เมนู

คำนั้นทั้งหมด วิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดรู้ได้โดยง่ายด้วยการ
ติดตามเนื้อความไปตามลำดับของปาฐะนั่นแล จะต่างกันก็แต่บุญกุศลอย่าง
เดียวเท่านั้นแล.
จบอรรถกถาราธเถราปทาน

โมฆราชเถราปทานที่ 10 (540)



ว่าด้วยบุพจริยาของพระโมฆราชเถระ



[130] ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสน-
หนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรง
รู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ มีจักษุ ได้
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรง
แสดงให้สัตว์รู้ชัดยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วย
ประชุมชน ให้ข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก
พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย
พระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยัง
เดียรถีย์ที่มาเฝ้า ให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน
เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจึงไม่มีความ
อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์
ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหามุนีพระองค์
นั้นสูงประมาณ 58 ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้าย
ทองคำอันล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ 32
ประการ

ครั้งนั้น อายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์
พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณ
เท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก ให้ข้าม
พ้นวัฏสงสารไปได้
ครั้งนั้น เราเป็นผู้ประกอบในหนทาง
แห่งการงานของบุคคลอื่น ในสกุลหนึ่ง ใน
พระนครหังสวดี ทรัพย์สินอะไร ๆ ของเราไม่มี
เราอาศัยอยู่ที่พื้นซึ่งเขาทำไว้ที่หอฉัน
เราได้ก่อไฟที่พื้นหอฉันนั้น พื้นศิลาจึงดำไป
เพราะไฟลน
ครั้งนั้น พระโลกนาถผู้ประกาศสัจจะ 4
ได้ตรัสสรรเสริญพระสาวกผู้ทรงจีวรเศร้าหมองใน
ประชุมชน
เราชอบใจในคุณของท่าน จึงได้ปฏิบัติ
พระตถาคต ปรารถนาฐานันดรอันสูงสุด คือความ
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ได้ตรัสกะพระสาวกทั้งหลายว่า จง
ดูบุรุษนี้ ผู้มีผ้าห่มน่าเกลียด ผอมเกร็ง มีหน้า
ผ่องใสเพราะปีติ ประกอบด้วยทรัพย์คือศรัทธา มี
กายและใจสูง เพราะปีติ ร่าเริง ไม่หวั่นไหว
หนาแน่นไปด้วยธรรมที่เป็นสาระ

บุรุษนี้ชอบใจในคุณของภิกษุผู้ทรงจีวร
เศร้าหมอง ปรารถนาฐานันดรนั้นอย่างจริงใจ
เราได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ก็เบิก
บาน ถวายบังคมพระพิชิตมารด้วยเศียรเกล้า ทำ
แต่กรรมที่ดีงามในศาสนาของพระชินเจ้าตราบ
เท่าสิ้นชีวิต
เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ
ตั้งเจตนจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพราะกรรมคือการเอาไฟลนพื้นที่หอฉัน
เราจึงถูกเวทนาเบียดเบียน ไหม้แล้วในนรกพันปี
ด้วยเศษกรรมที่เหลือนั้น เราเป็นมนุษย์
เกิดในสกุล จึงเป็นผู้มีรอยเครื่องหมายถึง 500
ชาติโดยลำดับ
เพราะอำนาจกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้เพียบ
พร้อมด้วยโรคเรื้อน เสวยมหันต์ทุกข์ถึง 500 ชาติ
เหมือนกัน
ในภัทรกัปนี้ เรามีจิตเลื่อมใส เลี้ยงดู
พระอุปริฏฐะผู้มียศ ให้อิ่มหนำด้วยบิณฑบาต
เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือนั้น และ
เพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว
ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เมื่อถึงภพสุดท้าย ได้บังเกิดในสกุล
กษัตริย์ เมื่อพระชนกล่วงไปแล้วก็ได้เป็นพระ-
มหาราชา
เราถูกโรคเรื้อนครอบงำ กลางคืนไม่ได้
รับความสุข เพราะสุขที่เกิดจากความเป็นพระ-
เจ้าแผ่นดินหาประโยชน์นั้นได้ ฉะนั้น เราจึงชื่อว่า
โมฆราช
เราเห็นโทษของร่างกาย จงได้บวชเป็น
บรรพชิต มอบตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี
ผู้ประเสริฐ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้นำนรชนพร้อม
ด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้ทูลถามปัญหาอัน
ละเอียดลึกซึ้งว่า
โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลกกับทั้ง
เทวโลก ข้าพระองค์ไม่ทราบความเห็นของพระ
องค์ ผู้ทรงพระนามว่าโคดม ผู้มียศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีปัญหามาถึงพระ-
องค์ ผู้ทรงเห็นล่วงสามัญชน ข้าพระองค์จะ
พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น
พระพุทธเจ้าผู้ทรงรักษาโรคทุกอย่างให้
หายได้ ได้ตรัสกะเราว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจง
เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความ

เป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวตนเสีย
บุคคลพึงข้ามพ้นมัจจุราชไปได้ด้วยอุบายเช่นนี้
ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึง
จะไม่เห็น เราเป็นผู้ไม่ผมและหนวด นุ่งผ้า
กาสาวพัสตร์ เป็นภิกษุพร้อมกับเวลาจบพระคาถา
เราเป็นผู้ถูกโรคเบียดเบียน ถูกเขาว่า
กล่าวว่า วิหารอย่าเสียหายเสียเลย จึงไม่ได้อยู่
ในวิหารของสงฆ์ เรานำเอาผ้ามาจากกองหยาก
เยื่อ ป่าช้าและหนทาง แล้วทำผ้าสังฆาฏิด้วยผ้า
เหล่านี้ ทรงจีวรที่เศร้าหมอง
พระผู้นำชน พิเศษเป็นนายแพทย์ใหญ่
ทรงพอพระทัยในคุณอันนั้นของเรา จึงทรงตั้งเรา
ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายที่ทรงจีวรเศร้าหมอง
เราสิ้นบุญและบาป หายโรคทุกอย่าง ไม่
มีอาสวะ ดับสนิทเหมือนเปลวไฟที่มอดเชื้อ
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโมฆราชเถราปทาน

อรรถกถาโมฆราชเถราปทาน



อปทานของท่านพระโมฆราชเถระที่ 1. มีเนื้อความพอที่จะกำหนด
ได้โดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาโมฆราชเถราปทาน
จบอรรถกถากัจจายนวรรคที่ 54

รวมอปทานที่มีในวรรค

นี้ คือ

1. มหากัจจายนเถราปทาน 2. วักลลิเถราปทาน 3. มหากัปปิน-
เถราปทาน 4. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน 5. กุมารกัสสปเถราปทาน
6. พาหิยเถราปทาน 7. มหาโกฏฐิตเถราปทาน 8. อรุเวลกัสสปเถราปทาน
9. ราธเถราปทาน 10. โมฆราชเถราปทาน.
ในวรรคนี้ บัณฑิตประมวลคาถาได้ 362 คาถา
จบกัจจายนวรรคที่ 54