เมนู

ผิว่า พวกเราพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ตรงหน้า ก็ถือท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า พ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
ไป ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้ ฉันนั้น.
เราได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้
เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อจะให้สำเร็จประโยชน์นั้น นั่น
แล จึงถวายมหาราชสมบัติแด่พระชินเจ้า ครั้นถวาย
มหาราชสมบัติแล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย นวังคสัตถุศาสน์
ทุกอย่าง ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้น ใน
อิริยาบถนั่งนอนและเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญาเข้าถึง
พรหมโลก.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหํ เตน สมเยน ได้แก่ เราใน
สมัยนั้น. บทว่า วิชิตาวี นาม ได้แก่ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนาม
อย่างนี้. ในบทว่า สมุทฺทํ อนฺตมนฺเตน นี้ ความว่า เราเป็นใหญ่ ตลอด
ปฐพีที่ตั้งจักรวาลบรรพต ทำจักรวาลบรรพตเป็นเขตแดน ทำสมุทรสาครเป็น
ที่สุด ความเป็นใหญ่มิใช่ปรากฏด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.

เล่ากันว่า ด้วยอานุภาพแห่งจักรรัตนะ พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จไป
ยังบุพวิเทหทวีป ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ทางส่วนบนสมุทร มีเขาสิเนรุ
อยู่เบื้องซ้าย ในที่นั้น พระเจ้าจักรพรรดิ จะประทานโอวาทว่า ไม่ควรฆ่า
สัตว์มีชีวิต ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้. ไม่ควรประพฤติผิดในกาม
ทั้งหลาย ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา จงบริโภคของตามบริโภคได้.
เมื่อประทานโอวาทอย่างนี้แล้ว จักรรัตนะนั้นก็เหาะสู่อากาศหยั่งลงสมุทรด้าน
ทิศบูรพา หยั่งโดยประการใดๆ คลื่นที่หดตัวก็แตกกระจาย เมื่อเดินลงก็เดิน
ลงสู่น้ำในมหาสมุทร ชั่วโยชน์เดียว ตั้งอยู่น่าดูอย่างยิ่ง เหมือนฝาแก้วไพฑูรย์
แก้วมณี ทั้งสองข้างภายในสมุทร โดยประการนั้น ๆ จักรรัตนะนั้นไปตลอด
ที่มีสาครด้านทิศบูรพาเป็นที่สุดอย่างนั้นก็หมุนกลับ เมื่อจักรรัตนะนั้นหมุน
กลับ บริษัทนั้นก็อยู่ทางปลาย พระเจ้าจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง ตัวจักรรัตนะ
อยู่ท้าย จักรรัตนะแม้นั้น กระทบน้ำมีมณฑลดื่มเป็นที่สุดเท่านั้น เหมือนไม่
ยอมพรากชายน้ำ จึงเข้าสู่ริมฝั่ง.
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงชนะบุพวิเทหทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศบูรพา
เป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว มีพระราชประสงค์จะทรงชนะชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรด้าน
ทิศทักษิณเป็นที่สุดจึงมุ่งพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ เสด็จไปตามทางที่จักร
รัตนะแสดง จักรรัตนะนั้น ครั้นชนะชมพูทวีป ซึ่งมีขนาดหมื่นโยชน์แล้ว
ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศทักษิณ ก็ไปโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลัง เพื่อชนะ
อปรโคยานทวีป ซึ่งมีขนาดเจ็ดพันโยชน์ ครั้นชนะอปรโคยานทวีปนั้น ซึ่ง
มีสาครเป็นที่สุดแล้ว ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศปัจฉิมไปอย่างนั้นเหมือนกัน เพื่อ
ชนะอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ก็ชนะอย่างนั้นเหมือนกัน ทำ
อุตตรกุรุทวีปนั้น มีสมุทรเป็นที่สุด ก็ขึ้นแม้จากสมุทรด้านทิศอุดร. ความ
เป็นใหญ่ เป็นอันพระเจ้าจักรพรรดิทรงประสบแล้วเหนือปฐพี ที่มีสาครเป็น
ที่สุด ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราเป็นใหญ่
เหนือปฐพีมีสมุทรเป็นที่สุด.

บทว่า โกฏิสตสหสฺสานํ ได้แก่ แสนโกฏิ. หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า วิมลานํ ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลาย. บทว่า สห
โลกคฺคนาเถน
ความว่า แสนโกฏิกับด้วยพระทศพล. บทว่า ปรมนฺเนน
แปลว่า ด้วยข้าวอันประณีต. บทว่า ตปฺปหึ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว. บทว่า
อปริเมยฺยิโต กปฺเป ความว่า ล่วงไปสามอสงไขยกำไรแสนกัปนับตั้งแต่กัปนี้
คือในภัทรกัปนี้.
บทว่า ปธานํ แปลว่า ความเพียร. บทว่า ตเมว อตฺถํ สาเธนฺโต
ความว่า บำเพ็ญประโยชน์คือทานบารมีอันทำความเป็นพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล
ให้สำเร็จ ให้เป็นผล. บทว่า มหารชฺชํ ได้แก่ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า ชิเน ได้แก่ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือพึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงใน
อรรถจตุตถีวิภัตติ. บทว่า อทํ แปลว่า ได้ให้แล้ว. พึงเห็นการเชื่อม
ความด้วยบทนี้ว่า เอวมตฺถํ สาเธนฺโต อาจารย์บางพวกสวดว่า
มหารชฺชํ ชิเน ททึ ดังนี้ก็มี. บทว่า ททิตฺวาน ได้แก่ สละ. บทว่า
สุตฺตนฺตํ ได้แก่ สุตันตปิฎก. บทว่า วินยํ ได้แก่ วินัยปิฎก. บทว่า
นวฺงคํ ได้แก่ นวังสัตถุศาสน์มีสุตตะ เคยยะเป็นต้น. บทว่า โสภยึ ชินสาสนํ
ได้แก่ ประดับพร้อมด้วยอาคมและอธิคมอันเป็นโลกิยะ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่
ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น . บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่
ถึงพร้อมด้วยสติ. บทว่า พฺรหฺมโลกมคญฺฉหํ ตัดบทเป็น พฺรหฺมโลกํ
อคญฺฉึ อหํ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระองค์นี้ มีพระนครชื่อว่า รัมมวดี พระ-
ชนกทรงพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
สุชาดาเทวี.
คู่พระอัครสาวกคือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ พระ-
อุปัฏฐากชื่อว่า อนุรุทธะ คู่พระอัครสาวิกา คือ พระติสสา และ พระ
สุอุปติสสา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ คือต้น สาลกัลยาณี [ขานาง] พระสรีระสูง 88

ศอก พระชนมายุประมาณแสนปี พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ มีอุปัฏฐาก พระนามว่า เจ้าจันทะ ประ-
ทับอยู่ ณ พระวิหารจันทารามแล ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่ารัมมวดี มีพระชนกพระนามว่า พระ
เจ้าสุนันทะ มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีคู่
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระภัททะ และ พระสุภัททะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอนุรุทธะ.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีคู่
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระติสสา และ พระอุปติสสา
มีตัดต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อว่าต้นสาลกัลยาณี.
พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง 88 ศอก สง่างาม
เหมือนดวงจันทร์ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน ฉะนั้น.
ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุแสนปี พระองค์มี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร.
แผ่นเมทนี งดงาม ด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย
ผู้ไร้มลทิน ก็เหมือนท้องนภากาศ งดงามด้วยเหล่า
ดวงดาวทั้งหลาย พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงงดงามอย่างนั้น.

พระขีณาสพแม้เหล่านั้น หาประมาณมิได้ อัน
โลกธรรมให้ไหวมิได้ ยากที่สัตว์จะเข้าไปหา พระผู้มี
ยศใหญ่เหล่านั้น แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบแล้วต่าง
ก็ดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้า ที่ไม่มีผู้เทียบได้นั้น
และพระสมาธิที่พระญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตร-
ธานไปหมดสั้น สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลกลฺยาณิโก ได้แก่ ต้นสาลกัลยาณี
ต้นสาลกัลยาณีนั้น เกิดในสมัยมีพระพุทธเจ้า และสมัยมีพระเจ้าจักรพรรดิ
เท่านั้น ไม่เกิดในสมัยอื่น. เล่ากันว่า ต้นสาลกัลยาณีนั้น ผุดขึ้นวันเดียว
เท่านั้น. บทว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ วิจิตฺตา อาสิ เมทนี ความว่า
แผ่นเมทนีนี้รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลายน่าดูอย่างยิ่ง
ศัพท์ว่า ยถา หิ เป็นนิบาตลงในอรรถอุปมา. บทว่า อุฬูภิ แปลว่า ด้วย
ดวงดาวทั้งหลาย อธิบายว่าแผ่นเมทนีนี้ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อ
ว่าสง่างามเหมือนท้องนภากาศงดงามด้วยหมู่ดาวทั้งหลาย.
บทว่า อสุงฺโขพฺภา ได้แก่ ไม่กำเริบ ไม่วิกาด้วยโลกธรรม 8
ประการ. บทว่า วิชฺชุปาตํว ทสฺเสตฺวา แปลว่า แสดงตัวเหมือนสายฟ้า
แลบ. ปาฐะว่า วิชฺชุปฺปาตํ ว ดังนี้ก็มี. ความจริง ครั้งพระโกณฑัญญ-
พุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานก็โลดขึ้นสู่อากาศชั่ว 7 ต้นตาล รุ่งโรจน์

ไปรอบๆ เหมือนสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆสีน้ำเงินแก่ เข้าเตโชธาตุแล้วก็
ปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเธอ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า แสดงตัวเหมือน
สายฟ้าแลบ. บทว่า อตุลิยา แปลว่า ชั่งไม่ได้ ไม่มีผู้เสมือน. บทว่า
ญาณปริภาวิโต แปลว่า อันญาณให้เจริญแล้ว คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น
เพราะมีนัยที่กล่าวมาแต่หนหลังแล.
พระโกณฑัญญสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพ-
พาน ณ พระวิหารจันทาราม ที่น่ารื่นรมย์ เขาสร้าง
พระเจดีย์สำหรับพระองค์ เจ็ดโยชน์.
พระธาตุทั้งหลาย ของพระศาสดาพระองค์นั้นไม่
กระจัดกระจาย คงดำรงอยู่เป็นแท่งเดียว เหมือนรูป
ปฏิมาทอง.

มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ช่วยกันเอาหินอ่อนสีเหลืองก่อ
แทนดิน ใช้น้ำมันและเนยแทนน้ำสร้างจนแล้วเสร็จแล.

จบ พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

3. วงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ 3



ว่าด้วยพระประวัติของพระมงคลพุทธเจ้า


[4] ต่อมาจากสมัย ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า มงคล ผู้นำโลก ทรงกำจัด
ความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระองค์ไม่มีใครเทียบ ยิ่งกว่าพระชิน-
พุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ ทำหมื่นโลกธาตุให้สว่างจ้า.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ 4
อันประเสริฐสูงสุด. สัตว์นั้น ๆ ก็ดื่มรสสัจจะบรรเทา
ความมืดใหญ่ลงได้,
ในการที่ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันหาที่เทียบ
มิได้ แล้วทรงแสดงธรรมครั้งแรก ธรรมาภิสมัย ครั้ง
ที่ 1 ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรด ในภพของ
ท้าวสักกะเทวราชจอมเทพ ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ 2 ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
ครั้ง พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช เข้าเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้า ก็ทรงลั่นธรรมเถรีอัน
ประเสริฐสูงสุด.