เมนู

ก็ต้องอดทนในการยกย่องและดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันจึง
จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็อธิษฐานขันติบารมีอันดับหกไว้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นขันติบารมีอันดับ
หก ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมี อันดับหกนี้ไว้ให้มั่น
ก่อน ท่านจงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่ทำความยินดี
ยินร้าย ฉันใด.
แม้ตัวท่าน ก็ต้องอดทนการยกย่องและการดู
หมิ่นของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่ง
ขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในขันติบารมีนั้น. บทว่า
อเทฺวชฺฌมานโส ได้แก่ มีใจส่วนเดียว. บทว่า สุจิมฺปิ ได้แก่ ของสะอาด

มีจันทน์หญ้าฝรั่นของหอมดอกไม้เป็นต้นบ้าง. บทว่า อสุจิมฺปิ ได้แก่ ของ
ไม่สะอาดมีซากงู สุนัข คนและมูตร น้ำลาย น้ำมูกเป็นต้นบ้าง บทว่า สหติ
ได้แก่ อดกลั้น. บทว่า นิกฺเขปํ ได้แก่ นิกฺขิตฺตํ อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า
ปฏิฆํ ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า ตยา คือ เพราะพฤติการณ์นั้น หรือ
เพราะเหตุที่ทิ้งของนั้น. ปาฐะว่า ปฏิฆํ ทยํ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า
ไม่ทำความยินดียินร้าย เพราะการทั้งของนั้น. บทว่า สมฺมานาวมานกฺขโม
ความว่า แม้ตัวท่านก็จงทนการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง. พุทธบริษัท
ทั้งหลาย สวดกันว่า ตเถว ตฺวมฺปิ สมฺภเว สมฺมานนวิมานกฺขโม
ดังนี้ก็มี ปาฐะว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี ความว่า ถึงโดย
บำเพ็ญขันตินั้นให้เป็นบารมี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล. ต่อแต่
นี้ไป จักไม่กล่าวความมีประมาณเท่านี้ กล่าวแต่ที่แปลกกัน แสดงปาฐะอื่น
ไป.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายมิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับเจ็ด จึงสอนตนเอง
อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้แต่สัจบารมี
เมื่อสายฟ้าแม้ตกลงตรงกระหม่อม ท่านก็อย่าพูดเท็จทั้งรู้ โดยอคติมีฉันทาคติ
เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นอาทิ ธรรมดาดาวประกายพรึก ถึงละทาง
โคจรของตนในฤดูทุกฤดู ก็ไม่โคจรไปทางอื่น โคจรอยู่ในทางของตนเท่านั้น
แม้ฉันใด ถึงตัวท่านละสัจจะก็ไม่พูดเท็จฉันนั้นเหมือนกัน ก็จักเป็นพระพุทธ-
เจ้าได้ แล้วอธิษฐานสัจบารมีอันดับเจ็ดไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
ไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรม
บ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับ
เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมีอันดับเจ็ดนี้ไว้มั่นก่อน
ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของ
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อน
ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้ง
หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งสัจบารมีแล้วก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสัจบารมี. บทว่า
อเทฺวชฺฌวจโน แปลว่า มีวาจาไม่เท็จ. บทว่า โอสธี นาม แปลว่า ดาวประ-
กายพรึก. ในการถือเอายา ชนทั้งหลายแลเห็นดาวประกายพรึกขึ้นจึงถือเอายา
เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าดาวประกายพรึก. บทว่า ตุลาภูตา ได้แก่ เป็น
เครื่องวัด. บทว่า สเทวเก แปลว่า ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สมเย
ได้แก่ ในฤดูฝน. บทว่า อุตุวสฺเส ได้แก่ ในฤดูหนาวฤดูร้อน. ปาฐะว่า สมเย
อุตุวฏฺเฏ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความว่า บทว่า สมเย ได้แก่ ฤดูร้อน. บทว่า
อุตุวฏฺเฏ ได้แก่ฤดูหนาวและฤดูฝน. ได้แก่ ฤดูหนาวและฤดูฝน. บทว่า
น โอกฺกมติ วีถิโต ดาวประกายพรึก ย่อมไม่โคจรออกจากวีถี คือ ไม่