เมนู

มธุรัตถวิลาสินี



อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์



ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



กถาปรารภคัมภีร์



ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้มีพระญาณ
อันหาที่สุดมิได้ มีพระกรุณาเป็นที่อาศัย ทรงทำลาย
มลทิน มีพระหฤทัยมั่นคง อำนวยประโยชน์เกื้อกูล.
ขอนอบน้อมพระธรรมอันประเสริฐ เครื่องป้อง
กันภพ.
ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้ปราศจากมลทินและ
เป็นบ่อเกิดคุณความดี.
ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพ
ธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวก
ทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา
จอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทิน
ถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธ-
วงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริ-
สุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ
ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระ
ประยูรญาตินี้.

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถ
แห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับ
ฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้.
เพราะเหตุที่การพรรณนาพุทธวงศ์นั้นนั่นแล อัน
ไม่ขาดสายแห่งพระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นเรื่อง
ไม่ตาย ฟังกันได้ให้เกิดความเลื่อมใสและปัญญา แก่
ชนทั้งหลายทุกเมื่อ เป็นไปตามลำดับ. ฉะนั้น ข้าพเจ้า
อันท่านพุทธสีหะ ผู้ยินดีในพระสัทธรรมโดยเคารพ
อันคุณมีศีลเป็นต้นบันดาลใจ อ้อนวอนแล้วจึงจักเริ่ม
พรรณนาพุทธวงศ์นั้น เพื่อกำจัดความชั่วร้าย ของชน
ทั้งหลายทุกเมื่อ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระพุทธศาสนา
เพื่อความเกิดและเจริญแห่งบุญ แม้ของข้าพเจ้าเอง
และเพื่อยังมหาชนให้เลื่อมใส.
ก็การพรรณนาพุทธวงศ์โดยสังเขปนี้ อาศัยทาง
บาลีที่มาจากสำนักมหาวิหาร ละโทษคือการปะปนกัน
เสีย จักเป็นสาระ. แต่เพราะเหตุที่ในที่นี้ ไม่มีเรื่องที่
ควรฟัง ที่จะเป็นเครื่องยังผู้ยินดีในพระพุทธคุณให้
เลื่อมใส เป็นเครื่องลอยบาป ซึ่งเป็นมลทินใหญ่ นอก
จากเรื่องพุทธวงศ์ ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายจงเป็น
ผู้ประกอบอยู่ในสมาธิโดยเคารพ ละความฟุ้งซ่าน ไม่
มีจิตเป็นอื่น จงตั้งโสตประสาทดังภาชนะทองรองรับ
สดับมธุรสของข้าพเจ้า ผู้กำลังกล่าวพรรณนา.

ก็กถาพรรณนาพุทธวงศ์ ควรที่จะมัจจะคนที่
ต้องตาย เป็นผู้รู้จะต้องละกิจอื่นเสียให้หมดแล้ว ฟัง
ก็ดี กล่าวก็ดี ในที่นี้ได้ตลอดกาลเป็นนิจ โดยเคารพ
ด้วยว่ากถานี้ แต่งได้แสนยากแล.

ควรกำหนดพุทธวงศ์ก่อน เพราะในคาถาปรารภนั้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้ว่า กถาพรรณนาพุทธวงศ์ จักเป็นสาระดังนี้ ก็การกำหนดในพุทธวงศ์นั้น
มีดังนี้ การกล่าวประเพณีอย่างพิศดาร โดยปริเฉทมีกัปปปริเฉทเป็นต้น อันเกิด
ขึ้น แต่พระพุทธเจ้า 25 พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติใน 4 อสงไขยกำไรแสน
กัป นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า พุทธวงศ์.

พุทธวงศ์กำหนดด้วยปริเฉท


ก็พุทธวงศ์นั้น ท่านกำหนดไว้เป็น

ปริเฉท 22 ปริเฉท

ที่มาตามบาลี
เหล่านี้คือ
1. กัปปปริเฉท ตอนว่าด้วย กัป
2. นามปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนาม
3. โคตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโคตร
4. ชาติปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชาติ
5. นครปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนคร
6. ปิตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธบิดา
7. มาตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธมารดา
8. โพธิรุกขปริเฉท ตอนว่าด้วย ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้
9. ธัมมจักกัปวัตตนปริเฉท ตอนว่าด้วย การประกาศพระธรรมจักร