เมนู

เว้นจากโทษที่ทำให้คด. บทว่า อุชุํ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้
เป็นคำแสดงความของบทต้น . บทว่า วิปุลวิตฺถตํ ได้แก่ ชื่อว่าหนาและ
กว้าง เพราะยาวและกว้าง ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดย
สติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ. บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรม
อันประเสริฐด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 สมาบัติ 8 ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้น
แห่งนิพพานมหานครนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 สมาบัติ 8 ณ ถนนนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่ง
รัตนะเหล่านั้นว่า ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบ
พร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่ง
สินค้า คือรัตนะเหล่านี้ ดังนี้ จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึง
ใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ กุลบุตรเหล่านั้น ๆ
ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตาม
สบาย.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน. บทว่า
อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์