เมนู

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับ
เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมีอันดับเจ็ดนี้ไว้มั่นก่อน
ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของ
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อน
ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้ง
หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งสัจบารมีแล้วก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสัจบารมี. บทว่า
อเทฺวชฺฌวจโน แปลว่า มีวาจาไม่เท็จ. บทว่า โอสธี นาม แปลว่า ดาวประ-
กายพรึก. ในการถือเอายา ชนทั้งหลายแลเห็นดาวประกายพรึกขึ้นจึงถือเอายา
เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าดาวประกายพรึก. บทว่า ตุลาภูตา ได้แก่ เป็น
เครื่องวัด. บทว่า สเทวเก แปลว่า ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สมเย
ได้แก่ ในฤดูฝน. บทว่า อุตุวสฺเส ได้แก่ ในฤดูหนาวฤดูร้อน. ปาฐะว่า สมเย
อุตุวฏฺเฏ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความว่า บทว่า สมเย ได้แก่ ฤดูร้อน. บทว่า
อุตุวฏฺเฏ ได้แก่ฤดูหนาวและฤดูฝน. ได้แก่ ฤดูหนาวและฤดูฝน. บทว่า
น โอกฺกมติ วีถิโต ดาวประกายพรึก ย่อมไม่โคจรออกจากวีถี คือ ไม่

โคจรไปนอกวิถีโคจรของตนในฤดูนั้น ๆ คือ โคจรไปทิศปัจฉิม 6 เดือน
โคจรไปทิศบูรพา 6 เดือน. อีกนัยหนึ่ง ยา มีขิง ดีปลี พริกเป็นต้น ชื่อว่า
โอสธี. บทว่า น โวกฺกมติ ความว่า ยาขนานใด ๆ สามารถให้ผล ยา
ขนานนั้น ๆ ให้ผลแล้ว ไม่ให้ผลของตัวเองก็ไม่สูญหายไป. บทว่า วีถิโต
ได้แก่ จากทางไป. อธิบายว่า ยาแก้ดีก็รักษาดี แก้ลมก็รักษาลม แก้เสมหะ
ก็รักษาเสมหะ. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มีเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ ก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด จึง
สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่
อธิษฐานบารมี ตั้งอธิษฐานใดไว้ ก็เป็นผู้ไม่คลอนแคลนในอธิษฐานนั้น
ชื่อว่าภูเขา เมื่อลมพัดมากระทบทุกทิศก็ไม่หวั่นไม่ไหว นิ่งอยู่ในที่ของตน
เท่านั้น ฉันใด ถึงตัวท่านเมื่อไม่คลอนแคลนในอธิษฐานของตน ก็จักเป็น
พระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อธิษฐาน อธิษฐานบารมีอันดับแปดไว้มั่น
และด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้นก็
หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมี
อันดับแปด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น
แล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.
ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่
ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี
ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐาน-
บารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสโล ได้แก่ ที่สำเร็จด้วยหิน. บทว่า
อจโล ได้แก่ ไม่คลอนแคลน. บทว่า สุปฺปติฏฺฐิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี
เพราะไม่คลอนแคลนนั่นแล. ปาฐะว่า ยถาปิ ปพฺพโต อจโล นิขาโต
สุปฺปติฏฺฐิโต
ดังนี้ก็มี. บทว่า ภุสวาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมมีกำลัง. บทว่า
สกฏฺฐาเนว ได้แก่ ในฐานของตนนั่นแหละ อธิบายว่า ในฐานตามที่ตั้งอยู่
นั่นแล คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าอันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย จะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็หาไม่ เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า
แล้ว ก็สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้อง
บำเพ็ญเมตตาบารมี ท่านพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในผู้มีประโยชน์
เกื้อกูล ทั้งในผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล เปรียบเหมือนน้ำย่อมเอิบอาบ
ทำความเย็นเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งบาปชน ทั้งกัลยาณชน แม้ฉันใด
ถึงตัวท่าน มีจิตเป็นอย่างเดียวกันด้วยเมตตาจิต ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จัก