เมนู

ต่อความประมาท อันมีลักษณะคือความไม่ปราศจากสติ. บทว่า อขิลา
ได้แก่ ปราศจากตะปูตรึงใจ 5 ประการ. บทว่า หิริวีริเยหุปาคตา ความว่า
ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น คำนี้เป็นชื่อของความ
ละอาย. ความเป็นแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยะ. วีริยะนั้น มีลักษณะเป็น
ความขมักเขม้น ภัพพบุคคลทั้งหลายเข้าถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริ
และวีริยะเหล่านั้น. บทว่า เต นี้ เป็นอุเทศที่แสดงความแน่นอน แห่งอุเทศ
ที่แสดงความไม่แน่นอน ในบทก่อน. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า เต ความว่า
กุลบุตรเหล่านั้นย่อมยึดไว้ได้ ย่อมได้ ย่อมประสบรัตนะวิเศษคือคุณดังกล่าว
แล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงทำความรู้แจ้งทางใจแล้ว ทรงลั่นธรรม
เภรีทรงสร้างธรรมนครไว้หมด จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ก่อน โดยนัยว่า
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระศาสดาทรงยกมหาชนขึ้น ด้วยการประกอบ
นั้นอย่างนี้ จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิ ให้ตรัสรู้ก่อน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธรนฺโต ได้แก่ ทรงยกขึ้นจากสาคร
คือสังสารวัฏ ด้วยนาวาคืออริยมรรค. บทว่า โกฏิสตสหสฺสิโย แปลว่า
แสนโกฏิ. ทรงแสดงถ้อยคำ โดยปริยายที่แปลกออกไป.
ก็สมัยใด พระสุมนพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความ
มัวเมาและมานะของเดียรถีย์ ณ โคนต้นมะม่วง กรุง สุนันทวดี ทรงยังสัตว์
พันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม. สมัยนี้ เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า

สมัยใด พระมหาวีระ ทรงโอวาทหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น การตรัสรู้ธรรม ได้แก่ สัตว์พันโกฏิ ในการ
แสดงธรรมครั้งที่ 2.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติตฺถิเย คเณ ได้แก่ คณะที่เป็น
เดียรถีย์ หรือคณะของเดียรถีย์ทั้งหลาย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ติตฺถิเย
อภิมทฺทนฺโต พุทฺโธ ธมฺมมเทสยิ พระพุทธเจ้าเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์
ก็ได้ทรงแสดงธรรม.
ก็สมัยใด เทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาลประชุมกันในจักรวาลนี้
ตั้งเรื่องนิโรธขึ้นว่า ท่านเข้านิโรธกันอย่างไร ถึงพร้อมด้วยนิโรธอย่างไร
ออกจากนิโรธอย่างไร เทวดาในเทวโลกฝ่ายกามาวจร 6 ชั้น พรหมในพรหม
โลก พร้อมด้วยมนุษย์ทั้งหลาย ไม่อาจวินิจฉัยในการเข้า การอยู่และการออก
จากสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้ได้ จึงได้แบ่งกันเป็นสองพวกสองฝ่าย. ต่อนั้น จึง
พร้อมด้วยพระเจ้าอรินทมะ ผู้เป็นนรบดี พากันเข้าไปเฝ้าพระสุมนทศพล ผู้
เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ในเวลาเย็น. พระเจ้าอรินทมะ ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว จึง
ทูลถามนิโรธปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่นั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ตอบนิโรธปัญหาแล้ว ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ. สมัยนี้เป็น
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมเพรียง
กันมีใจอันเดียวกัน ก็ทูลถามนิโรธปัญหา และข้อสงสัย
ทางใจ.