เมนู

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้วต่างก็ถือเอาบาตรจีวร
ของตน ๆ มีกิเลสอันทำลายแล้วมีเครื่องผูกขาดแล้ว เหมือนช้างใหญ่ สวม
เกราะดีแล้ว มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ก็พากันรีบมาประชุม. ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ภิกษุเหล่านั้น รับคำว่าสาธุแล้ว เป็นผู้มีปัญญา
รักษาตัว สำรวมอินทรีย์ ต่างถือเอาบาตรจีวร พากัน
รีบเข้าไปหาพระเถระ.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมี วอนขอ, รับ,
ปลอบใจ, และดีเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถ วอนขอ
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ
เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ
โปรดข้าพระองค์ด้วยเถิด. ใช้ในอรรถ รับ ได้ในประโยคเป็นต้นว่าสาธุ
ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา

ภิกษุรูปนั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า.
ใช้ในอรรถ ปลอบใจ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สาริปุตฺต ดีละ
ดีละ สารีบุตร. ใช้ในอรรถ ดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.
พระราชาผู้ชอบธรรม ดี, นรชนผู้มีปัญญา ดี, ผู้ไม่
ประทุษร้ายมิตร ดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข.

แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาที่ใช้ในอรรถ รับ เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า
ภิกษุเหล่านั้นรับคำของพระเถระว่า สาธุ แปลว่า ดีละ. บทว่า นิปกา ได้แก่
บัณฑิต ผู้มีปัญญา. บทว่า สํวุตินฺทฺริยา ได้แก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย อธิบายว่าผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร. บทว่า ตรมานา แปลว่า
รีบ บทว่า อุปาคมุํ ได้แก่ เข้าไปหาพระเถระ.
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงประวัติของท่านพระ-
ธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ เป็นต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ทนฺเตหิ ได้แก่ ผู้ฝึกทางกาย ทางจิตแล้ว. บทว่า อุตฺตเม
ทเม
ได้แก่ ในเพราะพระอรหัต. พึงเห็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถนิมิตสัตตมี.
บทว่า เตหิ ภิกฺขูหิ ได้แก่ อันภิกษุ 500 รูป. บอกว่า มหาคณี ความว่า
ชื่อว่ามหาคณี เพราะท่านมีคณะใหญ่ ทั้งโดยศีลเป็นต้น และโดยนับจำนวน.
หรือชื่อว่า มหาคณะ เพราะเป็นคณะใหญ่โดยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ด้วย
สามารถแห่งบทต่างๆ ชื่อว่า มหาคณีเพราะคณะใหญ่ของท่านมีอยู่ เหตุนั้นท่าน
จึงชื่อว่ามีคณะใหญ่. บทว่า สฬนฺโต เทโวว คคเน ความว่า งดงามด้วย
อิทธิวิลาส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พื้นนภากาศ ราวกะเทพดา.
บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีเข้าเฝ้าว่า เต อิตฺถมฺภูตา อุปสงฺกมึสุ ภิกษุมีชื่อ
อย่างนี้เหล่านั้นเข้าเฝ้าแล้ว ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงเริ่มคำว่า อุกฺกา-
สิตญฺจ ขิปิตํ
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกาสิตญฺจ
ความว่า ไม่ทำเสียงจาม บทว่า ขิปิตญฺจ ความว่า ไม่ทำเสียงไอ. บทว่า
อชฺฌุเปกฺขิย แปลว่า เฉย อธิบายว่าไม่ทำทั้งสองอย่าง [คือ สงบเงียบ].
บทว่า สุพฺพตา ได้แก่ ผู้มีธุดงคคุณผุดผ่องดี. บทว่า สปฺปติสฺสา
ได้แก่ มีความยำเกรง อธิบายว่า ถ่อมตน.
บทว่า สยมฺภุํ ความว่า มีพุทธภาวะอันทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้ง
หลาย บรรลุแล้วด้วยพระองค์เอง เว้นการอ้างถึงผู้อื่น. บทว่า อจฺจุคฺคตํ

ได้แก่ ขึ้นมาใหม่ ๆ. บทว่า จนฺทํว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. พึงเชื่อมบท
อย่างนี้ว่า แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ ณ พื้นนภากาศ เหมือน
ดวงจันทร์ในท้องฟ้าฉะนั้น. แม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.
บทว่า วิชฺชุํว ได้แก่ เหมือนสายฟ้าทึบ อธิบายว่า เหมือนสายฟ้าแลบ
เช่นที่มีแสงชั่วขณะแต่ตั้งอยู่นานฉะนั้น. บทว่า คคเน ยถา แปลว่า เหมือน
ในอากาศแม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. นอกจากในที่เช่นนี้
ยถา ศัพท์ ในที่เช่นนี้ก็พึงเห็นว่าเป็นเพียงนิบาต.
บทว่า รหทมิว วิปฺปสนฺนํ ความว่า น้ำไม่ขุ่นแต่ใส เหมือนห้วง
น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างมากฉะนั้น. บทว่า สุผุลฺลํ ปทุมํ ยถา พึงเห็นความว่า
เหมือนห้วงน้ำที่มีดงปทุมดอกแย้มบาน. ปาฐะว่า สุผุลฺลํ กมลํ ยถา ดังนี้ก็มี
ความว่า เหมือนดงบัวที่ดอกบานสะพรั่ง เพราะดอกบัวนั้น น่าปรารถนา.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีท่านพระธรรมเสนาบดีเป็นหัวหน้า ทำอัญชลี
ไว้เหนือเศียร หมอบลงแทบฝ่าพระยุคลบาทที่มีจักรประดับ. ด้วยเหตุนั้นท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อญฺชลี ปคฺคเหตฺวาน ตุฏฺฐหฏฺฐา
ปโมทิตา
ประคองอัญชลียินดีร่าเริงบันเทิงใจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่า นิปตนฺติ แปลว่า หมอบลง อธิบายว่าถวายบังคม. บทว่า จกฺก-
ลกฺขเณ
ความว่า พระบาทที่มีลักษณะจักร ชื่อว่า จักรลักษณะ. ที่พระบาท
อันมีจักรลักษณะนั้น ท่านกล่าวคำว่า ปาเท โดยอำนาจแห่งชาติ. อธิบายว่า
หมอบลงแทบฝ่าพระบาทของพระศาสดาที่มีจักรประดับ.
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายเมื่อแสดงนามของพระเถระเหล่า
นั้น บางท่านจึงกล่าวคาถาว่า สาริปุตฺโต มหาปญฺโญ โกรณฺฑสมสา-
ทิโส
เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกรณฺฑสมสาทโส แปลว่า ผู้มี

ผิวพรรณเสมือนดอกหงอนไก่. ถ้าจะพึงมีคำถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ควร
กล่าวว่า โกรณฺฑสโม หรือ โกรณฺฑสทิโส. ทำไม ท่านจึงกล่าวว่า
สมสาทิโส 2 ครั้ง. ตอบว่า นี้ไม่ผิดดอก, ท่านเช่นนั้น ชื่อว่า เสมอเหมือน
กับดอกหงอนไก่ โดยเป็นเช่นเดียวกับดอกหงอนไก่ เพราะเท่ากับดอกหงอนไก่.
อธิบายว่า ไม่ใช่กล่าวโดยกล่าวเกินไป. ก่อนอื่นในคำว่า สมาชิชฺฌานกุลโล
นี้ กุสล ศัพท์นี้ใช้ในอรรถทั้งหลายมีในอรรถว่า ไม่มีโรค ไม่มีโทษ ฉลาด
และมีสุขเป็นวิบาก เป็นต้น. จริงอยู่ กุสล ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรค
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กจฺจิ นุ โภโต อนามยํ ท่านพราหมณ์
ไม่มีโรค ไม่มีการเจ็บไข้บ้างหรือหนอ. ใช้ในอรรถว่าไม่มีโทษ ได้ในประโยค
เป็นต้นว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช
กายสมาจาโร อนวชฺโช
ท่านพระคุณเจ้าข้า กายสมาจารเป็นกุศลคืออะไร.
ถวายพระพรมหาบพิตรกายสมาจารเป็นกุศล คือไม่มีโทษ. ใช้ในอรรถว่าฉลาด
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ ท่านฉลาด
ในส่วนประกอบน้อยใหญ่ทั้งหลายของรถ. ใช้ในอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก ได้ใน
ประโยคเป็นต้นว่า กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา เพราะทำการ
สร้างสมกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่าฉลาด. บทว่า
วนฺทเต แปลว่า ถวายบังคมแล้ว.
บทว่า คชฺชิตา ได้แก่ ชือว่า คัชชิตา เพราะคำราม. บทว่า
กาลเมโฆว ได้แก่ คำรามเหมือนอากาศที่ทรงน้ำสีเขียวความ [เมฆ] อธิบาย
ว่าในวิสัยแห่งฤทธิ์. บทว่า นีลุปฺปลสมสาทิโส แปลว่า มีสีเหมือนดอก
บัวขาบ. พึงทราบความในที่นี้ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านโกลิตะ
ที่ได้นามตามโคตรอย่างนี้ว่า โมคคัลลานะ.

บทว่า มหากสฺสโปปิ จ ได้แก่ เทียบกับท่านพระอุรุเวลกัสสป
ท่านพระนทีกัสสป ท่านพระคยากัสสป ท่านพระกุมารกัสสป ซึ่งเป็น
พระเถระเล็กพระเถระน้อย พระกัสสปรูปนี้เป็นมหา เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงถูกเรียกว่า มหากัสสป. ศัพท์ว่า ปิ จ มีอรรถว่าชมเชยและรวบรวม.
บทว่า อุตฺตตฺตกนกสนฺนิโภ แปลว่า มีผิวพรรณคล้ายทองที่ร้อนละลาย.
ในคำว่า ธุตคุเณ นี้ ธรรมชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส, ธรรมกำจัด
กิเลส ชื่อว่า ธุตคุณ. ก็ธุตธรรมคืออะไร คือธรรม 5 ประการ บริวาร
ของธุตังคเจตนาเหล่านี้คือ อัปปิจฉตา ความมักน้อย, สันตุฏฐิตา
ความสันโดษ, สัลเลขตา ความขัดเกลา, ปวิเวกตา ความสงัด, อิท-
มัฏฐิกตา ความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์ ชื่อว่า ธุตธรรม เพราะบาลีเป็นต้นว่า
อปฺปิจฺฉํ นิสฺสาย อาศัยความมักน้อยนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง ญาณชื่อว่า ธุตะ
เพราะกำจัดกิเลสทั้งหลาย. ในธุตคุณนั้น. บาลีว่า อคฺคนิกฺขิตโต ได้แก่ ที่
ท่านสถาปนาว่า เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด อธิบายว่า อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหากัสสป เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้สรรเสริญธุดงค์. ก็ อัคค ศัพท์นี้
ใช้ในอรรถทั้งหลายมีอรรถว่าเป็นต้น ปลาย ส่วน ประเสริฐสุดเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น อัคค ศัพท์ ใช้ในอรรถว่าเป็นต้น ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อชฺชตคฺเค
สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคณฺฐานํ นิคณฺฐีนํ
ดูก่อนสหายนาย
ประตู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูสำหรับนิครนถ์และนิครนถีทั้งหลาย.
ใช้ในอรรถว่า ปลาย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน ตํ
องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย ภิกษุเอาปลายนิ้วนั้นนั่นแหละ ถูกต้องปลายนิ้วนั้น
และว่า อุจฺฉคฺคํ เวฬคฺคํ ปลายอ้อย ปลายไผ่. ใช้ในอรรถว่า ส่วน
ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน
ภาเชตุํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อแบ่งตามส่วนแห่งวิหาร หรือ

ตามส่วนแห่งบริเวณ. ใช้ในอรรถว่าประเสริฐสุด ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ยาวตา
ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา ฯ เป ฯ ตถาคโต เตสํ
อคคมกฺขายติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเท้าก็ดี มี 2 เท้า
ก็ดี ฯลฯ พระตถาคต กล่าวกันว่าประเสริฐสุดแห่งสัตว์เหล่านั้น. อัคค ศัพท์
นี้นั้น ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า ประเสริฐสุด. ยังใช้ในอรรถว่า ยอด
ก็มี พระเถระดำรงอยู่ในตำแหน่งของท่านว่า เป็นผู้ประเสริฐและเป็นยอดด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ได้แต่งตั้งว่าเป็นผู้เลิศ
ผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด. บทว่า โถมิโต ได้แก่ อันเทวดาและมนุษย์เป็นต้น
สรรเสริญแล้ว. บทว่า สตฺถุ วณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง
ชมเชยแล้ว. อธิบายว่าอันพระศาสดาทรงยกย่องสรรเสริญโดยนัยที่มาในพระ-
สูตรเป็นอันมาก เป็นต้นอย่างนี้ว่า กสฺสโป ภิกฺขเว จนฺทูปโม กุลานิ
อุปสงฺกมติ อปกสฺเสว กายํ อปกสฺส จิตฺตํ นิจฺจนวโก กุเลสุ
อปคพฺโภ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปไม่กำเริบกายไม่กำเริบจิต เป็นนวกะ
ภิกษุใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในตระกูลทั้งหลาย เข้าไปสู่ตระกูล. แม้ท่าน
พระมหากัสสปนั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ทิพฺพจกฺขุํ ความว่า ทิพยจักษุมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุ
เหล่านั้น ชื่อว่ามีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธะเป็นเลิศประเสริฐสุดแห่งภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุเหล่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเรา ผู้มีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธเถระ
เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะสักกะ พระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น
พระกนิษฐภาดาของพระเจ้ามหานามสักกะ เป็นผู้มีบุญมากเป็นสุขุมาลชาติอย่าง
ยิ่ง ท่านเป็นคนที่ 7 ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. ลำดับการบรรพชาของท่าน
มาแล้วในสังฆเภทกขันธกะ. บทว่า อวิทูเรว ได้แก่ในสำนักของผู้มี-
พระภาคเจ้านั่นเอง.

บทว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา ได้แก่ ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ.
บทว่า สเตกิจฺฉาย ได้แก่ ในอาบัติที่ทำคืนได้ก็มี ที่ทำคืนไม่ได้ก็มี. บรรดา
อาบัติเหล่านั้นอาบัติที่ทำคืนได้นั้น มี 6 อย่าง อาบัติที่ทำคืนไม่ได้นั้น ก็คือ
อาบัติปาราชิก. ปาฐะว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา สเตกิจฺฉาย โกวิโท
ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า วินเย ได้แก่ ในวินัยปิฎก.
บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ท่านพระอุบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นเลิศกว่า
ภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย. บทว่า อุบาลี ได้แก่ ท่านพระอุบาลีเถระ. บทว่า
สตฺถุวณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง สรรเสริญ. เล่ากันว่า พระ-
เถระเรียนวินัยปิฎกในสำนักพระตถาคตเท่านั้น กล่าวเรื่องทั้ง 3 คือ ภารุ-
กัจฉกวัตถุ. อัชชุกวัตถุ กุมารกัสสปวัตถุ เทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ.
เพราะฉะนั้น พระเถระ ท่านจึงกล่าวว่าอันพระศาสดาทรงยกย่อง โดยนัยเป็น
ต้นอย่างนี้ว่า เป็นเลิศของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย.
บทว่า สุขุมนปุณตฺถปฏิวิทฺโธ ได้แก่ ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถอันสุขุม
ละเอียดแล้ว อธิบายว่า ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถะอันละเอียดเห็นได้ยากแล้ว.
บทว่า กถิกานํ ปวโร ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุด กว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก.
ท่านสถาปนาไว้ในเอตทัคคบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณมันตานีบุตร
เป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
กถิกานํ ปวโร เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก. บทว่า คณี
ได้แก่ เป็นผู้มีหมู่. เล่ากันว่ากุลบุตรที่บวชในสำนักพระเถระ มีถึง 500 รูป
ภิกษุเหล่านั้น ทุกรูป เป็นชาวแคว้นที่เกิด อันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทุกรูป
เป็นพระขีณาสพ ทุกรูปเป็นผู้ได้กถาวัตถุ 10 ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คณี

ผู้มีหมู่. บทว่า อิสี ได้แก่ ชื่อว่า อิสี เพราะเสาะแสวงหากุศลธรรม. บทว่า
มนฺตานิยา ปุตฺโต ได้แก่ เป็นบุตรของพราหมณีชื่อมันตานี. คำว่า ปุณณะ
เป็นชื่อของท่าน. บทว่า วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อเสียงทางคุณมีความเป็นผู้มัก
น้อยเป็นต้นของตนเอง.
ฝ่ายท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เมื่อพระศาสดาทรงบรรลุพระอภิ-
สัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จมาตามลำดับ ทรง
อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่, ท่านกลับมายังกรุงกบิลพัศดุ์ บวชมาณพชื่อ
ปุณณะ หลานชายของตน ถวายบังคมทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ตนเอง
ก็ไปยังสระฉัททันตะเพื่ออยู่ประจำ. ส่วนท่านปุณณะมาพร้อมกับพระเถระเพื่อ
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักทำกิจของผู้บวชให้เสร็จก่อนแล้วจึงจักไป
เฝ้าพระทศพล ถูกท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระปล่อยไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่น
เอง ท่านทำโยนิโสมนสิการ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เข้าเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. ก็บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระสองรูปเหล่านี้ คือท่านพระ-
อนุรุทธเถระ ท่านพระอุบาลีเถระ ท่านแสดงเหมือนเข้าไปยังกรุงกบิลพัศดุ์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบวชในวันประชุมพระประยูรญาติ ฉะนั้นคำนั้นไม่
สมกับบาลีในขันธกะ และอรรถกถา. พึงสอบสวนแล้วถือเอาเถิด.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบอาจาระทางจิตของภิกษุ 500 รูป มี
พระสารีบุตรเถระเป็นต้นแล้ว ทรงเริ่มตรัสคุณทั้งหลายของพระองค์. ด้วย
เหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
พระมหามุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมาทรงทราบจิต
ของภิกษุเหล่านั้น จะทรงตัดความสงสัย จึงตรัสคุณ
ของพระองค์.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้อ
อุปมา. กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง.
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้ว
จึงตรัสว่า
เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอัน
ใครๆ รู้ไม่ได้

อสงไขยเหล่านั้น มี 4

คือ สัตตนิกาย
1 หมู่สัตว์ 1 โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด 1 และพระ-
พุทธญาณที่นับไม่ได้ 1 อสงไขยเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่
อาจจะรู้ได้.

แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า จตฺตาโร กำหนดจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้ความที่พึงตรัส ณ บัดนี้ด้วยบทว่า เอเต. บทว่า อสงฺเขยฺยา ได้แก่ ชื่อ
ว่าอสงไขย เพราะใครๆ ไม่อาจนับได้. อธิบายว่าเกินที่จะนับ. บทว่า โกฏิ
ได้แก่ ขอบเขตเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย. บทว่า เยสํ ได้แก่ ของอสงไขย 4
เหล่าใด. บทว่า น นายติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอสงไขย
4 ดังกล่าวแล้วนั้น จึงตรัสคำว่าสตฺตกาโยเป็นต้น. บทว่า สตฺตกาโย แปลว่า
หมู่สัตว์. หมู่สัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณ นับไม่ได้. อากาศก็อย่างนั้น
ที่สุดแม้ของอากาศไม่มี จักรวาลก็เหมือนกัน ไม่มีที่สุดเหมือนกัน พุทธญาณ
คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็นับไม่ได้. บทว่า น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ
ความว่า เพราะเหตุที่อสงไขยเหล่านั้น ไม่มีที่สุด ฉะนั้น ใครๆ จึงไม่อาจจะ
รู้ได้.
บัดนี้ พระศาสดาเมื่อทรงขยายพระธรรมเทศนาว่า ในการทำฤทธิ์
ต่างๆ ของพระองค์ นั่นจะอัศจรรย์อะไรสำหรับเทวดาและมนุษย์เป็นต้น ซึ่ง