เมนู

เสียงพิณ เสียงขับ เสียงดนตรีไม้ เสียงเชิญบริโภคอาหารที่ครบ 10. นัก
ฟ้อนรำงานฉลอง งานมหรสพหาที่เปรียบมิได้ ก็เล่นกันได้ทุกเวลา. บทว่า
อนฺนปานสมายุตํ ได้แก่ ประกอบด้วยข้าวคืออาหาร 4 อย่างและน้ำดีชื่อว่า
อันนปานสมายุต. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงว่านครนั้นหาอาหารได้สะดวก. อธิบาย
ว่า พรั่งพร้อมแล้วด้วยข้าวและน้ำเป็นอันมาก.
บัดนี้ เพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น โดยวัตถุจึงตรัสว่า
อมรวดีนคร กึกก้องด้วยเสียงช้าง ม้า กลอง
สังข์ รถ เสียงเชิญบริโภคอาหารด้วยข้าวและน้ำ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถิสทฺทํ ได้แก่ ด้วยเสียงโกญจนาทของ
ช้างทั้งหลาย. คำนี้พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่
เหลือก็นัยนี้. บทว่า เภริสงฺขรถานิ จ ความว่า ด้วยเสียงกลอง เสียงสังข์
และเสียงรถ. ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อธิบายว่า อึกทึกกึกก้องด้วยเสียงที่
เป็นไปอย่างนี้ว่า กินกันจ้ะ ดื่มกันจ้ะ เป็นต้น ประกอบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ
ผู้ทักท้วงกล่าวในข้อนี้ว่า เสียงเหล่านั้น ท่านแสดงไว้แต่เอกเทศเท่านั้น ไม่
ได้แสดงไว้ทั้งหมด หรือ. ตอบว่า ไม่ใช่แสดงไว้แต่เอกเทศ แสดงไว้หมด
ทั้ง 10 เสียงเลย. อย่างไรเล่า. ท่านแสดงไว้ 10 เสียง คือ เสียงตะโพน
ท่านสงเคราะห์ด้วยเสียงกลอง เสียงพิณเสียงขับกล่อมและเสียงดนตรีไม้
สงเคราะห์ด้วยเสียงสังข์.
ครั้นทรงพรรณนาสมบัติของนครโดยปริยายหนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อ
แสดงสมบัตินั้นอีก จึงตรัสว่า