเข้านิโรธกันอย่างไร ถึงพร้อมด้วยนิโรธอย่างไร
ออกจากนิโรธอย่างไร เทวดาในเทวโลกฝ่ายกามาวจร 6 ชั้น พรหมในพรหม
โลก พร้อมด้วยมนุษย์ทั้งหลาย ไม่อาจวินิจฉัยในการเข้า การอยู่และการออก
จากสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้ได้ จึงได้แบ่งกันเป็นสองพวกสองฝ่าย. ต่อนั้น จึง
พร้อมด้วยพระเจ้าอรินทมะ ผู้เป็นนรบดี พากันเข้าไปเฝ้าพระสุมนทศพล ผู้
เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ในเวลาเย็น. พระเจ้าอรินทมะ ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว จึง
ทูลถามนิโรธปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่นั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ตอบนิโรธปัญหาแล้ว ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ. สมัยนี้เป็น
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมเพรียง
กันมีใจอันเดียวกัน ก็ทูลถามนิโรธปัญหา และข้อสงสัย
ทางใจ.

แม้สมัยนั้น ในการแสดงธรรม ในการแสดง
นิโรธปัญหา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์
เก้าหมื่นโกฏิ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงมีสาวกสันนิบาต 3 ครั้ง ใน 3 ครั้ง
นั้น สาวกสันนิบาตครั้งที่ 1 พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอรหันต์พันโกฏิ ผู้
บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงอาศัยนครเมขละ จำพรรษาแล้วก็ทรงปวารณา
ด้วยปวารณาครั้งแรก นี้เป็นสาวกสันนิบาตครั้งที่ 1. สมัยต่อมา พระมุนีผู้
ประเสริฐดังดวงอาทิตย์ ประทับนั่งเหนือภูเขาทอง ประมาณโยชน์หนึ่ง ซึ่ง
บังเกิดด้วยกำลังกุศลของ พระเจ้าอรินทมะ ไม่ไกล สังกัสสนคร เหมือน
ดวงทินกรส่องรัศมีอันงามในยามฤดูสารทเหนือขุนเขายุคนธร ทรงฝึกบุรุษเก้า
หมื่นโกฏิ ซึ่งห้อมล้อมพระเจ้าอรินทมะ ตามเสด็จมา ทรงให้เขาบวชด้วยเอหิ-
ภิกขุบรรพชาหมดทุกคน เหล่าภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นนั่นแลแวดล้อม
แล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในสันนิบาตอันประกอบด้วยองค์ 4 นี้เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 2. สมัยใด ท้าวสักกเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระสุคต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ อันพระอรหันต์แปดหมื่นโกฏิแวดล้อม
แล้ว ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ
ตั้งมั่น 3 ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศวันปวารณาแล้ว พระตถาคต ก็ทรง
ปวารณาพรรษาพร้อมกับภิกษุแสนโกฏิ.

ในสันนิบาตต่อจาก สันนิบาตครั้งที่ 1 นั้น ณ
ภูเขาทองไร้มลทิน ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 2.
ครั้งท้าวสักกเทวราช เข้าเฝ้าเยี่ยมพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ 3.


แก้อรรถ
พึงเห็นลิงควิปลาสในคำว่า อภิฆุฏฺเฐ ปวารเณ ในคาถานั้น ความว่า
อภิฆุฏฺฐาย ปวารณาย เมื่อท่านประกาศปวารณาแล้ว. บทว่า ตโตปรํ
ได้แก่ ในสมัยต่อจากสันนิบาตครั้งที่ 1 นั้น. บทว่า กญฺจนปพฺพเต ได้แก่
ณ ภูเขาที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า พุทฺธทสฺสนุปาคมิ ได้แก่ เข้าไปเพื่อเฝ้า
พระพุทธเจ้า. เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพญานาค ชื่อว่า
อตุละ มีฤทธานุภาพมาก. ท่านได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
อันหมู่ญาติห้อมล้อมแล้วออกจากภพของตน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ
ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิเป็นบริวาร ด้วยดนตรีทิพย์ ถวายมหาทาน ถวายคู่ผ้ารูปละ
คู่ แล้วตั้งอยู่ในสรณะ พระศาสดาพระองค์นั้นทรงพยากรณ์พญานาคนั้นว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระยานาค ชื่อว่า อตุละ มี
ฤทธิ์มาก สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยเหล่าญาตินาค ก็ออกจาก
พิภพนาค บำเรอพระชินพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์
ด้วยดนตรีทิพย์.
เลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น ก็ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต จักเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์จัก
ตั้งความเพียร ฯ ล ฯ พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

พึงกล่าว 18 คาถา ให้พิศดารเหมือนในวงศ์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า.
เราฟังพระดำรัสของพระสุมนพุทธเจ้าพระองค์
นั้นแล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป
เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า เมขละ
มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ มีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
สิริมาเทวี มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระภาวิตัตตะ มีพระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา
พระอุปโสณา มีโพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ (กากะทิง) มีพระสรีระสูงเก้าสิบ
ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี มีพระมเหสี พระนามว่า พระนาง วฏังสิกาเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ ทรงออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือพระยา
ช้าง. มีอุปัฏฐาก ชื่อ อังคราชา ประทับ ณ พระวิหารชื่อ อังคาราม ด้วย
เหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
นครชื่อว่า เมขละ มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุทัตตะ มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรง
มีปราสาทงามสุด 3 หลัง ชื่อ จันทะ สุจันทะ และ
วฏังสะ.

ทรงมีพระสนมนารีแต่งกายงาม สามล้านหก
แสนนาง มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกา มี
พระโอรส พระนามว่า อนูปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือพระยาช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร
อยู่ 10 เดือน.
พระมหาวีระสุมนะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
อัครสาวก ชื่อพระสรณะและพระภาวิตัตตะ มีพระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ.
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระโสณา พระอุปโสณา
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระองค์นั้น
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนาคะ (กากะทิง).
ทรงมีอัครอุปฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง
เก้าสิบศอ งามเหมือนรูปบูชาที่ทำด้วยทอง หมื่น-
โลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์
ทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอัน
มากให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมู่ชนที่ควรข้ามให้ข้าม
โอฆสงสาร ยังหมู่ชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
พระภิกษุขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้
ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น ท่านเหล่านั้นมียศยิ่ง
ใหญ่ สำแดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบแล้วก็ปรินิพพาน.
พระญาณที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น และรัตนะที่ไม่มี
อะไรชั่งได้นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ทรงพระยศ ก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม พระชินสถูปของ
พระองค์ ณ อังคารามนั้น สูงถึงสี่โยชน์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจนคฺฆยสงฺกาโส ได้แก่ มีพระ-
รูปพระโฉมงามเหมือนรูปบูชาทำด้วยทองอันวิจิตรด้วยรัตนะหลากชนิด. บทว่า
ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้าด้วยรัศมีของพระองค์.
บทว่า ตารณีเย แปลว่า ยังหมู่ชนผู้ที่ควรให้ข้ามคือผู้ควรข้าม อธิบายว่า
พุทธเวไนยทั้งปวง. บทว่า อุฬุราชาว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. บทว่า
อตฺถมิ แปลว่า ดับ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถํ คโต ถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้. บทว่า อสาทิโส ก็คือ อสทิโส ผู้ไม่มีผู้เสมือน. บทว่า มหายสา
ได้แก่ ผู้มีเกียรติมาก และมีบริวารมาก. บทว่า ตญฺจ ญาณํ ได้แก่
พระสัพพัญญุตญาณนั้น. บทว่า อตุลิยํ ได้แก่ วัดไม่ได้ ไม่มีอะไรเสมือน.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า