เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่า ชินะ เพราะทรง
ชนะข้าศึกคือกิเลส. บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้าง
ของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.
บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้นพึงทราบว่า
ก็เป็นรัตนะต่าง ๆ. บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร. บทว่า โสวณฺณ-
ผลกตฺถตา
แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้
เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน. บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา
ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรม ก็มี
ไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ. บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา
แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.
บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายที่เป็น
แก้วมณีและแก้วมุกดา. อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย
ชื่อว่า แก้วมณีแก้วมุกดาและทราย. เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและ
ทรายเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้. บทว่า รตนามโย
ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่าที่จงกรม. บทว่า โอภาเสติ ทิสา
สพฺพา
ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง 10 ทิศ. บทว่า สตรํสีว
ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น . บทว่าอุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว
อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง
10 ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.

บัดนี้ เมื่อที่จงกรมสำเร็จแล้ว เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ณ ที่จงกรมนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า
พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้ทรงพระมหา-
ปุริสลักษณะ 32 ประการ เมื่อทรงรุ่งโรจน์ ณ ที่
จงกรมนั้น ก็เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรม.
เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน พากันโปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ อันเป็นของ
ทิพย์ลงเหนือที่จงกรม.
หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ก็บันเทิง พากันชม
พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต่างยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
พากันมาชุมนุมนมัสการ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธิติปัญญา.
บทว่า ทฺวตฺตึสวรลกฺขโณ ความว่า ผู้ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ
32 ประการ มีฝ่าพระบาทตั้งลงด้วยดี. บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดใน
เทวโลก ชื่อว่าของทิพย์. บทว่า ปาริฉัตตกะ ความว่า ต้นปาริฉัตตกะที่น่าชม
อย่างยิ่ง ขนาดร้อยโยชน์โดยรอบ บังเกิดเพราะผลบุญแห่งการถวายต้นทองหลาง
ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์. เมื่อปาริฉัตตกะต้นใดออกดอกบานแล้ว ทั่วทั้งเทพ-
นครจะอบอวลด้วยกลิ่นหอมเป็นอย่างเดียวกัน. วิมานทองใหม่ทั้งหลาย ที่
กลาดเกลื่อนด้วยละอองดอกของปาริฉัตตกะต้นนั้น จะปรากฏเป็นสีแดงเรื่อ ๆ.
และดอกของต้นปาริฉัตตกะนี้ ท่านเรียกว่า ปาริฉัตตกะ. บทว่า จงฺกมเน
โอกิรนฺติ ความว่า ย่อมโปรยลง ณ ที่รัตนจงกรมนั้น บูชาพระผู้มีพระ-