เมนู

เสียงพิณ เสียงขับ เสียงดนตรีไม้ เสียงเชิญบริโภคอาหารที่ครบ 10. นัก
ฟ้อนรำงานฉลอง งานมหรสพหาที่เปรียบมิได้ ก็เล่นกันได้ทุกเวลา. บทว่า
อนฺนปานสมายุตํ ได้แก่ ประกอบด้วยข้าวคืออาหาร 4 อย่างและน้ำดีชื่อว่า
อันนปานสมายุต. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงว่านครนั้นหาอาหารได้สะดวก. อธิบาย
ว่า พรั่งพร้อมแล้วด้วยข้าวและน้ำเป็นอันมาก.
บัดนี้ เพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น โดยวัตถุจึงตรัสว่า
อมรวดีนคร กึกก้องด้วยเสียงช้าง ม้า กลอง
สังข์ รถ เสียงเชิญบริโภคอาหารด้วยข้าวและน้ำ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถิสทฺทํ ได้แก่ ด้วยเสียงโกญจนาทของ
ช้างทั้งหลาย. คำนี้พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่
เหลือก็นัยนี้. บทว่า เภริสงฺขรถานิ จ ความว่า ด้วยเสียงกลอง เสียงสังข์
และเสียงรถ. ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อธิบายว่า อึกทึกกึกก้องด้วยเสียงที่
เป็นไปอย่างนี้ว่า กินกันจ้ะ ดื่มกันจ้ะ เป็นต้น ประกอบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ
ผู้ทักท้วงกล่าวในข้อนี้ว่า เสียงเหล่านั้น ท่านแสดงไว้แต่เอกเทศเท่านั้น ไม่
ได้แสดงไว้ทั้งหมด หรือ. ตอบว่า ไม่ใช่แสดงไว้แต่เอกเทศ แสดงไว้หมด
ทั้ง 10 เสียงเลย. อย่างไรเล่า. ท่านแสดงไว้ 10 เสียง คือ เสียงตะโพน
ท่านสงเคราะห์ด้วยเสียงกลอง เสียงพิณเสียงขับกล่อมและเสียงดนตรีไม้
สงเคราะห์ด้วยเสียงสังข์.
ครั้นทรงพรรณนาสมบัติของนครโดยปริยายหนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อ
แสดงสมบัตินั้นอีก จึงตรัสว่า

นครพรั่งพร้อมด้วยส่วนประกอบทุกอย่างมีการ
งานทุกอย่างจัดไว้อย่างดี สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประ-
การ กลาดเกลื่อนด้วยหมู่ชนต่างๆ เจริญมั่งคั่ง เป็น
ที่อยู่ของผู้ทำบุญ เหมือนเทพนคร.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพงฺคสมฺปนฺนํ ความว่า พรั่งพร้อม
ด้วยส่วนประกอบนครทุกอย่างมีปราการ ซุ้มประตู หอรบเป็นต้น หรือว่ามี
อุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ทรัพย์ ข้าวเปลือก หญ้าไม้และน้ำบริบูรณ์. บทว่า
สพฺพกมฺมมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง อธิบายว่ามีการงาน
ทุกอย่างพรักพร้อม. บทว่า สตฺตรตนสมฺปนฺนํ ได้แก่ มีรัตนะ 7 มีแก้ว
มุกดาเป็นต้นบริบูรณ์ หรือว่าสมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 มีหัตถิรัตนะ จากภูมิภาค
อันเป็นที่ประทับอยู่ขององค์จักรพรรดิ. บทว่า นานาชนสมากุลํ ได้แก่
กลาดเกลื่อนด้วยชนทั้งหลายที่มีถิ่นและภาษาต่างๆ กัน. บทว่า สมิทฺธํ ได้แก่
สำเร็จแล้ว เจริญแล้ว ด้วยเครื่องอุปโภคและเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างของมนุษย์.
บทว่า เทวนครํ ว ท่านอธิบายว่า อมรวดีนคร มั่งคั่งเจริญเหมือนนคร
ของเทพ เหมือนอาลกมันทาเทพธานี. บทว่า อาวาสํ ปุญฺญกมฺมินํ
ความว่า ชนทั้งหลายผู้มีบุญกรรม ย่อมอยู่ในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น
จึงชื่อว่าเป็นที่อยู่. พึงทราบว่าเมื่อควรจะกล่าวว่า อาวาโส แต่ก็ทำให้ต่าง
ลิงค์กล่าวว่า อาวาสํ. ซึ่งว่าบุญ เพราะเป็นเครื่องปรากฏอธิบายว่า ปรากฏ
โดยตระกูล รูป มหาโภคะและความเป็นใหญ่. หรือว่า ชื่อว่าบุญ เพราะชำระ.
อธิบายว่า บุญกรรมของชนเหล่าใดมีอยู่ เพราะลอยละอองมลทินของกุศลทั้ง
ปวง ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีบุญกรรม. นครนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีบุญกรรม
เหล่านั้น.

พราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ใน นครอมรวดี นั้น เขาเป็นอุภโต-
สุชาต เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดาเป็นผู้ถือเอาครรภ์บริสุทธิ์
มาตลอด 7 ชั่วสกุล ไม่มีผู้คัดค้านและรังเกียจด้วยเรื่องชาติ สะสวยน่าชมน่า
เลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เขาศึกษาจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณ-
ฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ ทั้งอักขระประเภท ครบ 5 ทั้งอิติหาสศาสตร์ ชำนาญ
บทกวี ชำนาญไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์
แต่มารดาบิดาได้ตายเสียครั้งเขายังเป็นเด็กรุ่น. สหายผู้จัดการกองทรัพย์ของเขา
นำบัญชีทรัพย์สินมาแล้วเปิดห้องหลายห้อง ที่เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ มีทองเงิน
แก้วมณี แก้วมุกดา เป็นต้น บอกถึงทรัพย์ว่า ข้าแต่นายหนุ่ม นี่ทรัพย์สินส่วน
ของมารดา นี่ทรัพย์สินส่วนของบิดา นี่ทรัพย์สินส่วนของปู่ทวด จนตลอด
7 ชั่วสกุล แล้วมอบให้ว่า ท่านจงดำเนินการทรัพย์นี้เถิด. เขารับคำว่า ดีละ
ท่าน แล้วทำบุญทั้งหลายอยู่ครองเรือน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในนครอมรวดี มีพราหมณ์ชื่อว่าสุเมธ สะสม
ทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก.
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ จบคัมภีร์ไตรเพท
ในลักษณศาสตร์และอิติหาสศาสตร์ ก็บรรลุถึงฝั่งใน
พราหมณ์ธรรมของตน.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคเร อมรวติยา ได้แก่ ในนครที่
เรียกกันว่าอมรวดี. ในบทว่า สุเมโธ นาม นี้ ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา.
เมธานั้นของพราหมณ์นั้นดี อันปราชญ์สรรเสริญแล้ว เหตุนั้น พราหมณ์นั้นเขา
จึงรู้กันว่า สุเมธ ผู้มีปัญญาดี. บทว่า พฺราหฺมโณ ความว่า ชื่อว่าพราหมณ์

เพราะศึกษาซึ่งมนต์ของพรหม อธิบายว่า ท่องมนต์. ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์
กล่าวว่าเหล่ากอของพรหม ชื่อว่า พราหมณ์. แต่ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
พระอริยะทั้งหลาย ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้. บทว่า อเนก-
โกฏสนฺนิจโย
ความว่า การสะสมแห่งทรัพย์หลายโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสันนิจยะ.
การสะสมทรัพย์มากโกฏิของผู้ใดมีอยู่ ผู้นี้นั้น ชื่ออเนกโกฏิสันนิจยะ
อธิบายว่าผู้สะสมทรัพย์มากหลายโกฏิ. บทว่า ปทูตธนธญฺญวา แปลว่า ผู้มี
ทรัพย์และข้าวเปลือกมาก. คำต้นพึงทราบว่าตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าวเปลือก
ที่อยู่ภาคพื้นดินและอยู่ในห้อง คำนี้ พึงทราบว่า ตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าว
เปลือกที่กินที่ใช้อยู่ประจำ.
บทว่า อชฺฌายโก ความว่า ผู้ใดไม่เพ่งฌาน เหตุนั้นผู้นั้น ชื่อว่า
อัชฌายกะผู้ไม่เพ่งฌาน อธิบายว่า ผู้เว้นจากการทำการเพ่งฌาน สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน วาเสฏฐะ บัดนี้พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง
บัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง ดังนั้นแลอักษรที่ 3 ว่า อชฺฌายโก อชฺฌายกา
ผู้ไม่เพ่ง ผู้ไม่เพ่งจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น คำครหาพราหมณ์พวกที่เว้นจาก
การเพ่งฌานจึงเกิดขึ้นครั้งมนุษย์ต้นกัปด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ชนใดเพ่งมนต์
เหตุนั้น ชนนั้นจึงชื่อว่าผู้เพ่งมนต์ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ทำการสรรเสริญ
กล่าวด้วยความนี้ว่าร่ายมนต์, ผู้ใดทรงจำมนต์ เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่าผู้ทรงจำมนต์
บทว่า ติณฺณํ เวทานํ ได้แก่คัมภีร์เวท 3 [ไตรเพท] คืออิรุเวท ยชุเวท
และสามเวท. ก็ เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ โสมนัส และ คันถะ.
จริงอย่างนั้น เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ ได้ในประโยคเป็นต้น
ว่า ยํ พฺราหฺมณํ เวทคุํ อภิชญฺญา อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ เราเห็นผู้ใด
เป็นพราหมณ์ บรรลุ ญาณ มีความรู้ยิ่ง ไม่กังวลไม่ขัดข้องในกามภพ.

ใช้ในอรรถว่า โสมนัส ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย เวทชาตา
วิจรนฺติ โลเก
ชนเหล่าใดเกิดโสมนัส เที่ยวไปในโลก.
ใช้ในอรรถว่า คันถะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ติณฺณํ เวทานํ ปารคู
สนิฆณฺฑุเกฏุภานํ
ผู้จบคัมภีร์ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ-
ศาสตร์. แม้ในที่นี้ก็ใช้ในอรรถว่า คันถะ คัมภีร์. บทว่า ปารคู ได้แก่ ชื่อว่า-
ปารคูเพราะถึงฝั่งแห่งคัมภีร์ไตรเพท ด้วยเพียงทำให้คล่องปาก. บทว่า ลกฺข-
เณ
ได้แก่ ในลักษณศาสตร์ มีลักษณะสตรีลักษณะบุรุษและมหาปุริสลักษณะ.
บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในคัมภีร์พิเศษ กล่าวคือโบราณคดี อันประกอบ
ด้วยคำเช่นนี้ว่าเล่ากันว่าดังนี้ เล่ากันว่าดังนี้. บทว่า สธมฺเม ได้แก่ ในธรรม
ของตนหรือในอาจารย์ของตัวพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ปารมึ คโต แปลว่า
ถึงฝั่ง อธิบายว่า ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.
ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ 10
ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า
การถือปฏิสนธิในภพหมู่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว
เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา
เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ
มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็
ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์.
ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเรา
จักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.

ถ้ากระไร เราผู้ไม่เยื่อใย ไม่ต้องการ จะพึงละ
กายอันเน่านี้ ซึ่งเต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปเสีย.
มรรคใดมีอยู่ จักมี มรรคนั้นไม่เป็นเหตุหามิได้
จำเราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพ.

แก้อรรถ
ก็ในคาถานั้น จำเราจักกล่าวเชื่อมความแห่งคาถา และความของบท
ที่ยากต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคโต แปลว่า ไปแล้วในที่ลับนั่ง
ในที่ลับ. บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตัดบทเป็น เอวํ จินฺเตสึ อหํ แปลว่า
เราคิดแล้วอย่างนี้ ทรงแสดงอาการคือคิดด้วย บทว่า เอวํ นี้. บทว่า ตทา
ได้แก่ ครั้งเป็นสุเมธบัณฑิตเป็นคนเดียวกันกับพระองค์ ด้วยบทว่า เอวํ
จินฺเตสหํ นี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า ครั้งนั้น
สุเมธบัณฑิตนั้น ก็คือเรานี่แล จึงตรัสโดยอุตตมบุรุษว่า เอวํ จินฺเตสหํ
ตทา.
บทว่า ชาติธมฺโม แปลว่า มีชาติเป็นสภาพ. แม้ในบทที่เหลือก็นัย
นี้. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ พระนิพพาน.
ศัพท์ว่า ยนฺนูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปริวิตก ความว่า ก็ผิว่า
เรา. บทว่า ปูติกายํ แปลว่า กายอันเน่า. บทว่า นานากุณปปูริตํ ได้แก่
เต็มไปด้วยซากศพเป็นอันมาก มีปัสสาวะ อุจจาระ หนอง เลือด เสมหะ น้ำลาย
น้ำมูก เป็นต้น. บทว่า อนเปกฺโข ได้แก่ ไม่อาลัย. บทว่า อตฺถิ ได้แก่
อันเขาย่อมได้แน่แท้. บทว่า เหหิติ แปลว่า จักมี คำนี้เป็นคำแสดงความ
ปริวิตก. บทว่า น โส สกฺกา น เหตุเย ความว่า ไม่อาจจะมีได้ด้วย
มรรคนั้นหามีได้ ก็มรรคนั้นเป็นเหตุนั่นเอง. บทว่า ภวโต ปริมุตฺติยา
ได้แก่ เพื่อหลุดพ้นจากเครื่องผูกคือภพ.

บัดนี้ เพื่อทรงทำความที่พระองค์ทรงปริวิตกให้สำเร็จผล จึงตรัสว่า
ยถาปิ เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาสุขอัน เป็นข้าศึกของทุกข์มีอยู่ ฉัน
ใด เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดอันเป็นข้าศึกของความเกิดนั้นก็พึงมีฉันนั้น
อนึ่ง เมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นอันระงับความร้อนนั้น ก็มีอยู่ฉันใด
นิพพานอันเครื่องระงับไฟคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น อนึ่งแม้
ธรรมอันไม่มีโทษเป็นความดี ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นความชั่วลามก ก็
มีอยู่ฉันใด เมื่อความเกิดอันเป็นฝ่ายชั่วมีอยู่ แม้นิพพานที่นับได้ว่าความไม่เกิด
เพราะห้ามความเกิดได้ ก็พึงมีฉันนั้นเหมือนกันแล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้ธรรมดาสุขก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ภพมีอยู่ แม่ภาวะที่มิใช่ภพ บุคคลก็พึงปรารถนา
ฉันนั้น.

เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นตรงกันข้ามก็มีอยู่
ฉันใด เมื่อไฟ 3 กองมีอยู่ นิพพานเครื่องดับไฟ
บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.

เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ชาติมีอยู่ แม้ที่มิใช่ชาติ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.


แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า ยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถข้ออุปมา. บทว่า
สุขํ ได้แก่ สุขทางกายและทางใจ. ที่ชื่อว่าสุข เพราะขุดทุกข์ด้วยดี. บทว่า
ภเว แปลว่า เมื่อความเกิด. บทว่า วิภโว แปลว่า ความไม่เกิด. เมื่อความ
เกิดมีอยู่ แม้ธรรมคือความไม่เกิด บุคคลก็พึงปรารถนา. บทว่า ติวิธคฺคิ

วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อไฟ 3 กอง มีราคะเป็นต้นมีอยู่. บทว่า นิพฺพานํ
ความว่า ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องดับเครื่องระงับไฟมีราคะ เป็นต้นทั้ง 3
กองนั้น บุคคลควรปรารถนา. บทว่า ปาปเก ได้แก่ เมื่ออกุศลเลวทราม.
บทว่า กลฺยาณมฺปิ ได้แก่ แม้กุศล. บทว่า เอวเมว ได้แก่ เอวเมวํ อย่าง
นี้ก็ฉันนั้น. บทว่า ชาติ วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อความเกิดมีอยู่. ท่าน
กล่าวให้ต่างลิงค์และลบวิภัตติ. บทว่า อชาติปิ ความว่า แม้นิพพานคือ
ความไม่เกิด เป็นเครื่องห้ามกันความเกิด บุคคลก็พึงปรารถนา.
ครั้งนั้น เราก็คิดถึงแม้ประการอื่นว่า บุรุษผู้จมลงในกองอุจจาระ แล
เห็นหนองน้ำที่มีน้ำใสประดับด้วยบัวหลวง บัวสาย และบัวขาว ก็ควรแสวงหา
หนองน้ำ ด้วยความคำนึงว่า ควรจะไปที่หนองน้ำนั้น โดยทางไหนหนอ.
การไม่แสวงหาหนองน้ำนั้น ไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำนั้น เป็นความผิดของ
บุรุษผู้นั้นผู้เดียว ฉันใด เมื่อหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรมซึ่งเป็นเครื่องชำระ
มลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาหนองน้ำใหญ่คืออมตธรรมนั้น นั่นไม่ใช่
ความผิดของหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรม เป็นความผิดของบุรุษผู้เดียว ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน. อนึ่งบุรุษถูกพวกโจรล้อมไว้ เมื่อทางหนีแม้มีอยู่ ถ้าบุรุษนั้น
ไม่หนีไปเสีย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทางนั้น เป็นความผิดของบุรุษผู้นั้นผู้
เดียว ฉันใด บุรุษที่ถูกพวกโจรคือกิเลสล้อมจับไว้ เมื่อทางใหญ่อันรุ่งเรือง
อันจะไปยังมหานครคือพระนิพพาน แม้มีอยู่ ก็ไม่แสวงหาทางนั้น ก็ไม่ใช่
ความผิดของทาง เป็นความผิดของบุรุษแต่ผู้เดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษ
ถูกความเจ็บป่วยบีบคั้น เมื่อหมอที่จะเยียวยาความเจ็บป่วยมีอยู่ ถ้าไม่แสวงหา
หมอนั้น ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บป่วย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของ
หมอ เป็นความผิดของบุรุษนั้นแต่ผู้เดียว ฉันใด ก็ผู้ใดถูกความเจ็บป่วยคือ

กิเลสบีบคั้นหนัก ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ก็เป็น
ความผิดของผู้นั้นผู้เดียว ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้ขจัดความเจ็บป่วยคือกิเลส
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำมีน้ำเต็ม ก็ไม่
ไปหาหนองน้ำนั้น นั่นไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำ
ฉันใด.
เมื่อหนองน้ำคืออมตะ เป็นเครื่องชำระมลทินคือ
กิเลสมีอยู่ บุคคลไปไม่หาหนองน้ำนั้น ก็ไม่ใช่ความ
ผิดของหนองน้ำคืออมตะ ก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกข้าศึกรุมล้อมไว้ เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษ
ผู้นั้นก็ไม่หนีไป นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.
บุคคลถูกกิเลสรุมล้อมไว้ เมื่อทางอันรุ่งเรืองมี
อยู่ ก็ไม่ไปหาทางนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง
อันรุ่งเรือง ก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนแล้ว เมื่อหมอที่
จะเยียวยามีอยู่ ก็ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บ
ป่วยนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอ แม้ฉันใด.
บุคคลถูกความเจ็บป่วยคือกิเลส บีบคั้นเป็นทุกข์
ก็ไม่ไปหาอาจารย์นั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์
ฉันนั้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คูถคโต ได้แก่ ตกลงสู่บ่ออุจจาระ หรือ
ตกบ่อถูกอุจจาระเปื้อน. บทว่า กิเลสมลโธวํ ได้แก่ เป็นที่ชำระมลทิน
คือกิเลส. คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อมตนฺตเฬ
แปลว่า ของหนองน้ำกล่าวคืออมตะ. คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ พึงเห็นว่า ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ท่านกล่าวใส่นิคคหิตไว้. บทว่า อรีหิ ได้แก่ อันปัจจามิตร
ทั้งหลาย. บทว่า ปริรุทฺโธ ได้แก่ ล้อมโดยรอบ. บทว่า คมนมฺปเถ คือ
คมนปเถ คือ เมื่อทางไป. คำนี้ท่านกล่าวลงนิคคหิตอาคม เพื่อไม่ให้
เสียฉันทลักษณ์. บทว่า น ปลายติ ได้แก่ ผิว่าไม่พึงหนีไป. บทว่า โส
ปุรโส
ได้แก่ บุรุษที่ถูกพวกโจรรุมล้อมไว้นั้น. บทว่า อญฺชสฺส แปลว่า
ของทาง. จริงอยู่ทางมีชื่อเป็นอันมาก คือ
มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชลํ วฏุมายนํ
นาวา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.

แปลว่า ทาง ทั้งหมด แต่ในที่นี้ ทางนั้น ท่านกล่าวโดยใช้ชื่อว่า อัญชสะ.
บทว่า สิเว ได้แก่ ชื่อว่า สิวะเพราะไม่มีอุปัทวะทั้งปวง. บทว่า สิวมญฺชเส
ความว่า ของทางที่ปลอดภัย. บทว่า ติกิจฺฉเก ได้แก่ หมอ. บทว่า น ติกิจฺ
ฉาเปติ ได้แก่ ไม่ยอมให้เยียวยา. บทว่า น โทโส โส ติกิจฺฉเก ได้แก่
ไม่ใช่ความผิดของหมอ. อธิบายว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยฝ่ายเดียว. บทว่า
ทุกฺขิโต ได้แก่ มีทุกข์ทางกายทางใจที่เกิดเอง. บทว่า อาจริยํ ได้แก่
อาจารย์ผู้บอกทางหลุดพ้น. บทว่า วินายเก แปลว่า ของอาจารย์.
ก็เราครั้นคิดดังกล่าวมานี้แล้ว จึงคิดยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ชอบ
แต่งตัวสวย ๆ ทิ้งซากศพที่คล้องคอเสีย ก็พึงเป็นสุขไป แม้ฉันใด แม้เราก็