เมนู

บริจาคชีวิต ชื่อปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถ-
บารมี 10 รวมบารมี 30 ทัศ พิจารณาเหมือนหมุนกลับน้ำมันในยนตร์ เมื่อ
สุเมธบัณฑิตนั้นพิจารณาบารมี 10 อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีอันกว้าง
หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ส่งเสียงร้องก้องกัมปนาทสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว
ประหนึ่งกำอ้อที่ถูกช้างเหยียบ และประหนึ่งเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่บีบคั้น
ปั่นหมุนประหนึ่งล้อแป้นทำภาชนะดินและล้อยนตร์บีบคั้นน้ำมันฉะนั้น ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ ในโลกมี
เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้นไม่มี ท่านจง
ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.
เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านี้ โดยลักษณะ
แห่งกิจคือสภาวะ หมื่นแผ่นพสุธาก็หวาดไหวเพราะ
เดชแห่งธรรม.
ปฐพีไหวส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อยบีบ
อ้อย แผ่นดินก็ไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์บีบน้ำมันงา
ฉะนั้น.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺตกาเยว ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า
บารมี 10 ที่ยกแสดงไม่ขาดไม่เกิน. บทว่า ตตฺทฺธํ ความว่า ที่สูงไปกว่า
บารมี 10 นั้นไม่มี. บทว่า อญฺญตฺร แปลว่าอื่น ลักษณะศัพท์พึงถือตาม
คัมภีร์ศัพท์ศาสตร์ ความว่า พุทธการกธรรมอื่นจากบารมี 10 นั้น ไม่มี.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่บารมี 10 เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺฐห แปลว่า จงตั้งอยู่
ความว่า จงทำให้บริบูรณ์ตั้งอยู่.

บทว่า อิเม ธมฺเม ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า สมฺมสโต ได้แก่
ทรงสอบสวน พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถอนาทระ. บทว่า สภาวสรสาลฺก-
ขเณ
ความว่า ทรงพิจารณาโดยลักษณะที่มีกิจคือหน้าที่กล่าวคือสภาวะความ
จริง. บทว่า ธมฺมเตเชน ได้แก่ ด้วยเดชคืออำนาจแห่งการรู้จักเลือกเฟ้น
บารมี. รัตนะเรียกว่า วสุ ในบทว่า วสุธา. ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งรัตนะนั้น
หรือรัตนะทรงอยู่ในธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วสุธา ทรง
ไว้ซึ่งรัตนะหรือเป็นที่ทรงรัตนะ. ธรรมชาตินั้นคืออะไร คือเมทนีแผ่นดิน.
บทว่า ปกมฺปถ แปลว่าไหวแล้ว อธิบายว่าก็เมื่อสุเมธบัณฑิตกำลังเลือกเฟ้น
บารมีทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งญาณของสุเมธบัณฑิตนั้น หมื่นแผ่นปฐพีก็กัมป-
นาท.
บทว่า จลติ ได้แก่ ไหว มี 6 ประการ. บทว่า รวติ ได้แก่ บันลือ
ส่งเสียงร้อง. บทว่า อุจฺฉุยนฺตํว ปิฬิตํ แปลว่า เหมือนยนตร์หีบอ้อย
บีบอ้อย. ปาฐะว่า คุฬยนฺตํว ปีฬิตํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า เตลยนฺเต แปลว่าในยนตร์ที่คั้นน้ำมัน . บทว่า ยถา จกฺกํ ได้แก่
เหมือนยนตร์ที่มีล้อใหญ่ของผู้ใช้ยานมีล้อ [ล้อรถ-เกวียน]. บทว่า เอวํ
ความว่า ยนตร์ที่ใช้ลูกกลมคั้นน้ำมัน ย่อมหมุน ย่อมสั่น ฉันใด เมทนีคือแผ่น
ดินนี้ก็สั่น ฉันนั้น. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่อย่างนี้ มนุษย์ชาวรัมมนครที่เข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ไม่อาจยืนอยู่ได้ ก็ล้มสลบเหมือนต้นสาละใหญ่ ถูกยุคันธวาตะ
พัดกระหน่ำ ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น ก็หมุนกระทบกันและกันแหลกเป็นจุรณ
ไป. มหาชนหวาดกลัว ก็เข้าไปหาพระศาสดา ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่รู้เหตุนี้ว่า นี้เป็นอาการหมุนตัวของนาค หรือของ

ภูต ยักษ์ เทวดาพวกหนึ่งหรือพระเจ้าข้า อนึ่งเล่ามหาชนนี้ทั้งหมดถูกภัยรบกวน
จักเป็นความชั่วของโลกนี้ หรือเป็นความดีพระเจ้าข้า ขอโปรดตรัสบอกเหตุนี้
ด้วยเถิด.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงสดับคำของชนเหล่านั้น แล้วตรัสว่า พวก
ท่านอย่ากลัวกันเลย อย่าคิดอะไรเลย ไม่มีภัยที่เกิดจากเหตุการณ์นี้แก่พวก
ท่านดอก. ผู้ใดเราพยากรณ์ว่า วันนี้ สุเมธบัณฑิตจักเป็นพระพุทธเจ้านาม
ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล ผู้นั้นกำลังพิจารณาบารมีทั้งหลายในบัดนี้ ด้วย
เดชแห่งธรรมของท่านผู้กำลังพิจารณานั้น ทั่วหมื่นโลกธาตุจึงไหวและส่งเสียง
ร้องพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ตัวสั่นงันงกอยู่
ในที่นั้น พากันนอนสลบอยู่เหนือพื้นดิน.
หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน กระทบกัน
และกัน แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.
มหาชนทั้งหลาย หวาดสะดุ้งกลัวหมุนวนมีใจ
ถูกบีบ พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ เหตุดีเหตุชั่วจักมีแก่
โลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลกหรือ ขอพระ-
องค์โปรดทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.
ครั้งนั้นพระมหามุนีทีปังกร ทรงยังมหาชนเหล่า
นั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า พวกท่านจงวางใจ อย่ากลัว
ในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.

วันนี้ เราพยากรณ์ผู้ใดว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อนๆ ที่พระชินเจ้าทรงเสพ
แล้ว.
เมื่อท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมคือพุทธภูมิไม่
เหลือเลย ด้วยเหตุนั้น หมื่นแผ่นปฐพีนี้ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลกจึงไหว.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า
อาสิ แปลว่า ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ยา ตทา ปริสา อาสิ ดังนี้ก็มี ปาฐะ
นั้นมีความว่า บริษัทใดตั้งอยู่ในที่นั้น. บทว่า ปเวธมานา แปลว่า ไหว
อยู่. บทว่า สา ได้แก่ บริษัทนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เข้าเฝ้านั้น.
บทว่า เสติ แปลว่า นอนแล้ว.
บทว่า ฆฏา แปลว่า แห่งหม้อทั้งหลาย คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า หลายพันแห่งหม้อทั้งหลาย. บทว่า สญฺจุณฺณม-
ถิตา
แปลว่า เป็นจุรณด้วย แหลกด้วย ความว่า แหลกเป็นจุรณ. บทว่า
อญฺญมญฺญํ ปฆฏฺฏิตา แปลว่า กระทบซึ่งกันและกัน. บทว่า อุพฺพิคฺคา
ได้แก่ มีใจหวาด. บทว่า ตสิตา ได้แก่ เกิดสะดุ้ง. บทว่า ภีตา ได้แก่ กลัว
ภัย. บทว่า ภนฺตา ได้แก่ มีใจแปรปรวน อธิบายว่า มีใจหมุนไปผิดแล้ว
คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ มา
ประชุมกัน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุปทฺทุโต ได้แก่ ถูกย่ำยี. บทว่า ตํ วิโนเทหิ ได้แก่ จง
บรรเทา อธิบายว่า จงกำจัดภัยที่คุกคามนั้น. บทว่า จกฺขุม ได้แก่ ข้าแต่