เมนู

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ ภพของท้าวสักกะจอมทวยเทพ ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ 2 ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
สมัยใด พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ เสด็จเข้าไป
เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สมัยนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐ ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
สมัยนั้น หมู่ชนที่ตามเสด็จพระเจ้าสุนันทะมี
จำนวนเก้าสิบโกฏิ ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ไม่มี
เหลือ เป็นเอหิภิกขุ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรินฺทเทวภวเน ความว่า ในภพของ
ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพอีก. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม. บทว่า
อาหนิ ได้แก่ ตี. บทว่า วรุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ
ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด. บทว่า อนุจรา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จประจำ.
บทว่า อาสุํ ได้แก่ ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ตทาสิ นวุติโกฏิโย ดังนี้ก็มี.
ความว่า หมู่ชนของพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพระองค์นั้นได้มีแล้ว ถ้าจะถามว่า
หมู่ชนนั้น มีจำนวนเท่าไร ก็จะตอบได้ว่า มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ.
เล่ากันว่า ครั้งนั้น เมื่อพระมงคลโลกนาถประทับอยู่ ณ เมขลบุรี
ในนครนั้นนั่นแล สุเทวมาณพ และ ธัมมเสนมาณพ มีมาณพพันหนึ่ง
เป็นบริวาร พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น. เมื่อคู่พระอัครสาวกพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต ในวันเพ็ญ

เดือนมาฆะ พระศาสดาทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ
นี้เป็นการประชุมครั้งแรก. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในการประชุมของ
บรรพชิต ในสมาคมญาติอันยอดเยี่ยม ณ อุตตราราม อีก นี้เป็นการประชุม
ครั้งที่ 2. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ในสมาคม
คณะภิกษุพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ นี้เป็นการประชุมครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
การประชุม 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ประชุมภิกษุแสน
โกฏิ.
ครั้งที่ 2 ประชุมภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 3 ประ-
ชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งนั้น เป็นการประชุมภิกษุ
ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุรุจิ ในหมู่
บ้าน สุรุจิพราหมณ์ เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
ทั้งประเภทอักขรศาสตร์ ชำนาญร้อยกรอง ชำนาญร้อยแก้ว ทั้งเชี่ยวชาญใน
โลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์ ท่านสุรุจิพราหมณ์นั้น เข้าไปเฝ้า
พระศาสดา ฟังธรรมกถาอันไพเราะของพระทศพลแล้วเลื่อมใสถึงสรณะ นิมนต์
พระผู้พระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกว่า พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรง
รับอาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านพราหมณ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุจำนวนเท่าไร จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบริวารของพระองค์มีเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้น
เป็นการประชุมครั้งที่ 1 เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสว่าแสนโกฏิ สุรุจิพราหมณ์

จึงนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์โปรดทรงรับ
อาหารของข้าพระองค์ พร้อมกับภิกษุทุกรูปพระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงทรงรับ
นิมนต์.
พราหมณ์ ครั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ก็กลับไปบ้านตนคิดว่า ภิกษุจำนวนถึงเท่านี้ เราก็สามารถถวายข้าวต้มข้าวสวย
และผ้าได้ แต่สถานที่ท่านจะนั่งกันจักทำอย่างไร ความคิดของท่านพราหมณ์
นั้นก็ร้อนไปถึงพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสหัสนัยน์สักกเทวราช
ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดขุนเขาพระเมรุ ระยะทางแปดหมื่นสี่พันโยชน์ ครั้งนั้น
ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นอาสน์ร้อนขึ้นมา ก็เกิดปริวิตกว่า ใครหนอประสงค์
จะให้เราเคลื่อนย้ายจากที่นี้ ทรงเล็งทิพยเนตรตรวจดูมนุษยโลก ก็เห็นพระ-
มหาบุรุษ คิดว่า พระมหาสัตว์ผู้นี้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
คิดถึงเรื่องสถานที่ภิกษุสงฆ์นั้นจะนั่ง แม้เราก็ควรจะไปที่นั้นแล้วรับส่วนบุญ
จึงปลอมตัวเป็นนายช่างไม้ ถือมีดและขวานแล้วปรากฏตัวต่อหน้าพระมหาบุรุษ
กล่าวว่า ใครหนอมีกิจที่จะจ้างเราทำงานบ้าง.
พระมหาสัตว์เห็นแล้วก็ถามว่า ท่านสามารถทำงานของเราได้หรือ เขา
บอกกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราไม่รู้ ไม่มี ผู้ใด ประสงค์จะให้ทำสิ่งไรๆ
ไม่ว่าจะเป็นมณฑป ปราสาท หรือนิเวศน์เป็นต้นไร ๆ อื่น เราก็สามารถทำ
ได้ทั้งนั้น. พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีงาน. เขาถามว่า งานอะไร
เล่า นายท่าน. พระมหาสัตว์บอกว่า เรานิมนต์ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ เพื่อ
ฉันอาหารวันพรุ่งนี้ ท่านจักต้องสร้างมณฑปสำหรับภิกษุเหล่านั้นนั่งนะ เขา
กล่าวว่า ได้สิ พ่อคุณ. เขากล่าวว่า ดีละ ถ้าอย่างนั้นเราจักทำ แล้วก็ตรวจดูภูมิ

ประเทศแห่งหนึ่ง ภูมิประเทศเหล่านั้นประมาณสิบสองโยชน์ พื้นเรียบเหมือน
วงกสิณน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. เขาคิดอีกว่า มณฑปที่เห็นเป็นแก่นไม้สำเร็จด้วย
รัตนะ 7 ประการจงผุดขึ้น ณ ที่ประมาณเท่านี้ แล้วตรวจดู ในทันใด มณฑป
ที่ชำแรกพื้นดินผุดโผล่ขึ้นก็เสมือนมณฑปจริง มณฑปนั้นมีหม้อเงินอยู่ที่เสา
ทอง มีหม้อทองอยู่ที่เสาเงิน มีหม้อแก้วประพาฬอยู่ที่เสาแก้วมณี มีหม้อแก้ว
มณีอยู่ที่เสาแก้วประพาฬ มีหม้อรัตนะ 7 อยู่ที่เสารัตนะ 7.
ต่อนั้น เขาตรวจดูว่าข่ายกระดิ่ง จงห้อยระหว่างระยะของมณฑป
พร้อมกับการตรวจดู ข่ายกระดิ่งก็ห้อย ซึ่งเมื่อต้องลมพานอ่อนๆ ก็เปล่งเสียง
ไพเราะ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เหมือนอย่างดนตรีเครื่อง 5 ได้เป็นเหมือนเวลา
บรรเลงทิพยสังคีต. เขาคิดว่า พวงของหอม พวงดอกไม้ พวงใบไม้และพวง
รัตนะ 7 ของทิพย์ จงห้อยลงเป็นระยะๆ. พร้อมกับคิด พวงทั้งหลายก็ห้อย.
อาสนะ เครื่องลาดมีค่าเป็นของกับปิยะ และเครื่องรองทั้งหลาย สำหรับภิกษุ
จำนวนแสนโกฏิ จงชำแรกแผ่นดินผุดโผล่ขึ้น ในทันใด ของดังกล่าวก็ผุดขึ้น
เขาคิดว่าหม้อน้ำ จงตั้งอยู่ทุก ๆ มุม ๆ ละหม้อ ทันใดนั่นเองหม้อน้ำทั้งหลาย
เต็มด้วยน้ำสะอาดหอมและเป็นกัปปิยะมีรสอร่อย เย็นอย่างยิ่ง มีปากปิดด้วย
ใบทอง ก็ตั้งขึ้น ท้าวสหัสสนัยน์นั้น ทรงเนรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้แล้ว
เข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า นายท่าน นานี่แน่ะ ท่านเห็นมณฑปของท่านแล้ว
โปรดให้ด่าจ้างแก่เราสิ พระมหาสัตว์ไปตรวจดูมณฑปนั้น เมื่อเห็น มณฑป
นั่นแลสรีระก็ถูกปีติ 5 อย่างถูกต้อง แผ่ซ่านมิได้ว่างเว้นเลย.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เมื่อแลเห็นก็คิดอย่างนี้ว่า มณฑปนี้มิใช่ฝีมือ
มนุษย์สร้าง อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา จึงร้อนถึงภพของท้าวสักก-

เทวราช ต่อนั้น ท้าวสักกจอมทวยเทพจึงทรงเนรมิตมณฑปนี้แน่แล้ว. พระ-
มหาสัตว์คิดว่า การจะถวายทานวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เรา
จำเราจะถวายตลอด 7 วัน ธรรมดาทานภายนอก แม้มีประมาณเท่านั้น ก็ยัง
ไม่อาจทำหัวใจของพระโพธิสัตว์ให้พอใจได้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยจาคะ
ย่อมจะชื่อว่าพอใจ ก็แต่ในเวลาที่ตัดศีรษะที่ประดับแล้วหรือควักลูกตาที่
หยอดแล้ว หรือถอดเนื้อหัวใจให้เป็นทาน. จริงอยู่ ในสิวิชาดก เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ของเรา สละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะทุกๆ วัน ให้ทาน 5 แห่ง คือ
ท่ามกลางนคร และที่ประตูทั้ง 5. ทานนั้นไม่อาจให้เกิดความพอใจในจาคะ
ได้เลย. แต่สมัยใด ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอจักษุทั้งสองข้าง
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์นั้น ก็ควักจักษุเหล่านั้นให้ กำลังทานนั่นแหละ จึงเกิด
ความร่าเริง จิตมิได้เปลี่ยนแปลงแม้แต่เท่าปลายเส้นผม. ด้วยประการดังกล่าว
มานี้ พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลาย อาศัยแต่ทานภายนอกจึงมิได้อิ่มเลย
เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้พระองค์นั้น คิดว่า เราควรถวายทานแก่ภิกษุ
จำนวนแสนโกฏิ จึงให้ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ มณฑปนั้นแล้วถวายทาน ชื่อว่า
ควปานะ [ขนมแป้งผสมนมโค] 7 วัน.
โภชนะที่เขาบรรจุหม้อขนาดใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยน้ำนมโคแล้วยกตั้งบน
เตา ใส่ข้าวสารทีละน้อยๆ ลงที่น้ำนมซึ่งสุกโดยเคี่ยวจนข้นแล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง
คลุกน้ำตาลกรวดละเอียดและเนยใสเข้าด้วยกัน เรียกกันว่า ควปานะ ในบาลีนั้น
ควปานะนี้นี่แหละ เขาเรียกว่าโภชนะอร่อยมีรส 4 ดังนี้ก็มี. แต่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่อาจอังคาสได้ แม้แต่เทวดาทั้งหลาย ที่อยู่ช่องว่างช่องหนึ่งจึงอังคาสได้ สถาน
ที่นั้นแม้มีขนาดสิบสองโยชน์ ก็ยังไม่พอรับภิกษุเหล่านั้นได้เลย แต่ภิกษุเหล่า

นั้นนั่งโดยอานุภาพของตนๆ. วันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้เขาล้างบาตรภิกษุ
ทุกรูป บรรจุด้วยเนยใส เนยขึ้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น ได้ถวายพร้อมด้วย
ไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุสังฆนวกะในที่นั้นได้แล้ว ก็เป็นของมีค่านับแสน.
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงทำอนุโมทนา ทรงใคร่ครวญดูว่า มหา-
บุรุษผู้นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ จักเป็นใครกันหนอ ก็ทรงเห็นว่า ใน
อนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในที่สุดสองอสงไขย
กำไรแลนกัป แต่นั้น จึงทรงเรียกพระมหาสัตว์มาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาล
ประมาณเท่านี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ลำดับนั้น พระ-
มหาบุรุษสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีหัวใจปลาบปลื้ม
คิดว่า พระองค์ตรัสว่าเราจักเป็นพระพุทธเจ้า เราก็ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนจึง
ละสมบัติเห็นปานนั้นเสียเหมือนก้อนเขฬะ บวชในสำนักของพระศาสดา เรียน
พระพุทธวจนะ ยังอภิญญาและสมาบัติ 8 ให้บังเกิด มีฌานไม่เสื่อม ดำรงอยู่
จนตลอดอายุ ที่สุดอายุ บังเกิดแล้วในพรหมโลก. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าสุรุจิ เป็นผู้คง
แก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถึงพระองค์เป็นสรณะ
แล้วบูชาพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วย
ของหอมและดอกไม้ ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้
แล้วก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยขนมควปานะ.
พระมงคลพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นยอดของสัตว์สองเท้า
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า ในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ พวกเราจัก
อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของ พระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป แล้วอธิษฐาน ข้อวัตรยิ่ง
ขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันประเสริฐ ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า
แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและ
ดอกไม้. คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี. บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว. บทว่า
อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺฐสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตร ยวดยิ่งขึ้น. บทว่า ทสปารมิ-
ปูริยา
ได้แก่ เพื่อทำ

บารมี 10

ให้เต็ม. บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่ง
ใจ. บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ. บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา
ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่
บริจาคแด่พระพุทธเจ้า. บทว่า มํ เคหํ ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติ

1. ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ 4 หน้า 358.