เมนู

บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้น
ว่า
จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ
เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม ที่จง-
กรมสำเร็จด้วยรัตนะ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่น
จักรวาล. บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุด
ที่เรียกกันว่ามหาเมรุ. บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตใน
หมื่นจักรวาล ให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดัง
เสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว. บทว่า รตนาม-
เย
ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.
บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิต ทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้น
ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่ง
ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระชินพุทธเจ้า ทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่น
โลกธาตุ ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทอง
หมด.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่า ชินะ เพราะทรง
ชนะข้าศึกคือกิเลส. บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้าง
ของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.
บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้นพึงทราบว่า
ก็เป็นรัตนะต่าง ๆ. บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร. บทว่า โสวณฺณ-
ผลกตฺถตา
แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้
เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน. บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา
ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรม ก็มี
ไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ. บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา
แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.
บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายที่เป็น
แก้วมณีและแก้วมุกดา. อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย
ชื่อว่า แก้วมณีแก้วมุกดาและทราย. เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและ
ทรายเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้. บทว่า รตนามโย
ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่าที่จงกรม. บทว่า โอภาเสติ ทิสา
สพฺพา
ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง 10 ทิศ. บทว่า สตรํสีว
ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น . บทว่าอุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว
อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง
10 ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.