เมนู

ท่านเห็นยาจก ทั้งชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูง แล้ว
จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉัน
นั้นเหมือนกัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ.
บทว่า พุทฺธกเร ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า ธรรม
10 ประการมี ทานปารมิตา เป็นต้น ชื่อว่าธรรมทำความเป็นพระพุทธเจ้า.
บทว่า วิจินามิ ได้แก่ จักเลือกเฟ้น อธิบายว่า จักทดสอบ จักสอบสวน.
บทว่า อิโต จิโต ได้แก่ ช้างโน้น ข้างนี้. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน
ความว่า จะเลือกเฟ้นในที่นั้นๆ. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ ในเทวโลก. บทว่า
อโธ ได้แก่ ในมนุษยโลก. บทว่า ทสทิสา ได้แก่ ในสิบทิศ อธิบายว่า
พุทธการกธรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในทิศ
ใหญ่ทิศน้อย. คำว่า ยาวตา ในคำว่า ยาวตา ธมฺมธาตุยา นี้ เป็นคำกล่าว
กำหนด. บทว่า ธมฺมธาตุยา ได้แก่ แห่งสภาวธรรม พึงเห็นว่าเติมคำที่เหลือ
ว่า ปวตฺตนี แปลว่า ความเป็นไปแห่งสภาวธรรม ท่านอธิบายไว้อย่างไร
ท่านอธิบายไว้ว่า จักเลือกเฟ้นเพียงเท่าที่สภาวธรรม คือธรรมส่วนกามาวจร
รูปาวจรเป็นไป.
บทว่า วิจินนฺโต ได้แก่ ทดสอบ สอบสวน. บทว่า ปุพฺพเกหิ
ได้แก่ อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ. บทว่า อนุจิณฺณํ ได้แก่
สะสม ซ่องเสพ. บทว่า สมาทิย ได้แก่ จงทำการสมาทาน อธิบายว่า จง
สมาทานอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราควรบำเพ็ญทานบารมีนี้ก่อน. บทว่า ทาน-
ปารมิตํ คจฺฉ ได้แก่ ถึงทานบารมี. อธิบายว่าทำให้เต็ม. บทว่า ยทิ โพธึ

ปตฺตุมิจฺฉสิ ความว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าไปโคนโพธิ์แล้วบรรลุ พระ-
อนุตตรสัมมาสัมโพธิ. บทว่า ยสฺส กสฺสจิ ความว่า เต็มด้วยน้ำหรือน้ำนม
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อประกอบ สัมปุณฺณ ศัพท์ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์
ประสงค์ฉัฏฐีวิภัตติ หรือฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ความว่า ด้วยน้ำ
อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อโธกโต ได้แก่ อันเขาคว่ำปากลง. บทว่า น
ตตฺถ ปริรกฺขติ ได้แก่ รักษาไว้ไม่ได้ในการไหลของน้ำนั้น อธิบายว่าหลั่ง
น้ำออกไม่เหลือเลย. บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ได้แก่ ชั้นต่ำชั้นกลางและ
ชั้นประณีต อักษรทำบทสนธิ. บทว่า กุมฺโภ วิย อโธกโต ได้แก่
เหมือนหม้อที่วางคว่ำปาก. สุเมธบัณฑิตสอนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อน
สุเมธ ท่านพบคนยาจกที่เข้าไปหา จงบำเพ็ญทานบารมีด้วยการบริจาคทรัพย์
ทั้งหมดของตนไม่ให้เหลือ อุปบารมีด้วยการบริจาคอวัยวะ และปรมัตถปารมี
ด้วยการบริจาคชีวิต.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า ไม่ควรมีแต่พุทธ-
การกธรรมเพียงเท่านี้ ก็เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสอง จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนสุเมธบัณฑิตตั้งแต่นี้ไป ท่านควรบำเพ็ญศีลบารมี ขึ้นชื่อว่าเนื้อจามรีไม่อาลัย
แม้แต่ชีวิต ย่อมรักษาขนหางของตนอย่างเดียว ฉันใด ตั้งแต่นี้ไป ท่านไม่
อาลัยแม้แต่ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว ฉันนั้น แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า จึง
อธิษฐานศีลบารมีอันดับสองไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้
เท่านั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วย
อบรมบ่มโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นศีลบารมีอันดับ
สอง ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พา
กันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุพระ-
โพธิญาณ.
เนื้อจามรี รักษาขนหางที่ติดอยู่ในที่บางแห่ง
ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย ฉันใด
ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในฐานะ 4 จง
บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น
เหมือนกัน.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ได้แก่ น หิ เอเตเยว มิใช่
พุทธธรรมเหล่านั้นเท่านั้น. บทว่า โพธิปาจนา ได้แก่ บ่มมรรค หรือ
อบรมบ่มพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุติยํ สีลปารมึ ความว่า ธรรมดาศีล
เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทุกอย่าง ผู้ตั้งอยู่ในศีล ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม
ทั้งหลาย ทั้งย่อมได้คุณส่วนโลกิยะและโลกุตระทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เราจึง
เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสองว่า ควรบำเพ็ญศีลบารมี.
บทว่า อาเสวิตนิเสวิตํ ได้แก่ เจริญแล้วและทำให้มากแล้ว. บทว่า
จมรี ได้แก่ เนื้อจามรี. บทว่า กสฺมิญฺจิ ได้แก่ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง คือ
ในต้นไม้เถาวัลย์และเรียวหนามเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ปฏิลคฺคิตํ
แปลว่า ติดอยู่. บทว่า ตตฺถ ความว่า ขนหางติดอยู่ในที่ใด มันก็ยืนยอมตาย

ในที่นั้น. บทว่า น วิโกเปติ ได้แก่ ไม่ตัด. บทว่า วาลธึ ได้แก่ ไม่ตัด
ขนหางไป อธิบายว่า ยอมตายในที่นั้นนั่นแหละ.
บทว่า จตูสุ ภูมีสุ สีลานิ ความว่า ศีลทั้งหลายแจกเป็น 4
ฐานะ คือปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจย-
สันนิสสิตศีล. แต่เมื่อว่าโดยภูมิ ศีล 4 แม้นั้นนั่นแล นับเนื่องในภูมิ 2
นั่นแล. บทว่า ปริปูรย ได้แก่ จงให้บริบูรณ์ โดยไม่มีขาดเป็นท่อน เป็นช่อง
ด่างพร้อยเป็นต้น. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า จมรี วิย
ได้แก่ เหมือนเนื้อจามรี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็มีความง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้ ก็เห็นเนกขัมมบารมีเป็นอันดับสาม จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี บุรุษที่อยู่ใน
เรือนจำมานาน ย่อมไม่รักเรือนจำนั้น ที่แท้ก็เอือมระอา ไม่อยากอยู่ แม้
ฉันใด แม้ตัวท่านก็จงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ จงเอือมระอาอยากพ้น
ไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะอย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
เป็นดังนั้น ท่านก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้. แล้วอธิษฐานเนกขัมมบารมีอันดับ
สามไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี
อันดับสาม ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
จะบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่
เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า
จิรวุฏฺโฐ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ
คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราคํ ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด
ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้
ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ
พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช.
บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น
ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่
เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า