เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโล เต แปลว่า เป็นกาลสมควร
สำหรับพระองค์. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปชฺชํ ได้แก่
ถือปฏิสนธิ. ปาฐะว่า โอกฺกมฺม ก็มี. บทว่า สเทวกํ ความว่า โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ในบทว่า ตารยนฺโต นี้ แม้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ก็ชื่อว่า ช่วยให้
ข้าม. แม้ทรงบำเพ็ญบารมีเสร็จ ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. แม้ทรงจุติจากอัตภาพ
เป็นพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิในภพดุสิตดำรงอยู่ในภพดุสิตนั้น ตลอด 57
โกฏิปีกับ 60 แสนปี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ทรงถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอน ทรง
ตรวจมหาวิโลกนะ 5 แล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามหา-
มายาเทวีก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ถ้วนทศมาสก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม แม้ทรง
อยู่ครองฆราวาสวิสัย 29 พรรษา ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในวันประสูติพระราหุล-
ภัททะ ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย ขึ้นทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
ก็ดี เสด็จเลย 3 ราชอาณาจักรทรงผนวช ณ ริมฝั่งแน่น้ำอโนมา ก็ดี ก็ชื่อว่า
ทรงช่วยให้ข้าม. ทรงบำเพ็ญความเพียร 6 ปีก็ดี ในวันวิสาขบูรณมีเพ็ญเดือน
วิสาขะ เสด็จขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถาน [โคนโพธิพฤกษ์] ทรงกำจัดกองกำลัง
ของมาร ปฐมยาม ทรงระลึกได้ถึงขันธ์ในบุรพชาติ มัชฌิมยามทรงชำระ
ทิพยจักษุ ปัจฉิมยามทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท 12 องค์ ทั้งอนุโลมและ
ปฏิโลมทรงบรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในขณะโสดาปัตติ-
ผลก็ดี ในขณะสกทาคามิมรรคก็ดี ในขณะสกทาคามิผลก็ดี ในขณะอนาคามิ-
มรรคก็ดี ในขณะอนาคามิผลก็ดี ในขณะอรหัตมรรคก็ดี ในขณะอรหัตผล
ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในกาลใด ได้ประทานน้ำอมฤตแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์
พร้อมด้วยเทวดาหมื่นแปดพันโกฏิ1 นับตั้งแต่กาลนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
ทรงช่วยให้ข้ามแล้ว ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

1. ที่อื่นเป็น 18 โกฏิ.

เมื่อทรงยังโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร
ขอโปรดจงบรรลุอมตบท.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้
ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ 5
คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูลพระชนมายุของพระชนนี บรรดา
มหาวิโลกนะ 5 นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น
กาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า
กาล. เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา
พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย.
เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี
เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะ
ฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร. แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปี
ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส
หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน
ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้นกาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร. อายุกาลอย่าง
ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า
เป็นกาลที่ควรบังเกิด.
ต่อนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่
ประมาณหมื่นโยชน์.
เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ
ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ.

ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระกูล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
บังเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลกสมมติ
จำเราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็น
พระชนกของเรา.
แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธ-
มารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล 5 ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า
มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง
นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก
7 วัน หลังครบทศมาสแล้ว.
ครั้นทรงตรวจมหาวิโลกนะ 5 ประการนี้ดังนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา
แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน
ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์
พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย จึงกล่าวเป็นต้นว่า
พระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว เสด็จ
ลงในพระครรภ์ ในกาลใด ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุ
ไหว แผ่นปฐพีก็ไหว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิ ได้แก่ ก้าวลงเข้าไป. บทว่า
กุจฺฉยํ แปลว่า ในพระครรภ์ของพระพุทธมารดา. บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ
กมฺปิตฺถ
ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงมีสติสัมปชัญญะเมื่อลงสู่พระครรภ์ของ
พระพุทธมารดา ทรงถือปฏิสนธิโดยนักษัตรฤกษ์เดือนอาสาฬหะหลัง ในดิถี
เพ็ญอาสาฬหะ ด้วยมหาวิปากจิตที่เป็นเช่นเดียวกับกุศลจิตอสังขาริก ที่สหรคต

ด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณอันมีเมตตาเป็นบุรพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต 19
ดวง. ครั้งนั้น ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว. ธรรมชาติใด
ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาพที่คงที่และเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่าธรณี คือแผ่นปฐพี.
ในบทว่า สมฺปชาโน นิกฺขมิ นี้ มีอธิบายว่า ก็ในกาลใด เรา
มีสติสัมปชัญญะยืนเหยียดมือทั้งสองออกจากพระครรภ์ของพระชนนี เหมือน
พระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได อันของไม่
สะอาดไรๆ ที่เป็นสัมภวะในพระครรภ์ไม่แปดเปื้อนเลย. บทว่า สาธุการํ
ปวตฺเตนฺติ
ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย ยังสาธุการให้เป็นไป อธิบายว่า ถวาย
สาธุการ. บทว่า ปกมฺปิตฺถ แปลว่า ไหวแล้ว อธิบายว่า หมื่นโลกธาตุ
ไหวทั้งขณะเสด็จลงสู่พระครรภ์ ทั้งขณะประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเห็นใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระองค์
ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์เป็นต้นจึงตรัสคาถานี้ว่า โอกฺกนฺติ เม สโม
นตฺถิ
เป็นต้นก็เพื่อทรงแสดงความอัศจรรย์ของพระองค์ในการเสด็จลงสู่พระ-
ครรภ์เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกนฺติ แปลว่า ในการเสด็จลง
สู่พระครรภ์ ปฐมาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่าในการถือปฏิสนธิ.
บทว่า เม แปลว่า ด้วยเรา. บทว่า สโม ได้แก่ ไม่มีใครเสมือน. ในบทว่า
ชาติโต นี้ ความว่า ชนย่อมเกิดจากมารดานี้ เหตุนั้น มารดาท่านจึงเรียกว่า
ชาตี อธิบายว่า จากมารดาผู้ให้กำเนิดนั้น. บทว่า อภินิกฺขเม ได้แก่ เสด็จ
ออก คือไหลออกจากพระครรภ์ของพระชนนี.
ในบทว่า สมฺโพธิยํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ความตรัสรู้อันดีอัน
ท่านสรรเสริญแล้ว ชื่อสัมโพธิ. ก็ โพธิ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีต้นไม้
มรรค นิพพาน สัพพัญญุตญาณเป็นต้น.

จริงอยู่ต้นไม้ท่านเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิรุกฺขมูเล
ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ
ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก ณ โคนต้นโพธิ์ และว่า
อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยา และโพธิพฤกษ์
มรรคเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ
ญาณํ
ญาณในมรรค 4 เรียกว่า โพธิ.
นิพพานเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปตฺวาน โพธิ อมตํ
อสงฺขตํ
บรรลุพระนิพพานอันเป็นอมตะ เป็นอสังขตะ. พระสัพพัญญุตญาณ
เรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส พระผู้มี
ปัญญาประเสริฐกว้างดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. แต่ในที่นี้
ท่านประสงค์พระอรหัตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาจารย์พวกอื่นๆ
กล่าวว่า สัพพัญญุตัญญาณ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระ
สัพพัญญุตญาณนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยพระสัมโพธิ-
ญาณ สรรเสริญพระองค์เอง. ตอบว่า เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง
จริงอยู่ ความตรัสรู้พร้อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้คุณทุกอย่างย่อมให้
พระพุทธคุณแม้ทั้งหมด ไม่เหลือเลย แต่ไม่ให้คุณแก่คนอื่น ๆ. ก็บรรดา
คนทั้งหลายอื่นพระอรหัตมรรค ย่อมให้อรหัตผลเท่านั้น แก่บางคน ให้
วิชชา 3 แก่บางคน ให้อภิญญา 6 แก่บางคน ให้ปฏิสัมภิทา 4 แก่บางคน
ให้สาวกบารมีญาณแก่บางคน ให้ปัจเจกโพธิญาณเท่านั้นแก่พระปัจเจกพุทธะ
ทั้งหลาย แต่ให้คุณสมบัติทุกอย่างแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญพระองค์เองว่า เป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพธิ-
ญาณ เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง. อนึ่ง ทรงทำพื้นแผ่นปฐพีให้
ไหวแล้วก็ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพฐิญาณ. ในบทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน
พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็ธรรมจักรมี 2 คือ ปฏิเวธญาณ 1 เทศนาญาณ 1
ในธรรมจักร 2 อย่างนั้น ธรรมจักรอันพระปัญญาอบรมแล้วนำมาซึ่งอริยผล
แด่พระองค์ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรอันพระกรุณาอบรมแล้ว นำมา
ซึ่งอริยผลแก่สาวกทั้งหลายชื่อว่า เทศนาญาณ. ปฏิเวธญาณ เป็นโลกุตร-
กุศล สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. เทศนาญาณ เป็นโลกิยะ
เป็นอัพยากฤต. แม้ญาณทั้งสองนั้น ก็ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาเทศนาญาณ.
บัดนี้เทวดาทั้งหลายพึงเรื่องราวมีแผ่นดินไหวเป็นต้น ในเพราะการ
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็พากันกล่าวคาถานี้ว่า อโห
อจฺฉริยํ โลเก เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานํ คุณมหนฺตตา
ความว่า โอ ! พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณมาก. โอ ! พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มีอานุภาพมาก.
บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ฉปฺปการํ ปกมฺปถ ความว่า มหา
ปฐพีในหมื่นจักรวาล หวั่นไหวด้วย 6 อาการ คือ ยืดขึ้นข้างหน้าโน้มลงข้างหลัง
ยืดขึ้นข้างหลังโน้มลงข้างหน้า ยึดขึ้นข้างซ้ายโน้มลงข้างขวา ยืดขึ้นข้างขวา
โน้มลงข้างซ้าย ยืดขึ้นตรงกลางโน้มลงข้างท้าย ยืดขึ้นข้างท้ายโน้มลงตรง
กลาง มหาปฐพีนี้หนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ มีน้ำรองแผ่นดินอยู่รอบ ๆ
เหมือนเรือที่ถูกขนาบด้วยการหักของคลื่นแห่งน้ำที่ไหวเพราะแรงลม แม้ไม่มี
ใจก็เหมือนมีใจ ก็อาการไหวมี 6 ประการ ดังกล่าวมานี้ เหมือนฟ้อนรำด้วย
ปีติ. บทว่า โอภาโส จ มหา อาสิ ความว่า ได้มีแสงสว่างล้ำเทวานุภาพ
ของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า อจฺเฉรํ โลมหํสนํ ความว่า ได้มีความ
อัศจรรย์และขนลุกชัน.

บัดนี้ เมื่อความอัศจรรย์ทั้งหลาย มีแผ่นดินไหวและปรากฏแสงสว่าง
เป็นต้น เป็นไปอยู่ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาว่า ภควา ตมฺหิ
สมเย
เป็นต้น ก็เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า โลกเชฏฺโฐ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก. บทว่า
สเทวกํ ได้แก่ แห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก. พึงเห็นว่า ทุติยาภัตติใช้ในอรรถ
ฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ทสฺสยนฺโต ได้แก่ เมื่อทรงแสดงปาฏิหาริย์.
บทว่า จงฺกมนฺโต ว ความว่า เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้น
ที่ตั้งครอบหมื่นโลกธาตุตรัส. บทว่า โลกนายโก ความว่า ครั้งนั้น พระ-
ศาสดาตรัสธรรมกถาอันไพเราะ ที่ทรงชักมาด้วยไตรลักษณ์ประกอบด้วยสัจจะ
4 มีนัยวิจิตรต่างๆ ด้วยพระสุรเสียงดั่งเสียงพรหม น่าฟัง น่ารัก ประกอบ
ด้วยองค์ 8 ประหนึ่งราชสีห์แผดสีหนาท เหนือพ้นแท่นหินอ่อนสีแดง ประ-
หนึ่งเมฆในฤดูฝน คำรามอยู่ และประหนึ่งข้ามอากาศคงคา.
ในคำว่า อนฺตรา น นิวตฺเตติ จตุหตฺเถ จงฺกเม ยถา นี้ มี
ความว่า ที่จงกรมที่พระศาสดาทรงเนรมิตนั้น ปลายข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปาก
จักรวาลด้านทิศตะวันออก ข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก
พระศาสดา เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นที่ตั้งอยู่ดังกล่าวนี้ เสด็จถึงปลาย
ทั้งสองข้างจึงจะเสด็จกลับ ระหว่างยังเสด็จไม่ถึงปลายสองข้าง จะไม่เสด็จกลับ
พระศาสดา เมื่อเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมประมาณ 4 ศอก ถึงปลายสองข้าง
เร็ว จึงเสด็จกลับอย่างใด จะไม่เสด็จกลับในระหว่างอย่างนั้น. ทำไม พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงย่นที่จงกรม ซึ่งยาวถึงประมาณหมื่นโยชน์ให้สั้น
หรือทรงเนรมิตอัตภาพให้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ก็มิได้ทรงกระทำอย่างนั้น พุท-
ธานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด. หมื่นโลกธาตุได้

เป็นลานอันเดียวกัน นับตั้งแต่อกนิษฐภพจนถึงอเวจีนรก และโดยเบื้องขวาง
หมื่นจักวาลก็ได้เป็นลานอันเดียวกัน. เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์ แม้มนุษย์
ทั้งหลายก็เห็นเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจงกรมโดยปกติได้โดยประการใด ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
จงกรม โดยประการนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจงกรม ก็ทรงแสดง
ธรรม และทรงเข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทพใน
หมื่นโลกธาตุห้อมล้อมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ด้วยพุทธสิริวิลาส อันหาที่เปรียบ
มิได้ ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีอะไรเปรียบ เหมือนภูเขาทองอันประเสริฐ
เคลื่อนที่ได้ มีพระพุทธสรีระอันประเสริฐ งดงามด้วยพระวรลักษณ์ 32 อัน
กำลังกุศลที่ทรงสร้างสมมาตลอดสมัยที่ประมาณมิได้ รุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญ-
ชนะ 80 มีพระสิริแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง สูง 18 ศอก เหมือนดวงจันทร์
เต็มดวงในฤดูสารท และเหมือนดอกปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ ออกดอกบาน
สะพรั่งทั่วต้น. ครั้นเห็นแล้วก็ดำริว่า หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นนี้ประชุมกันแล้ว
ก็ในที่ประชุมนี้ ควรมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่. ก็พุทธวงศ์เทศนา จะมี
อุปการะมาก นำมาซึ่งความเลื่อมใส ถ้ากระไร เราพึงทูลถามพุทธวงศ์ จำเดิม
แต่อภินีหารการบำเพ็ญบารมีของพระทศพล แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า เข้าเผ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมอดอกบัว
ตูมเกิดอยู่ในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกล ไว้เหนือเศียรแล้ว ทูลถามผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีว่า กีทิโส เต มหาวีร เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคี-
ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากฉลาดในสมาธิ
และญาณ ผู้บรรลุบารมีด้วยปัญญา ทูลถามพระผู้นำ
โลกว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหาร
ของพระองค์เป็นเช่นไร.
ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระองค์ทรงปรารถนา
พระโพธิอันสูงสุดเมื่อกาลไร พระเจ้าข้า.
ถามว่า อนุสนธินี้ ชื่ออะไร ตอบว่า ชื่อว่าปุจฉานุสนธิ จริงอยู่

อนุ-
สนธิ มี 3

คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ. ใน
อนุสนธิทั้ง 3 นั้น พึงทราบ ปุจฉานฺสนธิ โดยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงตอบปัญหาของผู้ถามอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งก็ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน
เป็นอย่างไร ฝั่งนอกเป็นอย่างไร.
อัชฌาสยานุสนธิ พึงทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธ-
ยาศัยของผู้อื่นแล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกแห่งใจอย่าง
นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็เป็นอนัตตาดังนี้ กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตนอย่างไร. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ ปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัย
จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน
ในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ อยู่ในอวิชชา พึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าพึงแส่ไปด้วยใจที่มี
ตัณหาเป็นอธิปไตย ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตาอย่างนี้ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตน
อย่างไร ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.1

1. ท. อุปริ. 14/ข้อ 129.