เมนู

ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่
ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ใน
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไป
ทุคติ
ดังนี้.
ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไป
ตลอดหมื่นโลกธาตุ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระ-
พุทธเจ้า ผู้นำโลก พระนามว่ามงคล ก็ทรงกำจัด
ความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้
เทียบ ยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่น ๆ ครอบงำแสง
สว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุก็
สว่างจ้า.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมํ ได้แก่ ความมืดในโลกและความมืด
ในดวงใจ. บทว่า นิหนฺตฺวาน ได้แก่ ครอบงำ. ในคำว่า ธมฺโมกฺกํ นี้
อุกฺกา ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นอันมาก มีเบ้าของช่างทองเป็นต้น. จริงอย่าง
นั้น เบ้าของช่างทองทั้งหลาย พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า
สณฺฑาเสน ชาตรูปํ คเหตฺวา อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ใช้คีมคีบทองใส่ลง
ในปากเบ้า. ภาชนะถ่านไฟของช่างทองทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคต-
สถานว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย อุกฺกํ พนฺธิตฺวา อุกฺกามุขํ อาลิมฺเปยฺย พึงผูก

ภาชนะถ่านไฟ ครั้นผูกภาชนะถ่านไฟแล้ว พึงฉาบปากภาชนะถ่านไฟ. เตาไฟของ
ช่างทอง ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า กมฺมารานํ ยถา อุกฺกา
อนฺโต ฌายติ โน พหิ
เปรียบเหมือนเตาของช่างทองทั้งหลาย ย่อมไหม้
แต่ภายใน ไม่ไหม้ภายนอก. ความเร็วของพายุ พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคต-
สถานว่า เอวํวิปาโก อุกฺกาปาโต ภวิสฺสติ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็น
อย่างนี้. คบเพลิง ท่านเรียกว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกาสุ
ธาริยนานาสุ
เมื่อคบเพลิงทั้งหลายอันเขาชูอยู่. แม้ในที่นี้คบเพลิงท่าน
ประสงค์ว่า อุกฺกา. เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงมีความว่า ทรงชูคบเพลิงที่สำเร็จ
ด้วยธรรม พระองค์ทรงชูคบเพลิงอันสำเร็จด้วยธรรมแก่โลก ซึ่งถูกความมืด
คืออวิชชาปกปิดไว้ อันความมืดคืออวิชชาครอบงำไว้.
บทว่า อตุลาสิ ได้แก่ ไม่มีรัศมีอื่นเทียบได้ หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. ความว่า มีพระรัศมีอันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ เทียบไม่ได้. บท
ว่า ชิเนหญฺเญหิ ตัดบทเป็น ชิเนหิ อญฺเญหิ แปลว่า กว่าพระชินเจ้าพระ
องค์อื่นๆ. บทว่า จนฺทสุริยปฺปภํ หนฺตฺวา ได้แก่ กำจัดรัศมีของดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า เว้นแสงสว่าง
ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุย่อมสว่างจ้าด้วยแสงสว่างของ
พระพุทธเจ้าเท่านั้น.
ก็พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ทรงยับ
ยั้ง ณ โคนต้นไม้ที่ตรัสรู้ 7 สัปดาห์ ทรงรับคำวอนขอให้ทรงแสดงธรรมของ
พรหม ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุ
สามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย. ครั้งนั้น ทรงดำริว่า กุลบุตร

เหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย พวกเขาถูกเราซึ่งต้อง
การวิเวกสละไว้ เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัย สิริวัฒนนคร อยู่ยัง
ชัฏสิริวัน เอาเถิด เราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น แล้วทรงถือ
บาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ
ชัฏสิริวัน ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงอันเตวาสิกวัตร
แล้วนั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธัมมจักกัป-
ปวัตตนสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น.
ต่อจากนั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัต ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้
มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ 4
อันประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์นั้น ๆ ดื่มรสสัจจะ
บรรเทาความมืดใหญ่ได้.
ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่ เทวดา
และมนุษย์แสนโกฏิ ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ชั่งไม่ได้.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร แปลว่า 4. บทว่า
สจฺจวรุตฺตเม ความว่า จริงด้วย ประเสริฐด้วย ชื่อว่า สัจจะอันประเสริฐ
อธิบายว่า สัจจะสูงสุด. ปาฐะว่า จตฺตาโร สจฺจวรุตฺตเม ดังนี้ก็มี ความ
ว่า สัจจะอันประเสริฐ สูงสุดทั้ง 4. บทว่า เต เต ได้แก่ เทวดาและมนุษย์

นั้นนั่น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว. บทว่า สจฺจรสํ ได้แก่
ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ 4. บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตมํ ความว่า
บรรเทา คือกำจัด ความมืด คือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้น ๆ. บทว่า
ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด. ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิ ศัพท์นี้
มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺญตฺติยํ ตถา
สพฺพญฺญุเต จ ญาณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน
ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.

จริงอย่างนั้น

โพธิ ศัพท์

มาในอรรถว่า มรรค ได้ในประโยคเป็น
ต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ ญาณในมรรค 4 เรียกว่า
โพธิ. มาในอรรถว่า ผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺญาย
สมฺโพธาย สํวตฺตติ
ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้
พร้อม. มาในอรรถว่า นิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํ
อสงฺขตํ
บรรลุพระนิพพาน อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
มาในอรรถว่า ต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา
จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ
ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ์. มาในอรรถว่า
บัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส
ปาเท สิรสา วนฺทติ
พระราชกุมารพระนามว่า โพธิ ถวายบังคมพระยุคล
บาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.
มาในอรรถว่า พระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติ
โพธึ วรภูริเมธโส
พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณ. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า พระสัพพัญญุตญาณ
ลงในอรรถแม้ พระอรหัตมรรคญาณก็ควร. .