เมนู

หรือนอบน้อมด้วยใจ. บทว่า ปูชนํ ได้แก่ และการบูชาด้วยมาลัยของหอม
และเครื่องลูบไล้เป็นต้น. บทว่า สพฺพํ ความว่า พระองค์ทรงสมควรเหมาะ
สมสักการะวิเศษดังกล่าวแล้วนั้นทุกอย่าง. บทว่า เย เกจิ โลเก วนฺทเนยฺยา
ความว่าชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ควรกราบ ควรไหว้ ควรซึ่งการไหว้ในโลก.
บทว่า เย ได้แก่ อนึ่งชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้ในโลก. ก็บทนี้เป็นไวพจน์
ของบทต้นนั้นแล. บทว่า สพฺพเสฏฺโฐ ความว่า ข้าแต่พระมหาวีระ พระ-
องค์เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชนไรที่เสมอเหมือน
พระองค์ ไม่มีในโลก.
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทรง
เนรมิตรัตนจงกรมเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นอยู่ ท่านพระสารีบุตรพร้อม
ด้วยภิกษุบริวาร 500 รูป อยู่ ณ เขาคิมฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเถระ
ตรวจดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เห็นพระองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมใน
อากาศ กรุงกบิลพัศดุ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและฌาน อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ก็เห็นพระผู้เป็นนายก
ของโลก.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าสารีบุตร เพราะ
เป็นบุตรของพราหมณีชื่อว่า สารี. บทว่า มหาปญฺโญ ได้แก่ ชื่อว่ามีปัญญา
มาก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา 16 อย่างใหญ่. ในคำว่า สมาธิชฺฌาน-

โกวิโท นี้. บทว่า สมาธิ ได้แก่ ชื่อว่าสมาธิ เพราะบรรจงตั้ง คือวางจิต
ไว้สม่ำเสมอในอารมณ์. สมาธินั้น มี 3 คือ ชนิดมีวิตกมีวิจาร ชนิดไม่มี
วิตกมีเพียงวิจาร ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. บทว่า ฌานํ ได้แก่ปฐมฌาน
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แม้ฌานอื่นมีเมตตาฌานเป็นต้นก็เป็นอันท่าน
สงเคราะห์ด้วยฌานที่กล่าวมาแล้วนี้ มีปฐมฌานเป็นต้น.
แม้ฌานก็มี 2 อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน.
บรรดาฌานทั้ง 2 นั้นวิปัสสนาญาณ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไป
เพ่งลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ส่วนฌานมีปฐมฌานเป็นต้น เรียกว่า ฌาน
เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ หรือเผาธรรมที่เป็นข้าศึก. ผู้ฉลาดในสมาธิด้วย ใน
ฌานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน. บทว่า คิชฺฌกูเฏ
ความว่า ยืนอยู่ที่ภูเขามีชื่ออย่างนี้นี่แล. บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ เห็นแล้ว.
บทว่า สุผุลฺลํ สาลราชํว เชื่อมความกับบทว่า อาโลก อย่างนี้ว่า
ท่านพระสารีบุตรตรวจดูพระทศพลผู้เป็นดังต้นพระยาสาลพฤกษ์ ซึ่งมีศีลเป็น
ราก มีสมาธิเป็นลำต้น มีปัญญาเป็นกิ่ง มีอภิญญาเป็นดอก มีวิมุตติเป็นผล
เหมือนต้นพระยาสาละ มีลำต้นกลมกลึง มีกิ่งประดับด้วยตาตูมผลใบอ่อนและ
หน่อที่อวบขึ้นดก มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น . บทว่า จนฺทํว คคเน ยถา
ความว่า ตรวจดูพระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงจันทร์ ผู้ทำการกำจัดความมืดคือ
กิเลสทั้งปวง ผู้ทำความแย้มแก่ดงโกมุทคือเวไนยชน ดุจดวงจันทร์เต็มดวง
ในฤดูสารทอันห้อมล้อมด้วยหมู่ดาว หลุดพ้นจากอุปสรรค คือ หมอก หิมะ
ควัน ละออง และราหู. บทว่า ยถา เป็นเพียงนิบาต . บทว่า มชฺฌนฺหิเกว
สูริยํ
ความว่า รุ่งโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ ที่ส่องแสงเป็นช่อชั้น ด้วยสิริเวลา
เที่ยงวัน. บทว่า นราสภํ ได้แก่ ผู้สูงสุดในนรชน.

บทว่า ชลนฺตํ แปลว่า รุ่งเรืองอยู่ อธิบายว่า พระวรสรีระประดับ
พร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะและพระอสีติอนุพยัญชนะ มีพระพักตร์ดังทอง
งาม มีสิริดังพระจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระพุทธสิริอย่างยิ่ง.
บทว่า ทีปรุกฺขํว ได้แก่ ประดุจต้นประทีปที่เขายกประทีปไว้. บทว่า ตรุณ-
สุรยํว อุคฺคตํ
ได้แก่ ประดุจดวงอาทิตย์อุทัยใหม่ ๆ อธิบายว่า รุ่งเรืองอยู่
โดยภาวะเรียบร้อย. ก็ท่านเรียกดวงอาทิตย์อ่อนๆ เพราะเหตุอุทัยขึ้น. ไม่มี
ลดแสงหรือเพิ่มแสงเหมือนดวงจันทร์ [เพราะดวงอาทิตย์ไม่มีขึ้นแรม]. บทว่า
พฺยามปฺปภานุรญฺชิตํ ได้แก่ อันพระรัศมีวาหนึ่งเปล่งแสงจับแล้ว. บทว่า ธีรํ
ปสฺสติ โลกนายกํ
ความว่า เห็นพระผู้นำ ซึ่งเป็นปราชญ์เอกของโลกทั้งปวง.
ลำดับนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดี ยืนอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ซึ่งมียอด
จรดหมู่ธารน้ำเย็นสนิทมียอดอบอวลด้วยดอกของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด
มียอดวิจิตรงามอย่างยิ่ง แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทวดาและพรหม
ซึ่งมาแต่หมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว ซึ่งเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมเป็นรัตนะ
ล้วน ด้วยพระพุทธสิริอันยอดเยี่ยม ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้จึง
คิดว่า เอาเถิด จำเราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอพระพุทธวงศ์เทศนา
อันแสดงพระพุทธคุณ จึงประชุมภิกษุ 500 รูป ซึ่งอยู่กับตน. ด้วยเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ท่านพระธรรมเสนาบดี จึงประชุมภิกษุ 500 รูป
ซึ่งทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ สิ้นอาสวะแล้ว ปราศจาก
มลทิน ทันที.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนฺนํ ภิกขุสตานํ ได้แก่ ภิกษุ
500 รูป. ฉัฏฐีวิภัตติ พึงเห็นว่าท่านใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า กตกิจฺ-
จานํ
ความว่า ผู้จบโสฬสกิจแล้ว คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ
และภาวนากิจ ด้วยมรรค 4 ในสัจจะ 4. บทว่า ขีณาสวานํ ได้แก่ ผู้สิ้น
อาสวะ 4. บทว่า วิมลานํ ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทิน หรือชื่อว่า มีมลทินไป
ปราศแล้ว อธิบายว่า มีจิตสันดานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีอาสวะสิ้น
แล้ว. บทว่า ขเณน ได้แก่ ในทันใดนั่นเอง. บทว่า สนฺนิปาตยิ แปลว่า
ให้ประชุมกันแล้ว.
บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุในการประชุมและในการไปของภิกษุเหล่านั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ
โลกปสาทนะทำโลกให้เลื่อมใส แม้พวกเราก็ไปในที่
นั้น เราจักถวายบังคมพระชินพุทธเจ้า.
มาเถิด เราทั้งหมดจะพากันไป เราจักทูลถาม
พระพุทธชินเจ้า พบพระผู้นำโลกแล้ว ก็จักบรรเทา
ความสงสัยเสียได้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกปฺปสาทนํ นาม ความว่า ท่าน
เรียกปาฏิหาริย์ว่า โลกปสาทนะ เพราะทำความเลื่อมใสแก่สัตว์โลก. ปาฐะว่า
อุลฺโลกปฺปสาทนํ ดังนี้ก็มี. ความว่า ชื่อ

ปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก.