เมนู

ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
จะบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่
เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า
จิรวุฏฺโฐ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ
คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราคํ ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด
ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้
ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ
พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช.
บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น
ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่
เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมี ท่านไม่พึงเว้น
คนชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูงไรๆ เข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน แล้วถามปัญหา
ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายมีตระกูลต่ำเป็นต้นไร ๆ
เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้เร็วฉันใด
แม้ท่านก็จงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่านถามปัญหา ก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น
เหมือนกัน แล้วอธิษฐานปัญญาบารมีอันดับสี่ไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมี
อันดับสี่ ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานปัญญาบารมี อันดับสี่นี้ไว้ให้มั่น
จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ
ตระกูลชั้นกลางและตระกูลชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้ง
หลายเลย ดังนั้นจึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป
ได้ ฉันใด.
ท่านสอบถามชนผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งปัญญาบารมี
แล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้นเหมือนกัน.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขนฺโต ได้แก่ ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต.
บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ความว่า ตระกูลทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง และชั้นกลาง
ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น วิวชฺเชนฺโต ได้แก่ ไม่บริหาร อธิบายว่า
ภิกษุละลำดับเรือนเที่ยวบิณฑบาต ชื่อว่าเว้นไม่ทำอย่างนั้น. บทว่า ปริปุจฺ-
ฉนฺโต
ความว่า เข้าไปหาบัณฑิต ผู้มีชื่อเสียงในที่นั้น ๆ สอบถามโดยนัย
เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี
โทษดังนี้. บทว่า พุธํ ชนํ ได้แก่ ชนผู้เป็นบัณฑิต. ปาฐะว่า พุเธ ชเน
ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺญาย ปารมึ ได้แก่ ฝั่งแห่งปัญญาบารมี. ปาฐะว่า
ปญฺญาปารมิตํ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี คำที่เหลือในข้อแม้นี้ ก็มีความง่ายเหมือน
กันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มิใช่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นวิริยบารมีอันดับห้า พึงสอนตน
เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่วิริยบารมี
ราชสีห์ พระยามฤค มีความเพียรมั่นคงในอิริยาบถทั้งหมดแม้ฉันใด แม้ตัว
ท่านก็ต้องมีความเพียรมั่นคง มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถทั้งปวง ในภพ
ทั้งปวงอยู่ฉันนั้น จึงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ อธิษฐานวิริยบารมีอันดับห้าไว้
อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.