เมนู

พรรณนา



เรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ



บัดนี้ ถึงโอกาสพรรณนาพุทธวงศ์ ที่ดำเนินไปโดยนัยเป็นต้นว่า
ในที่สุดสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อว่าอมรวดี
งามน่าดู น่ารื่นรมย์.

ก็การพรรณนาพุทธวงศ์นี้นั้น เพราะเหตุที่จำต้องกล่าววิจารถึงเหตุ
ตั้งสูตรแล้วจึงจะปรากฏชัด ฉะนั้น จึงควรทราบการวิจารเหตุตั้งสูตรก่อน.
เหตุตั้งสูตรมี 4 คือ เนื่องด้วยอัธยาศัยของพระองค์ 1 เนื่องด้วยอัธยาศัยของ
ผู้อื่น 1 เนื่องด้วยมีการทูลถาม 1 เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น 1.
ในเหตุตั้งสูตรทั้ง 4 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้เชื้อเชิญ
ตรัสพระสูตรเหล่าใด โดยอัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว คือ อากังเขยยสูตร
วัตถุสูตร อย่างนี้เป็นต้น เหตุตั้งพระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัย
ของพระองค์.

อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัย
ขันติ ใจ และความเป็นผู้จะตรัสรู้ของชนเหล่าอื่น อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย
ที่ช่วยบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรพึงแนะนำราหุลยิ่งขึ้นไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้
อื่นคือ ราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปวัตตนสูตรอย่างนี้เป็นอาทิ เหตุตั้งพระสูตร
เหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น.

เทวดาและมนุษย์นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามปัญหา.
ก็พระสูตรเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเทวดาและมนุษย์ทูลถามแล้วตรัส
อย่างนี้ มีเทวดาสังยุตและโพชฌงคสังยุตเป็นต้น. เหตุตั้งสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า
เนื่องด้วยมีการทูลถาม.
อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาศัย
เหตุที่เกิดขึ้น มีธัมมทายาทสูตรและปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น เหตุตั้งสูตรเหล่า
นั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น. บรรดาเหตุดังพระสูตรทั้ง 4 อย่างนี้
เหตุตั้งพุทธวงศ์นี้เป็นเหตุที่เนื่องด้วยมีการทูลถาม. จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้พระผู้มี
พระภาคเจ้ายกตั้งไว้ ก็โดยการถามของใคร. ของท่านพระสารีบุตรเถระ. สม
จริงดังที่ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในนิทานนั้นว่า
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและญาณ ผู้บรรลุสาวกบารมีด้วยปัญญา ทูลถาม
พระผู้นำโลกว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดแห่งนรชน
อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร

ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พุทธวงศ์เทศนานี้ พึงทราบว่า เนื่อง
ด้วยมีการทูลถาม.

ในคำว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส นี้ ในคาถานั้น กัป ศัพท์นี้ ใช้ใน
อรรถทั้งหลายมีความเชื่อมั่น โวหาร กาล บัญญัติ ตัดแต่ง กำหนด เลศ
โดยรอบ อายุกัปและมหากัปเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น

กัป ศัพท์

ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น ได้ในประโยคทั้งหลาย
เป็นต้นว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถา ตํ อรหโต สมฺมา-
สมฺพุทฺธสฺส
ข้อนี้พึงเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดมเหมือนอย่างพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า.