เมนู

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ด้วยจักษุ 5. บทว่า เตสํ ตทา ได้แก่ ครั้งนั้น ยัง
ชนเหล่านั้น คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า สญฺญาเปสิ
ได้แก่ ให้รู้ให้ตื่น. บทว่า วิสฺสตฺถา ได้แก่ มีจิตสนิทสนม. บทว่า มา ภาถ
แปลว่า อย่ากลัว. บทว่า ยมหํ ตัดบทเป็น ยํ อหํ หมายถึงสุเมธบัณฑิต.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า ปุพฺพกํ ได้แก่ ของเก่า. บทว่า
ชินเสวตํ ความว่า อันพระชินเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์.
บทว่า พุทฺธภูมึ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุที่พิจารณา
นั้น. บทว่า กมฺปิตา ได้แก่ ไหวแล้ว . บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก.
ต่อนั้น มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้วก็ร่าเริงยินดี พากัน
ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระ-
โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ไหว้แล้ว ทำประทักษิณแล้ว
กลับเข้าไปยังรัมมนคร ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาบารมี 10 กระทำ
อธิษฐานวิริยะให้มั่น แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็สงบ
เย็นในทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้
เราอีก.
ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณ ทำใจไว้มั่น น้อม
นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าเเล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน นิพฺพายิ ความว่า ใจของมหาชน
ผู้มีใจหวาด เพราะแผ่นดินไหว ก็สงบเย็น อธิบายว่า ถึงความสงบ เพราะฟัง

เหตุที่แผ่นดินไหวนั้น. ปาฐะว่า ชโน นิพฺพายิ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น ง่าย
เหมือนกัน. บทว่า สมาทิยิตฺวา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ อธิบายว่า สมาทาน.
บทว่า พุทฺธคุณํ ได้แก่ บารมีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เอ็นดูสรรพสัตว์กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ
เทวดาสิ้นทั้งหมื่นจักรวาล ก็ประชุมกันบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น
อันเป็นทิพย์ ก็เปล่งสดุดีมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้
ท่านปรารถนาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ แทบบาทมูลของพระทีปังกรทศพล ขอ
ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่านโดยไม่มีอันตรายเถิด ภัยหรือความหวาดกลัวใน
ความปรารถนานั้นอย่าได้มีแก่ท่านเลย โรคแม้จำนวนเล็กน้อย ก็จงอย่าเกิดใน
สรีระของท่าน ท่านจงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิ-
ญาณโดยเร็ว ต้นไม้ดอกต้นไม้ผลย่อมออกดอก ออกผลตามฤดูกาล ฉันใด
แม้ตัวท่านก็อย่าล่วงเลยฤดูสมัยนั้นเสีย จงสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลันเทอญ.
ครั้นเปล่งสดุดีอย่างนี้แล้ว ก็พากันกราบไหว้แล้วกลับไปยังเทวสถานของตนๆ
ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันเทวดาทั้งหลายสดุดีแล้ว ดำริว่า เราจักบำเพ็ญบารมี 10
แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสี่อสงไขย กำไรแสนกัป แล้วอธิษฐานความ
เพียรไว้มั่นคง โลดขึ้นสู่อากาศ ไปยังหิมวันตประเทศที่มีคณะฤษี. ด้วยเหตุ
นั้น จึงตรัสว่า
เทวดาถือดอกไม้ทิพย์ มนุษย์ถือดอกไม้มนุษย์
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองโปรยดอกไม้ทั้งหลาย แก่เรา
ผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.

ก็เทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น พากันแซ่ซ้อง
สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ท่านจงได้
ความปรารถนานั้น สมปรารถนาเถิด.
ขอเสนียดจัญไร จงปราศไป ความโศก โรค
จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน
จงสัมผัสพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยเร็วเถิด.
ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบานเมื่อถึงฤดูกาล ฉัน
ใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบานด้วยพุทธญาณ
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมี
10 ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ท่านก็จงบำเพ็ญบารมี
10 ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ-
สถาน ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้
ที่โพธิมัณฑสถานของพระชินเจ้าฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจง
ประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.
ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญเต็มดวง รุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ
ฉันนั้นเถิด.

ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้น
เหมือนกันเถิด.
แม่น้ำทุกสาย ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอจงชุมนุมยังสำนักของท่าน
ฉันนั้นเถิด.
ครั้งนั้น เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
สดุดีสรรเสริญแล้ว ก็สมาทานบารมีธรรม 10 ประการ
เมื่อจะยังธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปในป่าใหญ่.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ ความว่า เทวดาทั้งหลายถือดอกไม้
ทิพย์มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ ดอกไม้กัลปพฤกษ์ ดอกบัว เป็นต้น
มนุษย์ทั้งหลายก็ถือดอกไม้มนุษย์. บทว่า สโมกิรนฺติ ความว่า โปรยปราย
ลงบนตัวเรา. บทว่า วุฏฺฐหนฺตสฺส ได้แก่ กำลังลุกขึ้น. บทว่า เวทยนฺติ
ได้แก่ ให้ทรงรู้แล้ว ให้ทรงเข้าใจแล้ว. บทว่า โสตฺถี แปลว่า ความสวัสดี
บัดนี้ เพื่อแสดงอาการที่ให้ทรงรู้ จึงกล่าวว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่
เป็นต้น อธิบายว่า ข้าแต่ท่านสุเมธบัณฑิต ท่านปรารถนาตำแหน่งอันยิ่งใหญ่
ท่านจงได้ตำแหน่งนั้น สมปรารถนาเถิด.
บทว่า สพฺพีติโย ความว่า ชื่อ อีติ เพราะเป็นที่มาของอันตราย,
อันตรายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพีติยะ ได้แก่ อุปัทวะ. บทว่า วิวชฺชนฺตุ
ได้แก่ อย่ามีเลย. บทว่า โสโก โรโค วินสฺสตุ ความว่า โศก
กล่าวคือความเศร้า และโรคกล่าวคือความเสียดแทง จงพินาศไป. บทว่า
เต ได้แก่ ตว แก่ท่าน. บทว่า มา ภวนฺตฺวนฺตรายา ได้แก่