เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิโสธิตํ ได้แก่ อันพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงชำระแล้ว ทำให้หมดจดด้วยดี ได้ยินว่า ภิกษุผู้มีอภิญญา 6 มีฤทธิ์
มาก สี่แสนรูป แวดล้อมพระทีปังกรศาสดาอยู่ทุกเวลา อธิบายว่า สมัยนั้น
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสกขะ ทำกาลกิริยา [มรณภาพ] ภิกษุเหล่านั้นย่อมถูกครหา
ภิกษุทั้งหมดจึงเป็นพระขีณาสพ ปรินิพพาน เพราะฉะนั้นแล ศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงบานเต็มที่ สำเร็จด้วยดี งดงามเหลือเกิน
ด้วยภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภิกษุสี่แสนรูป มีอภิญญา 6 มีฤทธิ์มากย่อม
แวดล้อม พระทศพลทีปังกร ผู้รู้แจ้งโลกทุกเมื่อ.
สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นเสขะยังไม่
บรรลุพระอรหัต ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ถูกครหา.
ปาพจน์คือพระศาสนา อันพระอรหันต์ผู้คงที่
เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน ทำให้บานเต็มที่แล้ว ย่อม
งดงามทุกเมื่อ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ สตสหสฺสานิ พึงถือความ
อย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา ดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ภิกษุ
เหล่านี้ ที่ท่านแสดงด้วยการนับแล้วมีจำนวนที่แสดงได้อย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง
คำว่า ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา พึงทราบว่าเป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถ
ฉัฏฐีวิภัตติว่า ฉฬภิญฺญานํ มหิทฺธิกานํ. บทว่า ปริวาเรนฺติ สพฺพทา