เมนู

ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ พวกเราจัก
อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของ พระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป แล้วอธิษฐาน ข้อวัตรยิ่ง
ขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันประเสริฐ ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า
แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและ
ดอกไม้. คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี. บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว. บทว่า
อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺฐสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตร ยวดยิ่งขึ้น. บทว่า ทสปารมิ-
ปูริยา
ได้แก่ เพื่อทำ

บารมี 10

ให้เต็ม. บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่ง
ใจ. บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ. บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา
ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่
บริจาคแด่พระพุทธเจ้า. บทว่า มํ เคหํ ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติ

1. ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ 4 หน้า 358.

ทุกอย่างของเรา แด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เพื่อเป็นปัจจัย 4. บทว่า ตตฺถ
ได้แก่ ในพระพุทธศาสนานั้น. บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ เจริญพรหมวิหาร
ภาวนา.
ก็พระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้า มีพระนคร ชื่อว่า อุตตรนคร
แม้พระชนกของพระองค์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าอุตตระ แม้
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตระ คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ
และ พระธรรมเสนะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ มีคู่พระ-
อัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และ พระอโสกา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อต้นนาคะ
[กากะทิง] พระสรีระสูง 88 ศอก พระชนมายุประมาณเก้าหมื่นปี ส่วนพระ-
ชายาพระนามว่า ยสวดี พระโอรสพระนามว่า สีวละ เสด็จอภิเนษกรมณ์
โดยยานคือ ม้า ประทับ ณ พระวิหาร อุตตราราม อุปัฏฐากชื่อ อุตตระ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดำรงพระชนม์อยู่เก้าหมื่นปีก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน. หมื่นจักรวาลก็มืดลงพร้อมกัน โดยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์
ทุกจักรวาล ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญเป็นการใหญ่ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
นคร ชื่ออุตตรนคร มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อุตตระ พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ พระ-
ธรรมเสนะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อพระสีวลา และพระ
อโสกา ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียก
ว่าต้นนาคะ.
พระมหามุนี สูง 88 ศอก พระรัศมีแล่นออก
จากพระสรีระนั้นหลายแสน.

ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี พระ-
องค์ดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอัน
มากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับคลื่นเหล่า
นั้นได้ฉันใด สาวกของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระมงคลสัมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่
เพียงใด ความตายของผู้ยังมีกิเลสในศาสนาของ
พระองค์ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
พระผู้มีพระยศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีป
ธรรม ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร แล้วก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไป
ฉะนั้น.
พระองค์ ครั้นทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลาย
เป็นสภาวธรรมแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพานเหมือน
กองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสง
สว่างแล้ว ก็อัสดงคตฉะนั้น.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ได้แก่ จากพระสรีระของพระมงคล
พุทธเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า นิทฺธาวตี ก็คือ นิทฺธาวนฺติ พึงเห็นว่าเป็น
วจนะวิปลาส. .บทว่า รํสี ก็คือ รัศมีทั้งหลาย. บทว่า อเนกสตสหสฺสี
ก็คือ หลายแสน. บทว่า อูมี ได้แก่ ระลอกคลื่น. บทว่า คเณตุเย

แปลว่า เพื่อคำณวน คือนับ. อธิบายว่า คลื่นในมหาสมุทร ใคร ๆ ไม่อาจ
นับว่าคลื่นในมหาสมุทรมีเท่านี้ ฉันใด แม้สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ ที่แท้เกินที่จะนับได้ ก็ฉันนั้น. บทว่า
ยาว ได้แก่ ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า สกิเลสมรณํ ตทา ความว่า
บุคคลเป็นไปกับด้วยกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส. ความตาย
ของผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส ชื่อว่า สกิเลสมรณะ ความตายของผู้มีกิเลส.
ความตายของผู้มีกิเลสนั้นไม่มี. เขาว่า สมัยนั้น สาวกทั้งหลายในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันปรินิพพานหมด
ผู้เป็นปุถุชนหรือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นก็ยังไม่ทำกาลกิริยา [ตาย] อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหมารณํ ตทา ดังนี้ก็มี.
บทว่า ธมฺโมกฺกํ แปลว่า ประทีปธรรม. ไฟท่านเรียกว่า ธูมเกตุ
แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าประทีป เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า เหมือนประทีปส่องแสง
แล้วก็ดับไป. บทว่า มหายโส ได้แก่ พระผู้มีบริวารมาก อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า นิพฺพุโต โส สสาวโก. บทว่า สงฺขารานํ ได้แก่ สังขตธรรม
ธรรมที่มีปัจจัย. บทว่า สภาวตฺตํ ได้แก่ สามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะ
เป็นต้น. บทว่า สุริโย อตฺถงฺคโต ยถา ความว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมี
นับพัน กำจัดกลุ่มความมืดทั้งหมด และส่องสว่างหมดทั้งโลก ยังถึงอัสดงคต
ฉันใด แม้พระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์ ผู้ทำความแย้มบานแก่เวไนย-
สัตว์ผู้เป็นดั่งดงบัว ทรงกำจัดความมืดในโลกทั้งภายในทั้งภายนอกทุกอย่าง
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ก็ถึงความดำรงอยู่ไม่ได้
ก็ฉันนั้น คาถาที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้า

4. วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ 4



ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า



[5] ต่อจากสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ด้วยธรรมทั้งปวง ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์.
ครั้งนั้น ทรงลั่นอมตเภรี คือคำสั่งสอนของ
พระชินพุทธเจ้ามีองค์ 9 ซึ่งประกอบพร้อมด้วยสังข์
คือธรรม ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลาย
แล้วทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้าง
นคร คือพระสัทธรรมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่ ที่ไม่ขาดไม่คดแต่
ตรงใหญ่กว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
ทรงคลี่วางสามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา อภิญญา
6 และสมาบัติ 8 ไว้ ณ ถนนนั้น.
ชนเหล่าใด ไม่ประมาท ไม่มีตะปูตรึงใจ
ประกอบด้วยหิริและวีริยะ ชนเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้
ซึ่งคุณประเสริฐเหล่านี้ ตามสบาย.