เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนฺนํ ภิกขุสตานํ ได้แก่ ภิกษุ
500 รูป. ฉัฏฐีวิภัตติ พึงเห็นว่าท่านใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า กตกิจฺ-
จานํ
ความว่า ผู้จบโสฬสกิจแล้ว คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ
และภาวนากิจ ด้วยมรรค 4 ในสัจจะ 4. บทว่า ขีณาสวานํ ได้แก่ ผู้สิ้น
อาสวะ 4. บทว่า วิมลานํ ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทิน หรือชื่อว่า มีมลทินไป
ปราศแล้ว อธิบายว่า มีจิตสันดานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีอาสวะสิ้น
แล้ว. บทว่า ขเณน ได้แก่ ในทันใดนั่นเอง. บทว่า สนฺนิปาตยิ แปลว่า
ให้ประชุมกันแล้ว.
บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุในการประชุมและในการไปของภิกษุเหล่านั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ
โลกปสาทนะทำโลกให้เลื่อมใส แม้พวกเราก็ไปในที่
นั้น เราจักถวายบังคมพระชินพุทธเจ้า.
มาเถิด เราทั้งหมดจะพากันไป เราจักทูลถาม
พระพุทธชินเจ้า พบพระผู้นำโลกแล้ว ก็จักบรรเทา
ความสงสัยเสียได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกปฺปสาทนํ นาม ความว่า ท่าน
เรียกปาฏิหาริย์ว่า โลกปสาทนะ เพราะทำความเลื่อมใสแก่สัตว์โลก. ปาฐะว่า
อุลฺโลกปฺปสาทนํ ดังนี้ก็มี. ความว่า ชื่อ

ปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก.


ปาฏิหาริย์นั้นท่านกล่าวว่า อธิษฐานการทำสัตว์แม้ทั้งหมด เบื้องบนตั้งแต่
อกนิษฐภพ เบื้องต่ำถึงอเวจี ทำให้เป็นแสงสว่างอันเดียวกันในระหว่าง
นี้ให้เห็นซึ่งกันและกันในระหว่างนี้. บทว่า นิทสฺสยิ แปลว่า แสดง
แล้ว. บทว่า อมฺเหปิ แปลว่า แม้เราทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ความว่า ไป
ในที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. บทว่า วนฺทิสฺสาม ความว่า พวกเราจัก
ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. แต่ในคำว่า อมฺเหปิ
นี้พึงเห็นการเชื่อมความแห่งศัพท์ 2 ศัพท์นี้ว่า มยํ ศัพท์ต้น เชื่อมความกับ
กิริยาเดินไป มยํ ศัพท์หลัง เชื่อมความกับกิริยาถวายบังคม. ความจริง ความ
นอกจากนี้ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ.
บทว่า เอถ แปลว่า มาเถิด. ในคำว่า กงฺขํ วิโนทยิสฺสาม นี้
ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ความสงสัยแม้ไรๆ ของพระขีณาสพทั้งหลายไม่มี
เหตุไร พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริงทีเดียว ความ
สงสัยขาดไปด้วยปฐมมรรคเท่านั้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม (ธรรมที่พึงประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค)
คืออะไรบ้าง คือจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา 1 ดวงและ โลภะ โทสะ โมหะ มานะที่พาไปอบาย และกิเลส
ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกับจิตเหล่านั้น. แต่ความสงสัยนั้นไม่ใช่ ที่เรียกว่า
วิจิกิจฉา. ก็อะไรเล่าชื่อว่า การไม่รู้บัญญัติ. แต่พระเถระประสงค์จะทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพุทธวงศ์ ด้วยว่าพุทธวงศ์นั้นเป็นวิสัยของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายเท่านั้น มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะพุทธวงศ์มิใช่
วิสัย. บทว่า วิโนทยิสฺสาม แปลว่า จักบรรเทา.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้วต่างก็ถือเอาบาตรจีวร
ของตน ๆ มีกิเลสอันทำลายแล้วมีเครื่องผูกขาดแล้ว เหมือนช้างใหญ่ สวม
เกราะดีแล้ว มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ก็พากันรีบมาประชุม. ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ภิกษุเหล่านั้น รับคำว่าสาธุแล้ว เป็นผู้มีปัญญา
รักษาตัว สำรวมอินทรีย์ ต่างถือเอาบาตรจีวร พากัน
รีบเข้าไปหาพระเถระ.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมี วอนขอ, รับ,
ปลอบใจ, และดีเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถ วอนขอ
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ
เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ
โปรดข้าพระองค์ด้วยเถิด. ใช้ในอรรถ รับ ได้ในประโยคเป็นต้นว่าสาธุ
ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา

ภิกษุรูปนั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า.
ใช้ในอรรถ ปลอบใจ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สาริปุตฺต ดีละ
ดีละ สารีบุตร. ใช้ในอรรถ ดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.
พระราชาผู้ชอบธรรม ดี, นรชนผู้มีปัญญา ดี, ผู้ไม่
ประทุษร้ายมิตร ดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข.