เมนู

บทว่า โพธิ ได้แก่ สัมมาสัมโพธิ คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัตมรรคญาณ และ
พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อุตฺตมา ได้แก่ ท่านกล่าวว่าสูงสุด เพราะ
ประเสริฐกว่าสาวกโพธิและปัจเจกโพธิ. อักษรทำบทสนธิระหว่างศัพท์
ทั้งสอง
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทูลถามถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึง
กล่าวว่า
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ เป็นเช่นไร
ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี 10 เป็น
เช่นไร อุปบารมี เป็นเช่นไร ปรมัตถบารมี เป็น
เช่นไร.


แก้อรรถ


บรรดาบารมีเหล่านั้น จะกล่าวทานบารมีก่อน การบริจาคสิ่งของ
ภายนอก ชื่อว่า บารมี. การบริจาคอวัยวะชื่อว่า อุปบารมี. การบริจาคชีวิต
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี. แม้ในบารมีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บารมี 10


อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 รวมเป็นบารมี 30 ทัศ ด้วยประการฉะนี้.
ในบารมี 30 ทัศนั้น อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีก็นับไม่
ถ้วน ในสสบัณฑิตชาดก ทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละ
ชีวิตเป็นปรหิตประโยชน์อย่างนี้ว่า
ภิกฺขาย อุปคตํ ทิสฺวา สกตฺตานํ ปริจฺจชึ
ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี.

เราเห็นภิกษุเข้าไปหาอาหาร ก็เสียสละตัวเอง
ผู้เสมอเราด้วยทานไม่มี นี่เป็น ทานบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี
โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญศีลบารมีก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน
ในสังขปาลชาดก ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละตัวอย่างนี้ว่า
สูเลหิ วินิวิชฺฌนฺเต โกฏฺฏยนฺเตปิ สตฺติภิ
โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ เอสา เม สีลปารมี.
ถึงบุตรนายบ้าน แทงด้วยหลาว ตอกด้วยหอก
เราก็ไม่โกรธ นี่เป็น ศีลบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียวเหมือนกัน.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงสละราชสมบัติใหญ่บำเพ็ญเนกขัมม-
บารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน ในจุลสุตโสมชาดก เนกขัมมบารมีของพระ
โพธิสัตว์นั้น ผู้สละราชสมบัติ เพราะไม่มีความประสงค์แล้ว ออกทรงผนวช
อย่างนี้ว่า
มหารชฺชํ หตฺถคตํ เขฬปิณฺฑํว ฉฑฺฑยึ
จชโต น โหติ ลคฺคนํ เอสา เม เนกฺขมฺมปารมี.
เราสละราชสมบัติใหญ่ ที่อยู่ในเงื้อมมือเหมือน
ก้อนเขฬะ เราผู้สละโดยไม่ติดข้องเลย นี่เป็นเนกขัมม-
บารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ในครั้งเป็น
มโหสธบัณฑิตเป็นต้นก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน. ครั้งเป็นสัตตุภัตตกบัณฑิต
ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงงูที่อยู่ในถุงหนังว่า

ปญฺญาย วิจินนฺโตหํ พฺราหฺมณํ โมจยี ทุกฺขา
ปญฺญาย เม สโม นฺตฺถิ เอสา เม ปญฺญาปารมี.
เราเมื่อพิจารณาเฟ้นด้วยปัญญา ก็เปลื้องทุกข์
ของพราหมณ์ได้ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาไม่มี นี่เป็น
ปัญญาบารมี
ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือน
กัน. ในมหาชนกชาดก วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ข้ามมหาสมุทร
อย่างนี้ว่า
อตีรทสฺสี ชลมชฺเฌ หตา สพฺเพว มานุสา
จิตฺตสฺส อญฺญถา นตฺถิ เอสา เม วิริยปารมี.
ท่ามกลางทะเลลึกล้ำ มนุษย์ทั้งหมดถูกภัยกำจัด
แล้ว จิตก็ไม่เปลี่ยนไป นี่เป็น วิริยบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว
ในขันติวาทีชาดกก็เหมือนกัน ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้อด
กลั้นทุกข์ใหญ่ ประหนึ่งไม่มีจิตใจ อย่างนี้ว่า
อเจตนํว โกฏฺเฏนฺเต ติณฺเหน ผรสฺนา มมํ
กาสิราเช น กุปฺปามิ เอสา เม ขนฺติปารมี.
พระเจ้ากาสี จะทรงใช้ขวานคมกริบ ฟาดฟัน
เราผู้ประหนึ่งไม่มีจิตใจ เราก็ไม่โกรธ นี่เป็นขันติบารมี
ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในมหาสุตโสมชาดกก็เหมือนกัน. สัจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้
สละชีวิตรักษาสัจ อย่างนี้ว่า
สจฺจวาจํนุรกฺขนฺโต จชิตฺวา มม ชีวิตํ
โมเจสึ เอกสตํ ขตฺติเย เอสา เม สจฺจปารมี.
เราเมื่อตามรักษาสัจวาจา ก็ยอมสละชีวิตของ
เราเปลื้องทุกข์กษัตริย์ได้ 101 พระองค์ นี่เป็นสัจบารมี
ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.
ในมูคปักขชาดกก็เหมือนกัน อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้
ยอมสละชีวิตอธิษฐานวัตร อย่างนี้ว่า
มาตา ปิตา น เม เทสฺสา อตฺตา เม น จ เทสฺสิโย
สพฺพญฺญุตํ ปิยํ มยฺหํ ตสฺมา วตํ อธิฏฺฐหึ.
มารดาบิดาไม่เป็นที่เกลียดชังของเรา ตัวก็ไม่
เป็นที่เกลียดชังของเรา พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รัก
ของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.
ในสุวรรณสามชาดก ก็เหมือนกัน เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์
ผู้ไม่อาลัยแม้แต่ชีวิต ประพฤติเมตตา อย่างนี้ว่า
น มํ โกจิ อุตฺตสติ นปิ ภายามิ กสฺสจิ
เมตฺตาพเลนุปตฺถทฺโธ รมามิ ปวเน ตทา.
ใคร ๆ ทำเราให้หวาดสะดุ้งไม่ได้ แม้เราก็ไม่
กลัวต่อใครๆ เราอันกำลังเมตตาอุดหนุนแล้วจึงยินดี
อยู่ในป่าใหญ่ ในครั้งนั้น.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในโลมหังสชาดกก็เหมือนกัน อุเบกขาปารมีของพระโพธิสัตว์
เมื่อเด็กชาวบ้านทั้งหลาย ก่อให้เกิดควานสุขและความทุกข์ด้วยการถ่มน้ำลายรด
เป็นต้นและด้วยการตีด้วยพวงมาลัยและของหอมเป็นอาทิ ก็ไม่ละเมิดอุเบกขา
อย่างนี้ว่า
สุสาเน เสยฺยํ กปฺเปมิ ฉวฏฺฐิกํ อุปนิธายหํ
คามณฺฑลา อุปคนฺตฺวา รูปํ ทสฺเสนฺตินปฺปกํ.
เราจะวางซากกระดูกไว้แล้วนอนในป่าช้า พวก
เด็กชาวบ้าน เข้าไปลานบ้าน แสดงรูปหลอกมิใช่
น้อย.

ชื่อว่าปรมัตถบารมี. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้ ส่วนความพิศดาร พึงถือเอา
จากคัมภีร์จริยาปิฎก.
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงคำพยากรณ์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระเถระทูลถามแล้ว จึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันท่านพระธรรมเสนาบดี
สารีบุตรทูลถามแล้ว ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดั่งนก
การเวกทรงยังดวงใจให้ดับร้อน ปลอบประโลมโลก
ทั้งเทวโลก ทรงพยากรณ์แล้ว.
ทรงประกาศพระธรรมเทศนา คือ จริตของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว อันพระพุทธเจ้าทรงนำ
สืบๆ กันมา คือพุทธวงศ์อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
โลก ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ด้วยความรู้อันติดตาม
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในปางก่อน คือปุพเพนิวาสานุส-
สติญาณ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ปุฏฺโฐ วิยากาสิ ความว่า ทรง
เป็นผู้อันพระธรรมเสนาบดีนั้นทูลถามแล้วทรงพยากรณ์แก่ท่าน คือตรัสพุทธ-
วงศ์ทั้งหมดตั้งต้นแต่อภินีหารของพระองค์ มีการตรัสรู้เป็นที่สุด. บทว่า
กรวีกมธุรคิโร ความว่า เสียงของผู้ใดไพเราะเหมือนเสียงของนกการเวก
ผู้นั้น ชื่อว่า มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก อธิบายว่า มีเสียงเสนาะ
เพราะพริ้งเหมือนนกการเวก. ในข้อนี้ขอกล่าวดังนี้ นกการะเวกทั้งหลาย
มีเสียงไพเราะ. เล่ากันว่านกการเวกทั้งหลาย เอาจะงอยปากจิกผลมะม่วง
สุก อันมีรสหวาน ดื่มน้ำผลมะม่วงที่ไหลออกมาก็เริ่มใช้ปีกให้จังหวะร้อง
เพลงระเริงเล่น เหมือนสัตว์สี่เท้ามัวเมาในเสียงเพลง. ฝูงสัตว์สี่เท้าแม้
ง่วนอยู่ด้วยการกินอาหาร ก็ทิ้งหญ้าคาปากเสียแล้วพากันฟังเสียงกังวาลนั้น.
สัตว์ร้ายทั้งหลายกำลังไล่ติดตามเนื้อทรายเล็กๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้น หยุดยืน.
เหมือนตุ๊กตา แม้ฝูงเนื้อที่ถูกไล่ติดตาม ก็เลิกกลัวตาย หยุดยืน แม้ฝูงนกที่
ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก็เหยียดปีก ร่อนชลออยู่ แม้ฝูงปลาในน้ำ ก็ไม่กระดิก-
แผ่นหู หยุดฟังเสียงนั้น นกการเวกมีเสียงไพเราะอย่างนี้. บทว่า นิพฺพา-
ปยนฺโต หทยํ
ความว่า ยังใจของชนทุกคนผู้เร่าร้อนด้วยไฟกิเลส ให้เกิด
ความเยือกเย็นด้วยธรรมกถาดังอมฤตธารา. บทว่า หาสยนฺโต ได้แก่ ให้
ยินดี. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกพร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า อตีตพุทฺธานํ แปลว่า ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว.
ก่อนหน้าอภินีหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ในกัปหนึ่งบังเกิดพระ-
พุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าตัณหังกร พระพุทธเจ้าเมธังกร
พระพุทธเจ้าสรณังกร พระพุทธเจ้าทีปังกร. ต่อมาภายหลังพระพุทธเจ้า 4

พระองค์นั้น ก็มีพระพุทธเจ้า 23 พระองค์ มีพระโกณฑัญญะเป็นต้น
ดังนั้น พระพุทธเจ้า 24 พระองค์ มีพระพุทธเข้าพระนามว่าทีปังกร
เป็นต้น ทุกพระองค์ ท่านประสงค์เอาว่า อดีตพระพุทธเจ้า ในที่นี้.
ของอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า ชินานํ เป็นไวพจน์ของบทว่า อตีต-
พุทฺธานํ
นั้นนั่นแล. บทว่า เทสิตํ ได้แก่ คำตรัส คือธรรมกถาที่ประกอบ
ด้วยสัจจะ 4 ของพระพุทธเจ้า 24 พระองค์. บทว่า นีกีลิตํ ได้แก่ จริต
ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ข้อที่กำหนดด้วยกัป ชาติ โคตร อายุ โพธิ สาวกสัน-
นิบาต อุปัฏฐาก มาตา บิดา บุตร ภรรยา เป็นต้น ชื่อว่า นิกีลิตะ. บทว่า
พุทฺธปรมฺปราคตํ ความว่า เทศนา หรือ จริต ที่ตั้งต้นแต่พระทศพล
พระนามว่าทีปังกร สืบลำดับมาจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า. บทว่า ปุพฺเพ
นิวาสานุคตาย พุทฺธิยา
ความว่า ความรู้ที่ไปตามเข้าถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ปาง
ก่อน กล่าวคือ ขันธสันดานที่อาศัยอยู่ปางก่อน อันจำแนกอย่างนี้ว่า ชาติหนึ่ง
บ้างสองชาติบ้างเป็นต้น. ด้วยความรู้ที่ไปตามขันธ์ที่อาศัยอยู่ปางก่อน คือด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. บทว่า ปกาสยิ ได้แก่ ทรงพยากรณ์. บทว่า
โลกหิตํ ได้แก่ พุทธวงศ์ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก. บทว่า สเทวเก
ได้แก่ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้
ในการฟัง ด้วยพระหฤทัยอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณา จึงตรัสว่า ปีติปาโมชฺ-
ชนนํ
ได้แก่ อันทำปีติและปราโมช คือปราโมชอันเป็นส่วนเบื้องต้นของปีติ
อธิบายว่า ยังปีติ 5 อย่างให้เกิด. บทว่า โสกสลฺลวิโนทนํ ได้แก่ บรรเทา
กำจัดลูกศรทั้งหลาย ที่เรียกว่า โสกะ. บทว่า สพฺพสมฺปตฺติปฏิลาภํ
ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมได้สมบัติแม้ทุกอย่างมีเทวสมบัติและมนุษย์สมบัติ
เป็นต้น ด้วยพุทธวงศ์นั้น เหตุนั้น พุทธวงศ์นั้น ชื่อว่าเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุก

อย่าง อธิบายว่า พุทธวังสเทสนา เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างนั้น. บทว่า
จิตฺตีกตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในจิต อธิบายว่าทำพุทธานุสสติไว้เบื้องหน้า. บทว่า
สุณาถ ได้แก่จงตั้งใจ จงตื่น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.
บทว่า นทนิมฺมทนํ ได้แก่ ทำการบรรเทาความเมาทุกอย่างมีเมาใน
ชาติเป็นต้น. บทว่า โสกนุทํ ความว่า ความเร่าร้อนแห่งจิตของผู้ถูกความ
พินาศแห่งญาติเป็นต้นกระทบแล้ว ชื่อว่า โสกะ โดยอรรถ ก็เป็นโทมนัส
นั่นเองก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกมีการเผาภายในเป็นลักษณะ มี
ความแห้งผากแห่งใจเป็นรส มีความเศร้าสร้อยเป็นเครื่องปรากฏ. พุทธวงศ์
ย่อมบรรเทาความโศกนั้น เหตุนั้นพุทธวงศ์จึงชื่อว่าบรรเทาความโศก. ซึ่ง
พุทธวงศ์อันบรรเทาความโศกนั้น. บทว่า สํสารปริโมจนํ ได้แก่ ทำการ
ปลดเปลื้องจากเครื่องผูกมัดสังสาร. ปาฐะว่า สํสารสมติกฺกมํ ดังนี้ก็มี ความ
ของปาฐะนั้นว่า ทำการก้าวล่วงสงสาร.
ทุกข ศัพท์ในคำว่า สพฺพทุกฺขกฺขยํ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีทุกข-
เวทนา ทุกขวัตถุ ทุกขารมณ์ ทุกขปัจจัย ทุกขฐาน เป็นต้น. จริงอยู่ ทุกข-
ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺขสฺส จ
ปหานา
เพราะละทุกขเวทนา. ใช้ในอรรถว่า ทุกขวัตถุ [ที่ตั้งแห่งทุกข์] ได้
ในประโยคเป็นต้นว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา แม้ชาติก็เป็นที่ตั้ง
ทุกข์ แม้ชราก็เป็นที่ตั้งทุกข์. ใช้ในอรรถว่าทุกขารมณ์ ได้ในประโยคเป็นต้น
ว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ ทุกฺขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาวกฺกนฺตํ ดู
ก่อนมหาลิ เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ตกไปตามทุกข์ ก้าวลงใน
ทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจัย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺโข
ปาปสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบาป เป็นทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขฐาน

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรา อกฺขาเนน
ปาปุณิตุํ ยาว ทุกฺขา นิรยา
1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้
โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์มิใช่ทำได้โดยง่าย.
แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถ ทุกขวัตถุ ก็มี ในอรรถว่า
ทุกขปัจจัย ก็มี. เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า อันกระทำความสิ้นทุกข์ทั้งปวง
มีชาติเป็นต้น. จะวินิจฉัยในคำว่า มคฺคํ นี้ ดังนี้. พุทธวงศ์เทศนา
เรียกว่า มรรค เพราะผู้ต้องการกุศลแสวงหากันหรือฆ่ากิเลสทั้งหลายไป.
ซึ่งพุทธวงศ์เทศนาอันเป็นทางแห่งพระนิพพานนั้น. บทว่า สกฺกจฺจํ แปลว่า
เคารพ ทำความยำเกรง อธิบายว่า เป็นผู้ตั้งใจฟังพุทธวงศ์เทศนานั้น.
บทว่า ปฏิปชฺชถ ได้แก่ จงตั้งใจยิ่ง อธิบายว่า จงฟัง อีกอย่างหนึ่ง
พระเถระยังอุตสาหะตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าให้เกิดแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายพึงพุทธวงศ์เทศนานี้ ที่ให้เกิดปีติและ
ปราโมช บรรเทาความโศกศัลย์ อันเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างแล้ว
บัดนี้จงปฏิบัติทางแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง นำมา
ซึ่งคุณวิเศษมีการย่ำยีความมัวเมาเป็นต้น คำที่เหลือในข้อนี้ง่ายทั้งนั้นแล
จบกถาพรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์
แห่งมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์
ด้วยประการฉะนี้
จบกถาพรรณนาความอัพภันตรนิทาน โดยอาการทั้งปวง


1. ม. อุปริ. 14/ข้อ 475.

พรรณนา



เรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ



บัดนี้ ถึงโอกาสพรรณนาพุทธวงศ์ ที่ดำเนินไปโดยนัยเป็นต้นว่า
ในที่สุดสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อว่าอมรวดี
งามน่าดู น่ารื่นรมย์.

ก็การพรรณนาพุทธวงศ์นี้นั้น เพราะเหตุที่จำต้องกล่าววิจารถึงเหตุ
ตั้งสูตรแล้วจึงจะปรากฏชัด ฉะนั้น จึงควรทราบการวิจารเหตุตั้งสูตรก่อน.
เหตุตั้งสูตรมี 4 คือ เนื่องด้วยอัธยาศัยของพระองค์ 1 เนื่องด้วยอัธยาศัยของ
ผู้อื่น 1 เนื่องด้วยมีการทูลถาม 1 เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น 1.
ในเหตุตั้งสูตรทั้ง 4 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้เชื้อเชิญ
ตรัสพระสูตรเหล่าใด โดยอัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว คือ อากังเขยยสูตร
วัตถุสูตร อย่างนี้เป็นต้น เหตุตั้งพระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัย
ของพระองค์.

อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัย
ขันติ ใจ และความเป็นผู้จะตรัสรู้ของชนเหล่าอื่น อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย
ที่ช่วยบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรพึงแนะนำราหุลยิ่งขึ้นไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้
อื่นคือ ราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปวัตตนสูตรอย่างนี้เป็นอาทิ เหตุตั้งพระสูตร
เหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น.