เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คูถคโต ได้แก่ ตกลงสู่บ่ออุจจาระ หรือ
ตกบ่อถูกอุจจาระเปื้อน. บทว่า กิเลสมลโธวํ ได้แก่ เป็นที่ชำระมลทิน
คือกิเลส. คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อมตนฺตเฬ
แปลว่า ของหนองน้ำกล่าวคืออมตะ. คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ พึงเห็นว่า ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ท่านกล่าวใส่นิคคหิตไว้. บทว่า อรีหิ ได้แก่ อันปัจจามิตร
ทั้งหลาย. บทว่า ปริรุทฺโธ ได้แก่ ล้อมโดยรอบ. บทว่า คมนมฺปเถ คือ
คมนปเถ คือ เมื่อทางไป. คำนี้ท่านกล่าวลงนิคคหิตอาคม เพื่อไม่ให้
เสียฉันทลักษณ์. บทว่า น ปลายติ ได้แก่ ผิว่าไม่พึงหนีไป. บทว่า โส
ปุรโส
ได้แก่ บุรุษที่ถูกพวกโจรรุมล้อมไว้นั้น. บทว่า อญฺชสฺส แปลว่า
ของทาง. จริงอยู่ทางมีชื่อเป็นอันมาก คือ
มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชลํ วฏุมายนํ
นาวา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.

แปลว่า ทาง ทั้งหมด แต่ในที่นี้ ทางนั้น ท่านกล่าวโดยใช้ชื่อว่า อัญชสะ.
บทว่า สิเว ได้แก่ ชื่อว่า สิวะเพราะไม่มีอุปัทวะทั้งปวง. บทว่า สิวมญฺชเส
ความว่า ของทางที่ปลอดภัย. บทว่า ติกิจฺฉเก ได้แก่ หมอ. บทว่า น ติกิจฺ
ฉาเปติ ได้แก่ ไม่ยอมให้เยียวยา. บทว่า น โทโส โส ติกิจฺฉเก ได้แก่
ไม่ใช่ความผิดของหมอ. อธิบายว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยฝ่ายเดียว. บทว่า
ทุกฺขิโต ได้แก่ มีทุกข์ทางกายทางใจที่เกิดเอง. บทว่า อาจริยํ ได้แก่
อาจารย์ผู้บอกทางหลุดพ้น. บทว่า วินายเก แปลว่า ของอาจารย์.
ก็เราครั้นคิดดังกล่าวมานี้แล้ว จึงคิดยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ชอบ
แต่งตัวสวย ๆ ทิ้งซากศพที่คล้องคอเสีย ก็พึงเป็นสุขไป แม้ฉันใด แม้เราก็