เมนู

ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น
แล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.
ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่
ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี
ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐาน-
บารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสโล ได้แก่ ที่สำเร็จด้วยหิน. บทว่า
อจโล ได้แก่ ไม่คลอนแคลน. บทว่า สุปฺปติฏฺฐิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี
เพราะไม่คลอนแคลนนั่นแล. ปาฐะว่า ยถาปิ ปพฺพโต อจโล นิขาโต
สุปฺปติฏฺฐิโต
ดังนี้ก็มี. บทว่า ภุสวาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมมีกำลัง. บทว่า
สกฏฺฐาเนว ได้แก่ ในฐานของตนนั่นแหละ อธิบายว่า ในฐานตามที่ตั้งอยู่
นั่นแล คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าอันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย จะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็หาไม่ เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า
แล้ว ก็สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้อง
บำเพ็ญเมตตาบารมี ท่านพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในผู้มีประโยชน์
เกื้อกูล ทั้งในผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล เปรียบเหมือนน้ำย่อมเอิบอาบ
ทำความเย็นเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งบาปชน ทั้งกัลยาณชน แม้ฉันใด
ถึงตัวท่าน มีจิตเป็นอย่างเดียวกันด้วยเมตตาจิต ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จัก