เมนู

4. วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ 4



ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า



[5] ต่อจากสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ด้วยธรรมทั้งปวง ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์.
ครั้งนั้น ทรงลั่นอมตเภรี คือคำสั่งสอนของ
พระชินพุทธเจ้ามีองค์ 9 ซึ่งประกอบพร้อมด้วยสังข์
คือธรรม ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลาย
แล้วทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้าง
นคร คือพระสัทธรรมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่ ที่ไม่ขาดไม่คดแต่
ตรงใหญ่กว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
ทรงคลี่วางสามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา อภิญญา
6 และสมาบัติ 8 ไว้ ณ ถนนนั้น.
ชนเหล่าใด ไม่ประมาท ไม่มีตะปูตรึงใจ
ประกอบด้วยหิริและวีริยะ ชนเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้
ซึ่งคุณประเสริฐเหล่านี้ ตามสบาย.

พระศาสดา เมื่อทรงยกชนเป็นอันมากขึ้นด้วย
การประกอบนั้น อย่างนี้นี่แล ก็ทรงสัตว์แสนโกฏิ
ให้ตรัสรู้ เป็นครั้งที่ 1.
สมัยใด พระมหาวีระ ทรงสั่งสอนหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น สัตว์พันโกฏิ ก็ตรัสรู้ ในการแสดงธรรม
ครั้งที่ 2.
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ พร้อมเพรียงเป็น
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทูลถามนิโรธปัญหาและข้อสงสัย
ทางใจ.
แม้สมัยนั้น สัตว์เก่าหมื่นโกฏิ ก็ได้ตรัสรู้ครั้ง
ที่ 3 ในการแสดงธรรมในการตอบนิโรธปัญหา.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตการประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ ผู้คงที่ 3 ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศปวารณา พระตถาคตก็ทรงปวารณา
พรรษา พร้อมด้วยภิกษุแสนโกฏิ.
ต่อจากสันนิบาต การประชุมครั้งที่ 1 นั้น ใน
การประชุมภิกษุเก้าหมื่นโกฎิ ณ ภูเขาทองไร้มลทิน
เป็นการประชุม ครั้งที่ 2.

สมัยที่ท้าวสักกะเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้า
พระพุทธเจ้า เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุม
กัน เป็นครั้งที่ 3.
สมัยนั้น เราเป็นพญานาคชื่ออตุละ มีฤทธิ์มาก
สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราออกจากพิภพนาค พร้อมด้วยเหล่า
ญาตินาคทั้งหลาย บำรุงบำเรอพระชินพุทธเจ้าด้วย
ดนตรีทิพย์.
เราเลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วย
ข้าวน้ำ ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
อันน่ารื่นรมย์แล้ว ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา เสด็จเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์โดยทางอันดี
ที่เขาจัดไว้.

ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ ณ โพธิพฤกษ์
ชื่ออัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า มายา พระ-
ชนก พระนามว่า สุทโธทนะ ท่านผู้นี้ชื่อโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อพระโกลิตะ พระอุปติสสะผู้
ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น พุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบล
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า
จิตตะและหัตถะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า
นันทมาตาและอุตตรา. พระโคดมผู้พระยศ พระองค์
นั้น มีพระชนมายุประมาณ 100 ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุมน
พุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็
ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสิ้น ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของ
ท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ยังถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้
ฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะละพ้นพระชินเจ้าพระ-
องค์นี้ไปเสีย ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า เมขละ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุทัตตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าหมื่นปี มี
ปราสาทยอดเยี่ยม 3 ปราสาท ชื่อ จันทะ สุจันทะ
และวฏังสะ.
ทรงมีพระสนมนารี แต่งกายงาม หกหมื่นสาม
พันนาง มีพระมเหสีพระนามว่า วฏังสกี มีพระโอรส
พระนามว่า อนูปมะ.

พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง ทรงตั้งความเพียร 10
เดือนเต็ม.
พระมหาวีระ สุมนะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ กรุงเมขละ ราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
อัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทน.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา และพระ-
อุปโสณา พระพุทธเจ้าผู้เสมอกับ พระพุทธเจ้าที่ไม่มี
ผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า
ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง).
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะและสรณะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง
เก้าสิบศอก พระรูปพระโฉมงดงามเสมือนรูปบูชาทอง
หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น อายุมนุษย์เก้าหมื่นปี พระองค์เมื่อ
ทรงพระชนม์ยืนเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังคนที่ควรข้ามให้ข้าม
โอฆสงสาร ทรงยังชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วก็
เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้
เสมือนพระองค์นั้น มียศยิ่งใหญ่ แสดงรัศมีที่ไม่มี
อะไรเปรียบได้ ยังพากันนิพพานทั้งนั้น.
พระญาณ ที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น รัตนะ ที่ไม่มี
อะไรชั่งได้เหล่านั้น ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปหมดสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยศ เสด็จดับขันธปรินิพ-
พาน ณ พระวิหารอังคาราม พระชินสถูปของพระองค์
ณ พระวิหารนั้นนั่นแล สูง 4 โยชน์.
จบวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า ที่ 4

พรรณนา วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ 4



เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จดับขันธปรินิพพานทำหมื่น
โลกธาตุให้มืดลงพร้อมกัน ด้วยเหตุอย่างเดียวอย่างนี้แล้ว ต่อมาจากสมัยของ
พระองค์ เมื่อมนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอายุเก้าหมื่นปี แล้วก็ลดลงโดยลำดับจน
เกิดมามีอายุเพียงสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีก จนมีอายุถึงอสงไขยปี แล้วลดลงอีก
จนมีอายุเก้าหมื่นปี พระโพธิสัตว์พระนามว่า สุมนะ ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิด
ในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมา
เทวี ในราชสกุลของพระเจ้าสุทัตตะ ณ เมขลนคร เรื่องปาฏิหาริย์มีนัยที่เคย
กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยมาโดยลำดับ อันเหล่าสตรีฝ่ายนาฏกะ
[ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนหกหมื่นสามแสนนางบำเรออยู่ ณ ปราสาท 3
หลัง ชื่อ1 สิริวัฒนะ โลมวัฒนะและอิทธิวัฒนะ อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญ
ปรนนิบัติอยู่ เสวยสุขตามวิสัย เสมือนสุขทิพย์ ประหนึ่งเทพกุมารี ทรงให้
กำเนิดพระโอรสที่ไม่มีผู้เปรียบ พระนามว่า อนูปมะ แก่พระนางวฏังสิกาเทวี
ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือช้าง ทรงผนวชแล้ว
ส่วนชนสามสิบโกฏิ ก็บวชตามเสด็จพระโพธิสัตว์ ซึ่งทรงผนวชอยู่.
พระองค์ อันชนสามสิบโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร 10
เดือน ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ เสวยข้าวมธุปายาส อันมีโอชะทิพย์ที่เทวดา
ใส่ ที่ นางอนุปมา ธิดาของ อโนมเศรษฐี ใน อโนมนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ทรงรับหญ้า 8 กำ ที่ อนุปมาชีวก ถวาย

1. ตามบาลีว่า ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ