เมนู

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ด้วยจักษุ 5. บทว่า เตสํ ตทา ได้แก่ ครั้งนั้น ยัง
ชนเหล่านั้น คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า สญฺญาเปสิ
ได้แก่ ให้รู้ให้ตื่น. บทว่า วิสฺสตฺถา ได้แก่ มีจิตสนิทสนม. บทว่า มา ภาถ
แปลว่า อย่ากลัว. บทว่า ยมหํ ตัดบทเป็น ยํ อหํ หมายถึงสุเมธบัณฑิต.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า ปุพฺพกํ ได้แก่ ของเก่า. บทว่า
ชินเสวตํ ความว่า อันพระชินเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์.
บทว่า พุทฺธภูมึ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุที่พิจารณา
นั้น. บทว่า กมฺปิตา ได้แก่ ไหวแล้ว . บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก.
ต่อนั้น มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้วก็ร่าเริงยินดี พากัน
ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระ-
โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ไหว้แล้ว ทำประทักษิณแล้ว
กลับเข้าไปยังรัมมนคร ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาบารมี 10 กระทำ
อธิษฐานวิริยะให้มั่น แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็สงบ
เย็นในทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้
เราอีก.
ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณ ทำใจไว้มั่น น้อม
นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าเเล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน นิพฺพายิ ความว่า ใจของมหาชน
ผู้มีใจหวาด เพราะแผ่นดินไหว ก็สงบเย็น อธิบายว่า ถึงความสงบ เพราะฟัง