เมนู

เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน อธิษฐานเมตตาบารมีอันดับเก้าไว้นั่นแล
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นเมตตาบารมีอัน
ดับเก้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยังใหญ่ทั้งหลาย พระองค์
ก่อนๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมี อันดับเก้านี้ไว้มั่น
ก่อน จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้อง
การบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้งใน
คนดีและคนชั่ว ย่อมพัดพาซึ่งมลทินคือ ธุลีไป แม้
ฉันใด.
ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ ในคนที่เป็นประ-
โยชน์เกื้อกูล และชนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสโม โหหิ ได้แก่ จงเป็นผู้ไม่มีผู้
เสมือนด้วยเมตตาภาวนา. ในคำนั้น ปาฐะว่า ตฺวํ สมสโม โหหิ ดังนี้ก็มี.

ปาฐะนั้น มีความง่ายแล. บทว่า สมํ ได้แก่ ชั่งได้. บทว่า ผรติ ได้แก่ ถูก
ต้อง. บทว่า ปวาเหติ ได้แก่ ชำระ. บทว่า รโช ได้แก่ ธุลีที่จรมา. บทว่า
มลํ ได้แก่ มลทินมีมลทินคือเหงื่อเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นที่สรีระ ปาฐะว่า รชมลํ
ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า หิตาหิเต ได้แก่ ผู้มีประโยชน์
และผู้ไม่มีประโยชน์ อธิบายว่ามิตรและอมิตร. บทว่า เมตฺตาย ภาวย ได้
แก่จงเจริญเพิ่มพูนเมตตา คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายจะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้นหามิได้ เห็นอุเบกขาบารมีอับดับสิบ จึงสอนตน
เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึง
วางตัวเป็นกลาง ทั้งในสุข ทั้งในทุกข์ ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมเป็นกลางในผู้ใส่
ของสะอาดบ้างแม้ฉันใด ถึงตัวท่าน เมื่อวางตัวเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็
จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ก็อธิษฐานอุเบกขาบารมีอันดับสิบไว้มั่นด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบ
รมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นอุเบกขาบารมี
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระ-
โพธิญาณได้.

ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งของที่เขาทิ้ง
ลง ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่างเว้นความ
ยินดียินร้าย แม้ฉันใด.
ท่านจงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลาภูโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
คันตาชั่งที่เขาชั่งเท่ากัน ก็ตั้งอยู่เท่ากันไม่หกลง ไม่กระดกขึ้น ฉันใด แม้
ตัวท่านก็ต้องเป็นเสมือนตาชั่งในสุขและทุกข์ทั้งหลาย จึงจักบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า โกปานุนยวชฺชิตา ได้แก่ เว้นความ
ยินดียินร้าย. ปาฐะว่า ทยาโกปวิวชฺชิตา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือน
กัน คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในขันติบารมีนั่นแล.
แต่นั้น สุเมธบัณฑิต ครั้นเลือกเฟ้นบารมีธรรม 10 นี้แล้ว ต่อจาก
นั้น ก็คิดว่า ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้าอันช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ
อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงบำเพ็ญในโลกนี้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ไม่มียิ่งไป
กว่า แต่ว่าบารมีเหล่านี้ ไม่มีอยู่แม้ในอากาศเบื้องบน ไม่มีอยู่แม้ในทิศทั้งหลาย
มีทิศบูรพาเป็นต้น แต่ว่าตั้งอยู่ในระหว่างเนื้อหัวใจของเราเท่านั้น เห็นว่า
บารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหัวใจตนอย่างนี้แล้ว ก็อธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมด
ไว้มั่น เมื่อพิจารณาบ่อยๆ ก็พิจารณาทั้งอนุโลม ทั้งปฏิโลม จับปลายเอามา
ชนต้น จับต้นเอามาชนปลาย จับกลางเอามาชนทั้งสองข้าง จับปลายทั้งสองข้าง
เอามาชนกลาง บริจาคสิ่งของภายนอกชื่อ บารมี บริจาคอวัยวะ ชื่อ อุปบารมี

บริจาคชีวิต ชื่อปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถ-
บารมี 10 รวมบารมี 30 ทัศ พิจารณาเหมือนหมุนกลับน้ำมันในยนตร์ เมื่อ
สุเมธบัณฑิตนั้นพิจารณาบารมี 10 อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีอันกว้าง
หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ส่งเสียงร้องก้องกัมปนาทสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว
ประหนึ่งกำอ้อที่ถูกช้างเหยียบ และประหนึ่งเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่บีบคั้น
ปั่นหมุนประหนึ่งล้อแป้นทำภาชนะดินและล้อยนตร์บีบคั้นน้ำมันฉะนั้น ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ ในโลกมี
เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้นไม่มี ท่านจง
ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.
เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านี้ โดยลักษณะ
แห่งกิจคือสภาวะ หมื่นแผ่นพสุธาก็หวาดไหวเพราะ
เดชแห่งธรรม.
ปฐพีไหวส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อยบีบ
อ้อย แผ่นดินก็ไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์บีบน้ำมันงา
ฉะนั้น.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺตกาเยว ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า
บารมี 10 ที่ยกแสดงไม่ขาดไม่เกิน. บทว่า ตตฺทฺธํ ความว่า ที่สูงไปกว่า
บารมี 10 นั้นไม่มี. บทว่า อญฺญตฺร แปลว่าอื่น ลักษณะศัพท์พึงถือตาม
คัมภีร์ศัพท์ศาสตร์ ความว่า พุทธการกธรรมอื่นจากบารมี 10 นั้น ไม่มี.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่บารมี 10 เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺฐห แปลว่า จงตั้งอยู่
ความว่า จงทำให้บริบูรณ์ตั้งอยู่.