เมนู

เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ สังข์
บัณเฑาะว์และกลองน้อย ๆ เป็นอันมากก็พากันบรรเลง
ในท้องฟ้า.
ในวันนี้ ความที่ขนชูชัน น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น
แล้วหนอ เราจักได้ความสำเร็จ ประโยชน์แน่แท้ เรา
ได้ขณะกันแล้ว.
เพราะได้ยินว่า พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติใน
ทันใด พากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ
พุทฺโธ.
หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า พากันประคองอัญชลี
เปล่งเสียง หึ หึ เปล่งเสียงสาธุ โห่ร้องเอิกอึงลิงโลด
ใจ.
เทพทั้งหลาย พากันขับกล่อมประสานเสียง
บรรเลง ปรบมือ และฟ้อนรำ โปรยดอกมณฑารพ
5 สี ประสมกับจุรณจันทน์.
ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ
จักร ที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จึงประดับด้วย
ธง วชิระ ประฏาก เครื่องแต่งพระองค์ ขอช้าง.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ที่ชื่อว่าสตฺถาพระศาสดา เพราะทรงสอนประโยชน์
เกื้อกูลในโลกนี้และโลกหน้า. บทว่า เกตุ ได้แก่ ชื่อว่าเกตุ เพราะทรงเป็น
เหมือนธง เพราะอรรถว่า ธงพึงเป็นของที่พึงยำเกรง. บทว่า ธโช ได้แก่

เป็นธงองค์อินทร์ พระองค์ทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้น และเพราะ
อรรถว่าน่าชม เหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็น ธชะ ธง. อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่าเข้า
เห็นธงของผู้หนึ่งผู้ใด ก็รู้ว่า นี้ธงของผู้มีชื่อนี้ เหตุนั้นผู้นี้ชื่อว่าผู้มีธง คือ
ธชี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธโช ยูโป จ อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็น
หลัก ที่เขายกขึ้น เพื่อบูชายัญทั้งหลายทั้งปวง ที่มีทานเป็นต้นมีอาสวักขยญาน
เป็นที่สุด ดังที่ตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร. บทว่า ปรายโน ได้แก่ เป็นที่พำนัก.
บทว่า ปติฏฺฐา ได้แก่ แม้พระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่ง เหมือนแผ่นมหาปฐพี เป็น
ที่พึ่งพาอาศัย เพราะเป็นที่รองรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงฉะนั้น.
บทว่า ทีโป จ ได้แก่ เป็นประทีป. อธิบายว่าประทีปที่เขายกขึ้น
สำหรับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในความมืดมีองค์ 4 ย่อมส่องให้เห็นรูป ฉันใด พระองค์
ก็ทรงเป็นประทีปส่องให้เห็นปรมัตถธรรม สำหรับเหล่าสัตว์ที่อยู่ในความมืดคือ
อวิชชาฉันนั้น. อีกนัยหนึ่ง แม้พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะ ของสัตว์
ทั้งหลายผู้จมลงในสาครคือสังสารวัฏอันเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลาง
สมุทร เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรืออัปปางในมหาสมุทรฉะนั้น เหตุนั้น
จึงชื่อว่า ทีปะ เป็นเกาะ.
บทว่า ทฺวิปทุตฺตโม ได้แก่ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ชื่อว่า ทวิป-
ทุตตมะ. ในคำนี้ ไม่คัดค้านฉัฏฐีสมาส เพราะไม่มีลักษณะแห่งนิทธารณะ จึง
สำเร็จรูปเป็นสมาสแห่งฉัฏฐีวิภัตติที่มีนิทธารณะเป็นลักษณะ. ถ้าจะพึงมีคำถาม
ว่า ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสอง
เท้า มีสี่เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา ที่มีสัญญาก็
ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่าสูงสุดแห่ง
สัตว์สองเท้าเล่า พึงตอบว่า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่

ธรรมดาผู้ประเสริฐสุดโนโลกนี้เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดในประเทศของสัตว์ไม่มีเท้า
และสัตว์สี่เท้า ท่านผู้นี้ย่อมเกิดในเหล่าสัตว์สองเท้าเท่านั้น ถามว่า ในเหล่า
สัตว์สองเท้าประเภทไร. ตอบว่าในเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. เมื่อเกิดใน
เหล่ามนุษย์ย่อมบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถทำสามพันโลกธาตุ มากพัน
โลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่อเกิดในเหล่าเทวดาย่อมบังเกิดเป็นท้าวมหา-
พรหม ซึ่งมีอำนาจในหมื่นโลกธาตุได้. ท้าวมหาพรหมนั้น ย่อมพร้อมที่จะ
เป็นกัปปิยการกหรืออารามิกของพระพุทธเจ้านั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึง
เรียกว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าท้าวมหาพรหม
แม้นั้น.
บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ โลกธาตุที่นับได้หมื่นหนึ่ง.
บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ประกอบด้วยฤทธิ์อย่างใหญ่. อธิบายว่ามีอานุภาพมาก.
บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรอบ. บทว่า
ปสนฺนา ได้แก่ เกิดศรัทธา. บทว่า นราสภํ ได้แก่ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด
ในนรชน. ในบทว่า อโห อจฺฉริยํ นี้ ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะไม่มีเป็นนิตย์
เหมือนอย่างคนตาบอดขึ้นเขา หรือชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบ
มือ. อธิบายว่า ควรเพื่อปรบมือว่า โอ ! นี้น่าประหลาดจริง. บทว่า อพฺภุตํ
ได้แก่ ไม่เคยเป็น ไม่เป็นแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อ อัพภุตะ. แม้สองคำนี้ก็เป็นชื่อ
ของความประหลาดใจ. บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ ทำความที่โลมชาติมีปลาย
ขึ้น [ชูชัน]. บทว่า น เมทิสํ ภูตปุพฺพํ ความว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็น ไม่
เป็นเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น. พึงนำคำว่า ทิฏฺฐํ เห็น มาประกอบไว้ด้วย.
บทว่า อจฺเฉรกํ แปลว่า อัศจรรย์.

บทว่า สกสกมฺหิ ภวเน ได้แก่ ในภพของตนๆ. บทว่า นิสีทิตฺวา
ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้. ก็คำว่า เทวตา นี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวทั่วไปทั้งแก่
เทพบุตร ทั้งแก่เทพธิดา. บทว่า หสนฺติ ตา ความว่า เทวดาเหล่านั้น
หัวเราะลั่น ไม่ทำความแย้มยิ้ม หัวร่อสนั่นไหว เพราะหัวใจตกอยู่ใต้อำนาจ
ปีติ. บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ.
บทว่า อากาสฏฺฐา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ ณ วิมานเป็นต้นในอากาศ.
แม้ในเทวดาที่อยู่ภาคพื้นดินก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติณปนฺถนิวาสิโน
ได้แก่ ที่อยู่ประจำยอดหญ้าและทางเปลี่ยว. บทว่า ปุญฺญวนฺโต ได้แก่ ผู้มี
บุญมาก. บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า สงฺคีติโย
ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เครื่องสังคีตของเทพนาฏกะก็บรรเลง อธิบายว่า ประกอบ
ขึ้นเพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า อมฺพเร แปลว่า ในอากาศ. บทว่า
อนิลญฺชเส แปลว่า ทางอากาศ. ท่านกล่าวว่า อนิลญฺชเส ก็เพราะอากาศ
เป็นทางอเนกประสงค์. เป็นไวพจน์ของคำต้น . บทว่า จมฺมนทฺธานิ แปลว่า
ที่หุ้มด้วยหนัง. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน อธิบายว่ากลองทิพย์. บทว่า
วาเทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมประโคม.
บทว่า สงฺขา ได้แก่ สังข์เป่า. บทว่า ปณวา ได้แก่ เครื่องดนตรี
พิเศษตรงกลางคอด. กลองขนาดเล็กๆ ท่านเรียกว่า ฑณฺฑิมา. บทว่า
วชฺชนฺติ แปลว่า ประโคม. บทว่า อพฺภุโต วต โน แปลว่า น่าอัศจรรย์
จริงหนอ. บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า เกิดแล้ว. บทว่า โลมหํสโน ได้แก่
ทำขนชูชัน. บทว่า ธุวํ อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระศาสดาพระองค์นี้อัศจรรย์
อุบัติในโลก ฉะนั้น พวกเราจักได้ความสำเร็จประโยชน์โดยแท้แน่นอน. บทว่า
ลภาม แปลว่า จักได้. บทว่า ขโณ ความว่า ขณะที่ 9 เว้นจาก

อขณะ 8. บทว่า โน แปลว่า อันเราทั้งหลาย. บทว่า ปฏิปาทิโต แปลว่า
ได้แล้ว.
บทว่า พุทฺโธติ เตสํ สุตฺวาน ความว่า ปีติ 5 อย่างเกิดแก่เทพ
เหล่านั้น เพราะได้ยินคำนี้ว่า พุทฺโธ. บทว่า ตาวเท แปลว่า ในทันที. บทว่า
หิงฺการา ได้แก่ เสียงที่ทำว่า หึหึ. ยักษ์เป็นต้นย่อมทำเสียงว่า หึ หึ ในเวลา
ร่าเริง. บทว่า สาธุการา ได้แก่ เสียงทำว่า สาธุ ก็เป็นไป. บทว่า อุกุฏฺฐิ
ได้แก่ เสียงโห่และเสียงกึกก้อง. เทวดาเป็นต้น ท่านประสงค์ว่าปชา. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ธงประฏากต่างๆ ก็เป็นไปในท้องฟ้า. บทว่า คายนฺติ ได้แก่
ขับร้องเพลงที่ประกอบพระพุทธคุณ.
บทว่า เสเฬนฺติ ได้แก่ ทำเสียงประสานด้วยปาก. บทว่า วาทยนฺติ
ความว่า พิณมีพิณชื่อว่าวิปัญจิกาและมกรมุขเป็นต้นขนาดใหญ่ และดนตรีทั้ง
หลายก็บรรเลงประกอบขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า ภุชานิ โปเถนฺติ
แปลว่า ปรบมือ. พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส. บทว่า นจฺจนฺติ จ ได้แก่
ใช้ให้ผู้อื่นฟ้อนด้วย ฟ้อนเองด้วย.
ในคำว่า ยถา ตุยฺหํ มหาวีร ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ นี้ ยถา
แปลว่า โดยประการไรเล่า. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียร
อย่างใหญ่. บทว่า ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ ความว่า ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง
ของพระองค์ มีลักษณะจักร [ล้อ] มีซี่กำมีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง
งดงาม. ก็ จักกศัพท์นี้ ปรากฏใช้ในอรรถมีสมบัติ, ส่วนของรถ, อิริยาบถ,
ทาน, รัตนจักร, ธรรมจักร, ขุรจักร, และลักษณะเป็นต้น. ที่ใช้ในอรรถว่า
สมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ
สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ 4 ที่เมื่อเทวดา

และมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถได้ในบาลีเป็นต้น
ว่า จกฺกํ ว วทโต ปทํ เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียน
ไป. ที่ใช้ในอรรถว่า อิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ
มีอิริยาบถ 4 มีทวาร 9. ที่ใช้ในอรรถว่า ทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ททํ ภุญฺช จ
มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตย สพฺพปาณีนํ
ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอย
อย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่า รัตนจักร ได้ใน
บาลีนี้ว่า ทิพฺพํ จกฺกรตนํ ปาตภูตํ จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้
ในอรรถว่า ธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ ธรรมจักร
อันเราให้เป็นไปแล้ว . ที่ใช้ในอรรถว่า ขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับ
ประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก
จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครองงำแล้ว. ที่ใช้ใน
อรรถว่า ลักษณะ. ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะ
ทั้งหลายเกิดแล้ว ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า
จักรคือลักษณะ. บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิตํ ความว่า
ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย]
วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์]
และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะ
ที่เหลือไว้ด้วย. พระอนุพยัญชนะ 80 และพระรัศมี 1 วา ก็เหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริส-
ลักษณะ 32 พระอนุพยัญชนะ 80 และพระรัศมี 1 วา ก็เปล่งพระพุทธรัศมีมี
พรรณะ 6 ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริ-
ฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัว ที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว

เหมือนเสาระเนียดทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างาม
ระยับด้วยดวงดาว.
บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระ
รูป ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรม-
จักร.
แก้อรรถ
รูปศัพท์นี้ว่า รูเป ในคาถานั้น ปรากฏใช้ในอรรถมี ขันธ์ ภพ
นิมิต ปัจจัย สรีระ วรรณะและทรวดทรงเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า รูป ศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า รูปขันธ์ ได้ในบาลีนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนนํ รูปขันธ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เป็นอดีต อนาคต
ปัจจุบัน. ที่ใช้ในอรรถว่า รูปภพ ได้ในบาลีนี้ว่า รูปูปปตฺติยา มคฺคํ
ภาเวติ ย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ. ที่ใช้ในอรรถว่า กสิณนิมิต ได้
ในบาลีนี้ว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สำคัญอรูป
ภายใน ย่อมเห็นกสิณนิมิตภายนอก. ที่ใช้ในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในบาลีนี้ว่า
สรูปา ภิกฺขเว อุปฺปชฺชนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา โน อรูปา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมมีปัจจัยหรือไม่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น. ที่ใช้
ในอรรถว่า สรีระ ได้ในบาลีนี้ว่า อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขํ
คจฺฉติ อากาศที่ห้อมล้อม ก็นับได้ว่าสรีระ. ที่ใช้ในอรรถว่า วรรณะ ได้ใน
บาลีนี้ว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ อาศัย

จักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด. ที่ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลี
นี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ทรวดทรง. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง. บทว่า สีเล
ได้แก่ ในศีล 4 อย่าง. บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ 3 อย่าง. บทว่า
ปญฺญาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อสาทิโส แปลว่า
ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.
บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระ-
องค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณ
ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มี
ใครเสมอ ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถา
เพียงเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
กำลังพระยาช้าง 10 เชือก เป็นกำลังปกติใน
พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้าง
ฉัททันต์ 1. เชือก. จริงอยู่กำลังของพระตถาคตมี 2 คือ กำลังพระกาย 1
กำลังพระญาณ 1. บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนว
ตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง 10 ตระกูลเหล่านี้.