เมนู

บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระ-
ศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดา
พระองค์นั้น ทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลาย จงนมัสการ
พระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ
ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น
พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าว
มาแล้ว. ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณฺเปตํ นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึง
ไม่เหลือเลย. คุณ ศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฏใช้ในอรรถเป็นอันมาก.
จริงอย่างนั้น คุณ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า
อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่. ที่ใช้ในอรรถว่า
กลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา
อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.
ที่ใช้ในอรรถว่า อานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา
ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย. ที่ใช้ในอรรถว่า พวง
ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก. ที่ใช้
ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺฐ คุณ สมุเปตํ อภิญฺญาพลมาหรึ
นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ 8. แม้ในที่นี้ก็พึง

เห็นว่าใช้ในอรรถว่า สมบัติ เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าเข้าถึงประกอบพร้อม
แล้ว ด้วยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งปวงคือด้วยสมบัติทุกอย่าง. บทว่า
สพฺพงฺคสมุปาคตํ ได้แก่ เข้ามาถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยพระพุทธ-
คุณหรือด้วยองคคุณทั้งปวง. บทว่า มหามุนี ได้แก่ ชื่อว่า มุนีใหญ่เพราะ
ยิ่งกว่ามุนีทั้งหลาย มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นอื่นๆ เหตุนั้นจึงเรียกว่า มหา
มุนี.
บทว่า การุณิกํ ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีกรุณา เพราะประกอบด้วยกรุณาคุณ.
บทว่า โลกนาถํ ได้แก่ เป็นนาถะเอกของโลกทั้งปวง. อธิบายว่า อันโลกทั้ง
ปวงมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้กำจัด เป็นผู้ระงับความเดือดร้อนคือ
ทุกข์ของพวกเรา ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงความที่พระทศพล ทรงเป็นผู้ควรแก่การเคารพ
นบนอบทุกอย่าง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระองค์ควรการกราบไหว้ การชมการสรรเสริญ
การนบนอบบูชา.
ข้าแต่พระมหาวีระ ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดเป็น ผู้
ควรแก่การไหว้ในโลก ชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้
พระองค์เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชน
เสมอเหมือนพระองค์ไม่มีเลย.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทนํ ได้แก่ ให้ผู้อื่นทำการกราบ
ตน. บทว่า โถมนํ ได้แก่ ชมลับหลัง. บทว่า วนฺทนํ ได้แก่ นอบน้อม.
บทว่า ปสํสนํ ได้แก่ สรรเสริญต่อหน้า. บทว่า นมสฺสนํ ได้แก่ ทำอัญชลี