เมนู

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺชินิตฺวา ได้แก่ ชนะได้เด็ดขาด.
อธิบายว่า ทรงกำจัดกิเลสมาร และเทวบุตรมาร. บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มี
พระภาคเจ้าสุมนะ พระองค์นั้น . ปาฐะว่า วิชินิตฺวา กิเลเสหิ ดังนี้ก็มี. หิ
อักษรเป็นนิบาต ใช้ในอรรถเพียงบทบูรณ์. บทว่า ปตฺวา แปลว่า บรรลุ
แล้ว. ปาฐะว่า ปตฺโต ดังนี้ก็มี. บทว่า นครํ ได้แก่ นครคือพระนิพพาน.
บทว่า สทฺธมฺมปุรวรุตฺตมํ ได้แก่ สูงสุด ประเสริฐสุด เป็นประธาน บรรดา
นครอันประเสริฐทั้งหลาย กล่าวคือสัทธรรมนคร. อีกนัยหนึ่ง บรรดานคร
อันประเสริฐที่สำเร็จด้วยสัทธรรม นิพพานนครสูงสุด จึงชื่อว่าสัทธัมมปุร-
วรุตตมะนคร สูงสุดในบรรดาสัทธรรมนครอันประเสริฐ ในอรรถวิกัปต้น พึง
เห็นคำว่า นคร ว่าเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั้นเท่านั้น. พระนิพพานเป็น
ที่ตั้งแห่งพระอริยบุคคลทั้งหลายที่เป็นพระเสกขะและอเสกขะ ผู้แทงตลอด
สภาวธรรมแล้ว ท่านเรียกว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นโคจรและเป็นที่อยู่ ก็ใน
สัทธรรมนครอันประเสริฐนั้น พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงสร้างถนนใหญ่
ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐาน อันไม่ขาด ไม่คด แต่ตรง ทั้งหนาทั้งกว้างไว้ ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ ทรงสร้างถนนใหญ่ อันไม่ขาดไม่คด
แต่ตรง ที่หนาและกว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐ
สูงสุด.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่ขาดเพราะ
กุศลชวนจิตสัญจรไปไม่ว่างเว้น. บทว่า อกุฏิลํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่คด เพราะ

เว้นจากโทษที่ทำให้คด. บทว่า อุชุํ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้
เป็นคำแสดงความของบทต้น . บทว่า วิปุลวิตฺถตํ ได้แก่ ชื่อว่าหนาและ
กว้าง เพราะยาวและกว้าง ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดย
สติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ. บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรม
อันประเสริฐด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 สมาบัติ 8 ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้น
แห่งนิพพานมหานครนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 สมาบัติ 8 ณ ถนนนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่ง
รัตนะเหล่านั้นว่า ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบ
พร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่ง
สินค้า คือรัตนะเหล่านี้ ดังนี้ จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึง
ใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ กุลบุตรเหล่านั้น ๆ
ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตาม
สบาย.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน. บทว่า
อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์