เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขนฺโต ได้แก่ ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต.
บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ความว่า ตระกูลทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง และชั้นกลาง
ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น วิวชฺเชนฺโต ได้แก่ ไม่บริหาร อธิบายว่า
ภิกษุละลำดับเรือนเที่ยวบิณฑบาต ชื่อว่าเว้นไม่ทำอย่างนั้น. บทว่า ปริปุจฺ-
ฉนฺโต
ความว่า เข้าไปหาบัณฑิต ผู้มีชื่อเสียงในที่นั้น ๆ สอบถามโดยนัย
เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี
โทษดังนี้. บทว่า พุธํ ชนํ ได้แก่ ชนผู้เป็นบัณฑิต. ปาฐะว่า พุเธ ชเน
ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺญาย ปารมึ ได้แก่ ฝั่งแห่งปัญญาบารมี. ปาฐะว่า
ปญฺญาปารมิตํ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี คำที่เหลือในข้อแม้นี้ ก็มีความง่ายเหมือน
กันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มิใช่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นวิริยบารมีอันดับห้า พึงสอนตน
เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่วิริยบารมี
ราชสีห์ พระยามฤค มีความเพียรมั่นคงในอิริยาบถทั้งหมดแม้ฉันใด แม้ตัว
ท่านก็ต้องมีความเพียรมั่นคง มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถทั้งปวง ในภพ
ทั้งปวงอยู่ฉันนั้น จึงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ อธิษฐานวิริยบารมีอันดับห้าไว้
อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นวิริยบารมีอันดับ
ห้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทาน วิริยบารมีอันดับห้านี้ไว้ให้มั่น
ก่อน จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยใน
อิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจทุกเมื่อ ฉันใด.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง
ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ฉันนั้นเหมือนกัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลีนวิริโย แปลว่า มีความเพียรไม่ย่อ
หย่อน. บทว่า สพฺพภเว ได้แก่ ในภพที่เกิดแล้วเกิดอีก. อธิบายว่า ในภพ
ทั้งปวง, ปาฐะว่า อารทฺธวิริโย หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มี
คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลาย มิใช่พึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นขันติบารมีอันดับหกจึงสอนตนเอง
อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญขันติบารมี ต้อง
อดทนทั้งในการยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายย่อมทิ้ง
ของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ทำความรัก
หรือความขัดเคือง ด้วยเหตุนั้น ย่อมอดทนอดกลั้นได้ทั้งนั้น ฉันใด แม้ตัวท่าน