เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้อ
อุปมา. กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง.
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้ว
จึงตรัสว่า
เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอัน
ใครๆ รู้ไม่ได้

อสงไขยเหล่านั้น มี 4

คือ สัตตนิกาย
1 หมู่สัตว์ 1 โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด 1 และพระ-
พุทธญาณที่นับไม่ได้ 1 อสงไขยเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่
อาจจะรู้ได้.

แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า จตฺตาโร กำหนดจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้ความที่พึงตรัส ณ บัดนี้ด้วยบทว่า เอเต. บทว่า อสงฺเขยฺยา ได้แก่ ชื่อ
ว่าอสงไขย เพราะใครๆ ไม่อาจนับได้. อธิบายว่าเกินที่จะนับ. บทว่า โกฏิ
ได้แก่ ขอบเขตเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย. บทว่า เยสํ ได้แก่ ของอสงไขย 4
เหล่าใด. บทว่า น นายติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอสงไขย
4 ดังกล่าวแล้วนั้น จึงตรัสคำว่าสตฺตกาโยเป็นต้น. บทว่า สตฺตกาโย แปลว่า
หมู่สัตว์. หมู่สัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณ นับไม่ได้. อากาศก็อย่างนั้น
ที่สุดแม้ของอากาศไม่มี จักรวาลก็เหมือนกัน ไม่มีที่สุดเหมือนกัน พุทธญาณ
คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็นับไม่ได้. บทว่า น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ
ความว่า เพราะเหตุที่อสงไขยเหล่านั้น ไม่มีที่สุด ฉะนั้น ใครๆ จึงไม่อาจจะ
รู้ได้.
บัดนี้ พระศาสดาเมื่อทรงขยายพระธรรมเทศนาว่า ในการทำฤทธิ์
ต่างๆ ของพระองค์ นั่นจะอัศจรรย์อะไรสำหรับเทวดาและมนุษย์เป็นต้น ซึ่ง