เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนฺนํ ภิกขุสตานํ ได้แก่ ภิกษุ
500 รูป. ฉัฏฐีวิภัตติ พึงเห็นว่าท่านใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า กตกิจฺ-
จานํ
ความว่า ผู้จบโสฬสกิจแล้ว คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ
และภาวนากิจ ด้วยมรรค 4 ในสัจจะ 4. บทว่า ขีณาสวานํ ได้แก่ ผู้สิ้น
อาสวะ 4. บทว่า วิมลานํ ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทิน หรือชื่อว่า มีมลทินไป
ปราศแล้ว อธิบายว่า มีจิตสันดานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีอาสวะสิ้น
แล้ว. บทว่า ขเณน ได้แก่ ในทันใดนั่นเอง. บทว่า สนฺนิปาตยิ แปลว่า
ให้ประชุมกันแล้ว.
บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุในการประชุมและในการไปของภิกษุเหล่านั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ
โลกปสาทนะทำโลกให้เลื่อมใส แม้พวกเราก็ไปในที่
นั้น เราจักถวายบังคมพระชินพุทธเจ้า.
มาเถิด เราทั้งหมดจะพากันไป เราจักทูลถาม
พระพุทธชินเจ้า พบพระผู้นำโลกแล้ว ก็จักบรรเทา
ความสงสัยเสียได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกปฺปสาทนํ นาม ความว่า ท่าน
เรียกปาฏิหาริย์ว่า โลกปสาทนะ เพราะทำความเลื่อมใสแก่สัตว์โลก. ปาฐะว่า
อุลฺโลกปฺปสาทนํ ดังนี้ก็มี. ความว่า ชื่อ

ปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก.