เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คูถคโต ได้แก่ ตกลงสู่บ่ออุจจาระ หรือ
ตกบ่อถูกอุจจาระเปื้อน. บทว่า กิเลสมลโธวํ ได้แก่ เป็นที่ชำระมลทิน
คือกิเลส. คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อมตนฺตเฬ
แปลว่า ของหนองน้ำกล่าวคืออมตะ. คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ พึงเห็นว่า ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ท่านกล่าวใส่นิคคหิตไว้. บทว่า อรีหิ ได้แก่ อันปัจจามิตร
ทั้งหลาย. บทว่า ปริรุทฺโธ ได้แก่ ล้อมโดยรอบ. บทว่า คมนมฺปเถ คือ
คมนปเถ คือ เมื่อทางไป. คำนี้ท่านกล่าวลงนิคคหิตอาคม เพื่อไม่ให้
เสียฉันทลักษณ์. บทว่า น ปลายติ ได้แก่ ผิว่าไม่พึงหนีไป. บทว่า โส
ปุรโส
ได้แก่ บุรุษที่ถูกพวกโจรรุมล้อมไว้นั้น. บทว่า อญฺชสฺส แปลว่า
ของทาง. จริงอยู่ทางมีชื่อเป็นอันมาก คือ
มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชลํ วฏุมายนํ
นาวา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.

แปลว่า ทาง ทั้งหมด แต่ในที่นี้ ทางนั้น ท่านกล่าวโดยใช้ชื่อว่า อัญชสะ.
บทว่า สิเว ได้แก่ ชื่อว่า สิวะเพราะไม่มีอุปัทวะทั้งปวง. บทว่า สิวมญฺชเส
ความว่า ของทางที่ปลอดภัย. บทว่า ติกิจฺฉเก ได้แก่ หมอ. บทว่า น ติกิจฺ
ฉาเปติ ได้แก่ ไม่ยอมให้เยียวยา. บทว่า น โทโส โส ติกิจฺฉเก ได้แก่
ไม่ใช่ความผิดของหมอ. อธิบายว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยฝ่ายเดียว. บทว่า
ทุกฺขิโต ได้แก่ มีทุกข์ทางกายทางใจที่เกิดเอง. บทว่า อาจริยํ ได้แก่
อาจารย์ผู้บอกทางหลุดพ้น. บทว่า วินายเก แปลว่า ของอาจารย์.
ก็เราครั้นคิดดังกล่าวมานี้แล้ว จึงคิดยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ชอบ
แต่งตัวสวย ๆ ทิ้งซากศพที่คล้องคอเสีย ก็พึงเป็นสุขไป แม้ฉันใด แม้เราก็

ทิ้งกายอันเน่านี้เสีย ไม่อาลัย พึงเข้าไปยังมหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง
บุรุษสตรีถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงที่พื้นดินอันเปื้อนอุจจาระปัสสาวะแล้ว ก็หาเอา
ใส่ชายพกหรือเอาชายผ้าห่ออุจจาระปัสสาวะนั้นพาไปไม่ ที่แท้ ก็พากันเกลียด
ไม่อยากแม้แต่จะดู ไม่อาลัยทิ้งไปเลย ฉันใด แม้เราก็ไม่อาลัยกายอันเน่านี้
ควรที่จะละทิ้งเข้าไปยังอมตนครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง ธรรมดานายเรือ
ทั้งหลาย ก็ละทิ้งเรือที่นำน้ำอันคร่ำคร่าไม่เยื่อใยไปเลย ฉันใด แม้เราก็ละทิ้ง
กาย ที่ของโสโครกไหลออกจากปากแผลทั้ง 9 แผลนี้ ไม่เยื่อใยจักเข้าไปยัง
มหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง บุรุษบางคน พกพารัตนะมากอย่างมี
แก้วมุกดาแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์เป็นต้น เดินทางไปกับหมู่โจร จำต้องละ
ทิ้งโจรเหล่านั้น เพราะกลัวสูญเสียรัตนะ เลือกถือเอาแต่ทางที่เกษมปลอดภัย
ฉันใด กายอันเน่าแม้นี้ก็เสมือนโจรปล้นรัตนะ ถ้าเราจักทำความอยากในกาย
นี้ รัตนะคืออริยมรรคและกุศลธรรมของเราก็จักสูญเสียไป เพราะฉะนั้นจึง
ควรที่เราจำต้องละทิ้งกรัชกายที่เสมือนมหาโจรนี้ แล้วเข้าไปยังมหานครคือ
นิพพาน ก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษเกลียดซากศพที่ผูกคออยู่ ปลดออกไปเสีย
ก็มีสุข มีเสรี มีอิสระ ฉันใด.
เราทิ้งกายอันเน่านี้ ที่สะสมซากศพต่างๆ ไว้ไป
เสีย ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษสตรีทิ้งอุจจาระไว้ในที่ถ่ายอุจจาระ ไปเสีย
ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉันใด.
เราทอดทิ้งกายนี้ ที่เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
เหมือนทิ้งส้วมไป ก็ฉันนั้น.

เจ้าของเรือ ทิ้งเรือลำเก่าชำรุด รั่วน้ำไป ไม่เยื่อใย
ไม่ต้องการ ฉันใด.
เราก็ทอดทิ้งกายนี้ ที่มี 9 ช่อง เป็นที่ไหลออก
ของสิ่งโสโครกอยู่เป็นนิตย์ไป เหมือนเจ้าของเรือสละ
ทิ้งเรือลำเก่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษพกพาของมีค่าไปกับพวกโจร แลเห็นภัย
จากการเสียหายของๆ มีค่า จึงละทิ้งโจรไป ฉันใด.
กายนี้ก็เปรียบเสมอด้วยมหาโจร เพราะกลัวการ
เสียหายแห่งกุศล เราจึงจำต้องละกายนี้ไป ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ กุณปํ ปุริโส ความว่า บุรุษ
วัยรุ่น ผู้รักสวยรักงาม อึดอัดระอา เกลียด ด้วยซากงู ซากสุนัข หรือซาก
มนุษย์ ที่ถูกผูกคอไว้ จึงปลดซากศพนั้นออกไปเสีย แม้ฉันใด. บทว่า สุขี
ได้แก่ ประสบสุข. บทว่า เสรี ได้แก่ อยู่ตามอำเภอใจ. บทว่า นานากุณปสญฺจยํ
ได้แก่ เป็นกองซากศพต่างๆ มากหลาย. ปาฐะว่า นานากุณปปูริตํ ดังนี้
ก็มี.
บทว่า อุจฺจารฏฺฐานมฺหิ ความว่า คนทั้งหลายย่อมอุจจาระ คือถ่าย
อุจจาระในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ถ่ายอุจจาระ.
ประเทศที่ถ่ายอุจจาระนั้นด้วย เป็นฐานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าฐานเป็นประเทศ
ถ่ายอุจจาระ อีกอย่างหนึ่ง ประเทศอันเขาถ่ายอุจจาระ เหตุนั้นจึงชื่อว่าประเทศ
ที่ถ่ายอุจจาระ คำนี้เป็นชื่อของอุจจาระ. ที่ของอุจจาระนั้น ชื่อว่าที่ของอุจจาระ