เมนู

จักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด. ที่ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลี
นี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ทรวดทรง. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง. บทว่า สีเล
ได้แก่ ในศีล 4 อย่าง. บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ 3 อย่าง. บทว่า
ปญฺญาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อสาทิโส แปลว่า
ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.
บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระ-
องค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณ
ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มี
ใครเสมอ ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถา
เพียงเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
กำลังพระยาช้าง 10 เชือก เป็นกำลังปกติใน
พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้าง
ฉัททันต์ 1. เชือก. จริงอยู่กำลังของพระตถาคตมี 2 คือ กำลังพระกาย 1
กำลังพระญาณ 1. บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนว
ตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง 10 ตระกูลเหล่านี้.