เมนู

ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
จะบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่
เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า
จิรวุฏฺโฐ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ
คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราคํ ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด
ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้
ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ
พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช.
บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น
ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่
เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า