เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิโสธิตํ ได้แก่ อันพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงชำระแล้ว ทำให้หมดจดด้วยดี ได้ยินว่า ภิกษุผู้มีอภิญญา 6 มีฤทธิ์
มาก สี่แสนรูป แวดล้อมพระทีปังกรศาสดาอยู่ทุกเวลา อธิบายว่า สมัยนั้น
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสกขะ ทำกาลกิริยา [มรณภาพ] ภิกษุเหล่านั้นย่อมถูกครหา
ภิกษุทั้งหมดจึงเป็นพระขีณาสพ ปรินิพพาน เพราะฉะนั้นแล ศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงบานเต็มที่ สำเร็จด้วยดี งดงามเหลือเกิน
ด้วยภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภิกษุสี่แสนรูป มีอภิญญา 6 มีฤทธิ์มากย่อม
แวดล้อม พระทศพลทีปังกร ผู้รู้แจ้งโลกทุกเมื่อ.
สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นเสขะยังไม่
บรรลุพระอรหัต ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ถูกครหา.
ปาพจน์คือพระศาสนา อันพระอรหันต์ผู้คงที่
เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน ทำให้บานเต็มที่แล้ว ย่อม
งดงามทุกเมื่อ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ สตสหสฺสานิ พึงถือความ
อย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา ดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ภิกษุ
เหล่านี้ ที่ท่านแสดงด้วยการนับแล้วมีจำนวนที่แสดงได้อย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง
คำว่า ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา พึงทราบว่าเป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถ
ฉัฏฐีวิภัตติว่า ฉฬภิญฺญานํ มหิทฺธิกานํ. บทว่า ปริวาเรนฺติ สพฺพทา

ได้แก่ แวดล้อมพระทศพลตลอดกาลเป็นนิตย์ อธิบายว่า ไม่ละพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไปเสียในที่ไหน ๆ. บทว่า เตน สมเยน แปลว่า ในสมัยนั้น ก็
สมยศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถ 9 อรรถ มีอรรถว่า สมวายะ เป็นต้น เหมือน
อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
สมยศัพท์ ใช้ในอรรถว่า สมวายะ ขณะ กาล สมูหะ
เหตุ ทิฏฐิ ปฏิลาภะ ปหานะ และปฏิเวธะ.

แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า กาล ความว่า ในกาลนั้น.
บทว่า มานุสํ ภวํ ได้แก่ ภาวะมนุษย์. บทว่า อปฺปตฺตมานสา ความว่า พระ
อรหัต อันพระเสขะเหล่าใด ยังไม่ถึงแล้วไม่บรรลุแล้ว. คำว่า มานสํ เป็นชื่อ
ของราคะ ของจิต และของพระอรหัต. ก็ราคะท่านเรียกว่า มานสะ ได้ในบาลีนี้ว่า
อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวายํ จรติ มานโส ราคะนั้นใด เป็นบ่วง เที่ยว
อยู่กลางหาว ย่อมเที่ยวไป. จิตท่านก็เรียกว่า มานสะ ได้ในบาลีนี้ว่า จิตฺตํ
มโน มานสํ หทยํ ปณฺฑรํ
แปลว่า จิต ทั้งหมด. พระอรหัต ท่านเรียกว่า
มานสะ ได้ในบาลีนี้ว่า อปฺปตฺตมานโส เสโข กาลํ กยิรา ชเนสุต
พระเสขะมีพระอรหัตอันยังไม่บรรลุแล้วจะพึงทำกาละเสีย พระชเนสุตะเจ้าข้า.
แม้ในที่นี้ก็ประสงค์เอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ผู้มีพระอรหัต-
ผลอันยังไม่บรรลุแล้ว . บทว่า เสขา ได้แก่ ชื่อว่าเสขะ เพราะอรรถว่าอะไร.
ชื่อว่าเสขะ เพราะอรรถว่าได้เสขธรรม. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเป็นเสขะด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า. ตรัส
ตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นเสขะ
ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิที่เป็นเสขะ ภิกษุเป็นเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายยังศึกษาอยู่ เหตุนั้นจึงชื่อว่าเสขะ. สมจริงดัง

ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ดังนี้แล เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่าเสขะ ภิกษุศึกษาอะไรเล่า ภิกษุศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษา
อธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ดังนี้แล ภิกษุ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
เสขะ. บทว่า สุปุปฺผิตํ ได้แก่ แย้มด้วยดีแล้ว. บทว่า ปาวจนํ ได้แก่
คำอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว หรือคำที่ถึงความเจริญแล้ว ชื่อว่าปาวจนะ. คำ
เป็นประธานนั้นแล ชื่อว่า ปาวจนะ อธิบายว่า พระศาสนา. บทว่า
อุปโสภติ ได้แก่ เรื่องรองยิ่ง รุ่งโรจน์ยิ่ง. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุก
กาล. ปาฐะว่า อุปโสภติ สเทวเก ดังนี้ก็มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่ารัมมวดี
มีพระชนกเป็นกษัตริย์ พระนามว่าพระเจ้าสุเทวะ พระชนนีเป็นพระเทวีพระ-
นามว่า พระนางสุเมธา มีพระอัครสาวกคู่ ชื่อสุมังคละ และ ติสสะ มีพระ
อุปัฏฐากชื่อสาคตะ มีพระอัครสาวิกาคู่ ชื่อนันทา และสุนันทา ต้นไม้เป็นที่
ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คือ ต้นเลียบ. พระองค์สูง 80 ศอก
พระชนมายุแสนปี.
ถ้าจะถามว่า ในการแสดงนครเกิดเป็นต้นเหล่านี้มีประโยชน์อะไร. ขอ
ชี้แจงดังนี้ ผิว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่พึงปรากฏพระนครเกิดไม่พึงปรา-
กฏพระชนก ไม่พึงปรากฏพระชนนีไซร้ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ก็ย่อมไม่
ปรากฏพระนครเกิด พระชนก พระชนนี. ชนทั้งหลาย เมื่อสำคัญว่าผู้นี้เห็น
จะเป็นเทพ สักกะ ยักษ์ มาร หรือพรหม ปาฏิหาริย์เช่นนี้แม้ของเทวดาทั้ง
หลายไม่อัศจรรย์ ก็จะไม่พึงสำคัญพระดำรัสว่าควรฟังควรเชื่อถือ แต่นั้น การ
ตรัสรู้ก็ไม่มี ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ไร้ประโยชน์ พระศาสนาก็จะ
ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงควรแสดงปริจเฉทขั้นตอน มีนครเกิด
เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระทีปังกรศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่ารัมมวดี
พระชนกพระนามพระเจ้าสุเทวะ พระชนนีพระนาม
พระนางสุเมธา.
พระพิชิตมารทรงครอบครองอาคารสถานอยู่
หมื่นปี ทรงมีปราสาทอันอุดม 3 หลัง ชื่อว่า หังสา
ปราสาท โกญจาปราสาท และมยุราปราสาท.
มีสนมนารี 3 แสนนาง ล้วนประดับประดาสวย
งาม พระมเหสีพระนามว่า ปทุมา พระโอรสพระนาม
ว่า อุสภักขันธกุมาร.
พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต 4 ประการแล้ว ออก
ผนวชด้วยคชยานคือ พระยาข้างต้น ทรงบำเพ็ญเพียร
อยู่ 10 เดือนเต็ม.
ครั้นทรงบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็ได้ตรัสรู้พระสัม-
โพธิญาณ พระมหามุนีทีปังกร มหาวีรเจ้าอันพรหม
ทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ประทับ
อยู่ที่นันทาราม ประทับนั่งที่ควงไม้ซึก ทรงปราบปราม
เดียรถีย์.
พระทีปังกรศาสดา ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า
สุมังคละ และติสสะ มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า สาคตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่านันทาและสุนันทา ต้นไม้
ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกัน
ว่าต้นเลียบ.

พระทีปังกรมหามุนี สูง 80 ศอก สง่างาม
เหมือนต้นไม่ประจำทวีป เหมือนต้นพระยาสาละออก
ดอกบานเต็มต้น.
พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น มีพระชน-
มายุแสนปี พระองค์พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง
ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสารแล้ว ก็เสด็จ
ดับขันธ์ปรินิพพาน ทั้งพระสาวก เหมือนกองไฟลุก
โพลงแล้วก็ดับไป.
พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระ
ยุคลบาทด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทุกอย่าง
ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระทีปังกรชินศาสดา เสด็จนิพพาน ณ นันทา-
ราม พระสถูปของพระชินเจ้าพระองค์นั้น ที่นันทาราม
สูง 36 โยชน์.
พระสถูปบรรจุบาตร จีวร บริขารและเครื่อง
บริโภคของพระศาสดาประดิษฐานอยู่ที่โคนโพธิพฤกษ์
ในกาลนั้นสูง 3 โยชน์.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเทโว นาม ขตฺติโย ความว่า พระ-
องค์มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ. บทว่า ชนิกา ได้แก่ พระชนนี.
บทว่า ปิปฺผลิ ได้แก่ ต้นเลียบหรือต้นมะกอกเป็นต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้. บทว่า
อสีติหตฺถมุพฺเพโธ แปลว่าพระองค์สูง 80 ศอก. บทว่า ทีปรุกฺโขว ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นยังทรงพระชนม์อยู่มีพระสรีระประดับด้วยพระวรลักษณ์
32 ประการและพระอนุพยัญชนะ พร้อมบริบูรณ์ด้วยพระสัณฐานสูงและใหญ่
ประดุจต้นไม้ประจำทวีป ที่ประดับด้วยประทีปมาลาอันรุ่งเรือง ทรงสง่างาม
เหมือนพื้นนภากาศ ที่รุ่งเรืองด้วยหมู่ดาวที่เปล่งแสงเป็นข่ายรัศมีเลื่อมประกาย.
บทว่า โสภติ แปลว่า งามแล้ว. บทว่า สาลราชาว ผุลฺลิโต ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าสูง 80 ศอก สง่างามอย่างยิ่ง เหมือนต้นพระยาสาละ ที่ออก
ดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งต้น และเหมือนต้นปาริฉัตตกะสูงร้อยโยชน์ ดอกบาน
เต็มต้น.
บทว่า สตสหสฺสวสฺสานิ ความว่า พระองค์ทรงมีพระชนมายุ
แสนปี. บทว่า ตาวตา ติฏฺฐมาโน ได้แก่ ทรงมีพระชนม์ยืนอยู่เพียง
เท่านั้น. บทว่า ชนตํ ได้แก่ ประชุมชน. บทว่า สนฺตาเรตฺวา มหาชนํ
แปลว่า ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร ปาฐะว่า สนฺตาเรตฺวา สเทวกํ ดัง
นี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า ทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
บทว่า สา จ อิทฺธิ ความว่า สมบัตินั้น และอานุภาพด้วย. บทว่า โส จ
ยโส
ความว่า บริวารยศนั้นด้วย. บทว่า สพฺพํ ตมนฺตรหิตํ ความว่า
มีประการดังกล่าวมานั้นทั้งหมด เกิดเป็นสมบัติ ก็อันตรธานปราศไป. บทว่า
นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา ความว่า ก็สังขตธรรมทั้งหมด ก็ว่างเปล่า
แน่แท้ คือเว้นจากสาระว่าเที่ยงเป็นต้น.
ก็ในพุทธวงศ์นี้ ปริเฉทตอนที่ว่าด้วยนครเป็นต้นมาในบาลี. ส่วน
วาระมากวาระ ไม่ได้มา วาระนั้นควรนำมาแสดง. อะไรบ้าง คือ
1. ปุตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโอรส
2. ภริยาปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชายา

3. ปาสาทปริเฉท ตอนว่าด้วย ปราสาท
4. อคารวาสปริเฉท ตอนว่าด้วย การอยู่ครองเรือน
5. นาฏกิตถิปริเฉท ตอนว่าด้วย สตรีฟ้อนรำ
6. อภินิกขมนปริเฉท ตอนว่าด้วย อภิเนษกรมณ์
7. ปธานปริเฉท ตอนว่าด้วย การบำเพ็ญเพียร
8. วิหารปริเฉท ตอนว่าด้วย พระวิหาร
9. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก.
เหตุในการแสดงปริเฉทเหล่านั้น กล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง ก็พระทีปังกรพระองค์
นั้น มีพระสนมสามแสนนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า ปทุมา พระโอรส
พระนามว่า อุสภักขันธะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระชินศาสดาทีปังกร มีพระมเหสี พระนามว่า
ปทุมา งามปานปทุมบาน พระโอรสพระนามว่าอุสภัก-
ขันธะ.
มีปราสาท 3 หลงชื่อ หังสา โกญจา มยุรา
ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี.
พระชินเจ้าเสด็จอภิเนษกรมณ์ด้วยคชยาน คือ
พระยาช้างต้น ประทับอยู่ ณ พระวิหาร ชื่อว่านันทา-
ราม พระองค์มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่านันทะ1 ทรงทำ
ความร่าเริงแก่โลก

ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มี เวมัตตะ คือความแตกต่างกัน 5 อย่าง
คือ 1. อายุเวมัตตะ 2. ปมาณเวมัตตะ 3. กุลเวมัตตะ 4. ปธานเวมัตตะ
5. รัศมิเวมัตตะ.

1. บาลีเป็น สาคตะ.

บรรดาเวมัตตะ 5 นั้น ชื่อว่า อายุเวมัตตะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบาง
พระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มีพระชนมายุน้อย จริงอย่างนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทีปังกร มีพระชนมายุประมาณแสนปี พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
มีพระชนมายุประมาณร้อยปี.
ชื่อว่า ปมาณเวมัตตะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระ-
องค์ต่ำ จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทีปังกรมีขนาดสูงประมาณ 80 ศอก ส่วน
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราสูงประมาณ 18 ศอก.
ชื่อว่า กุลเวมัตตะ ได้แก่ บางพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ บาง
พระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์ จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทีปังกรเป็นต้นเกิด
ในตระกูลกษัตริย์ พระพุทธเจ้ากกุสันธะและพระโกนาคมนะเป็นต้นเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์.
ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ ได้แก่ บางพระองค์ ทรงบำเพ็ญเพียรชั่วเวลา
นิดหน่อยเท่านั้นเช่นพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ บางพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียร
เป็นเวลานาน เช่นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
ชื่อว่า รัสมิเวมัตตะ ได้แก่ รัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มังคละแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเพียงวาเดียว.
บรรดาเวมัตตะ 5 นั้น รัศมีเวมัตตะ ย่อมเนื่องด้วยพระอัธยาศัย
พระองค์ใดปรารถนาเท่าใด รัศมีพระสรีระของพระองค์นั้น ก็แผ่ไปเท่านั้น.
ส่วนพระอัธยาศัยของพระมงคลพุทธเจ้าได้มีแล้วว่า ขอรัศมีจงแผ่ไปตลอดหมื่น
โลกธาตุ. แต่ไม่มีความแตกต่างกันในการแทงตลอดคุณทั้งหลายของพระพุทธ-
เจ้าทุกพระองค์.
อนึ่ง มีสถานที่ 4 แห่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละเว้น. โพธิ
บัลลังก์เป็นสถานที่ไม่ทรงละ ย่อมมีในที่แห่งเดียวกันแน่นอน. สถานที่ประกาศ
พระธรรมจักรก็ไม่ทรงละ อยู่ในป่าอิสิปตนะ มิคทายวันเท่านั้น. ในเวลาเสด็จ

ลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนครย่างพระบาทแรก ก็ไม่ทรงละ. สถานที่
เท้าเตียงทั้งสี่ตั้งอยู่ ที่พระคันธกุฎีในพระเชตวันวิหารก็ไม่ทรงละเหมือนกัน.
แม้พระวิหารก็ไม่ทรงละ แต่พระวิหารนั้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง.
อนึ่ง ข้ออื่นอีก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรามีสหชาตปริเฉท
ตอนว่าด้วยสหชาต และนักขัตตปริเฉทตอนว่าด้วยนักษัตร มีเป็นพิเศษ. เล่า
กันว่าสหชาต คือสิ่งที่เกิดร่วมกับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรา มี 7 คือ พระ-
มารดาของพระราหุล พระอานันทเถระ นายฉันนะ พระยาม้ากัณฐกะ ขุมทรัพย์
มหาโพธิพฤกษ์ พระกาฬุทายี. ได้ยินว่า โดยดาวนักษัตรในเดือนอาสาฬหะหลัง
นั่นแล พระมหาบุรุษ ก็เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา เสด็จออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ ประกาศพระธรรมจักร ทรงทำยมกปาฏิหาริย์, โดยดาวนักษัตรใน
เดือนวิสาขะ ก็ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยดาวนักษัตรในเดือน
มาฆะ พระองค์ก็ประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยดาวนักษัตร
ในเดือนอัสสยุชะ (ราวกลางเดือน 11) เสด็จลงจากเทวโลก. ความพิเศษ
ดังกล่าวมานี้ ควรนำมาแสดง นี้เป็นปริเฉท ตอนว่าด้วยวาระมากวาระ คาถา
ที่เหลือ ง่ายดายทั้งนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ดำรงอยู่จนตลอดพระชนมายุ ทรงทำ
พุทธกิจทุกอย่าง เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตาม
ลำดับ.
ได้ยินว่า ในกัปใด ที่พระทีปังกรทศพลเสด็จอุบัติ ในกัปนั้นได้มีแม้
พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ อีก 3 พระองค์คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระ
สรณังกร การพยากรณ์พระโพธิสัตว์ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่มี
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงไม่แสดงไว้ในที่นี้. แต่เพื่อแสดงพระ-
พุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่เสด็จอุบัติแล้วอุบัติแล้ว ตั้งแต่ต้นกัปนั้น ในอรรถกถา
ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

<ฺฺB>พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า คือ
พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร
พระโกณฑัญญะ.
พระมุนี คือพระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ
พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ
พระปทุมุตตระ.
พระผู้มียศใหญ่ ผู้นำโลก คือ พระสุเมธะ
พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมม-
ทัสสี พระสิทธัตถะ.
พระสัมพุทธเจ้าผู้นำ คือพระติสสะ พระผุสสะ
พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสภู พระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ.
พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นได้มีมาแล้ว ทรงปราศ-
จากราคะ มีพระหฤทัยมั่นคง เสด็จอุบัติแล้ว ก็ทรง
บรรเทาความมืดอย่างใหญ่ ดังดวงอาทิตย์ พระองค์
กับทั้งพระสาวก ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว
ดังกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปฉะนั้น. <ฺฺ/B>
จบ พรรณนาวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้า
<ฺฺB>แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อมธุรัตถวิลาสินีที่แต่ง
ไม่สังเขปนัก ไม่พิศดารนัก ดังกล่าวมาฉะนี้<ฺฺ/B>

2. วงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ 2



ว่าด้วยพระประวัติของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า



ฺฺB> [3] ต่อจากสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธ-
เจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ผู้นำโลก ผู้มีพระเดชไม่มี
ที่สุด มีพระยศนับไม่ได้ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้
ยากที่จะเข้าเฝ้า.
พระองค์ทรงมีพระขันติเปรียบด้วยแผ่นธรณี ทรง
มีศีล เปรียบด้วยสาคร ทรงมีสมาธิเปรียบด้วยขุนเขา
พระเมรุ ทรงมีพระญาณเปรียบด้วยท้องนภากาศ.
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศอินทรีย์ พละ
โพชฌงค์และมรรคสัจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์
ทั้งปวง.
เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม
ครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อทรงแสดงธรรมต่อ ๆ จากนั้น ในสมาคม
ของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ธรรมาภิสมัยครั้งที่ 2
ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์แสดงธรรม ธรรมา-
ภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ. <ฺฺ/B>