เมนู

วังนั้น เมื่อเธอไปถึงแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส พระเถระมีตนเป็นที่ 8
ได้ไปในพระราชวังนั้น ตามพระบัญชาของพระศาสดา ได้ทำให้พระราชาทรง
เลื่อมใสแล้ว ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ในอวันตีชนบทเรียบร้อยแล้ว จึง
ได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก ด้วยอำนาจความปรารถนาในครั้งก่อนของตน
ปกรณ์ทั้ง 3 คือ กัจจายนปกรณ์ มหานิรุตติปกรณ์ และเนตติปกรณ์ จึงได้
ปรากฏแล้วในท่ามกลางสงฆ์. ต่อมาท่านได้รับสถาปนาจากพระผู้มีพระภาค
เจ้าผู้ทรงสันโดษ ไว้ในตำแหน่งที่เลิศ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหากัจจานะเป็นเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จำแนกเนื้อความที่เรากล่าวไว้
โดยย่อ ทำให้พิสดารได้ ดังนี้แล้ว ท่านก็อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่พระอรหัต-
ผลแล.
จบอรรถกถามหากัจจายนเถราปทาน

วักกลิเถราปทานที่ 2 (532)



ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ



[122] สมเด็จพระผู้นำมีพระนามไม่
ทราม มีพระคุณนับไม่ได้ พระนามว่า ปทุมุตตระ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้
พระองค์ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็
เพราะมีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม มีพระฉวี-
วรรณงามไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม ไม่เปื้อน
ด้วยโลก เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ ฉะนั้น

เป็นนักปราชญ์ มีพระอินทรีย์ดังใบปทุม
และน่ารักเหมือนดอกปทุม ทั้งมีพระโอษฐ์มีกลิ่น
อุดม เหมือนกลิ่นในกลีบของดอกปทุม เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.
พระองค์เป็นผู้เจริญกว่าโลก ไม่ทรงถือ
พระองค์ เปรียบเสมือนเป็นนัยน์ตาให้คนตาบอด
มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่ฝั่งพระคุณ เป็นที่
รองรับกรุณาและมติ
ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีรเจ้าพระ-
องค์นั้น ก็เป็นผู้อันพรหม อสูรและเทวดาบูชา
สูงสุดกว่าชน ในท่ามกลางหมู่ชนที่เกลื่อนกล่นไป
ด้วยเทวดาและมนุษย์
เมื่อจะยังบริษัททั้งปวงให้ยินดีด้วยพระ-
สำเนียงอันเสนาะ และด้วยพระธรรมเทศนาอัน
เพราะพริ้ง จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า
ภิกษุอื่นที่พ้นกิเลสด้วยศรัทธา มีมติดี
ขวนขวายในการดูเรา เช่นกับวักกลิภิกษุนี้ ไม่มี
เลย
ครั้งนั้น เราเป็นบุตรของพราหมณ์ใน
พระนครหังสวดี ได้สดับพระพุทธภาษิตนั้น จึง
ชอบใจฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น เราได้นิมนต์พระตถาคตผู้
ปราศจากมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก
ให้เสวยตลอด 7 วัน แล้วให้ครองผ้า
เราหมอบศีรษะลงแล้วจมลงในสาครคือ
อนันตคุณของพระศาสดาพระองค์นั้น เต็มเปี่ยม
ไปด้วยปีติ ได้กราบทูล ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระมหามุนี ขอให้ข้าพระองค์ได้
เป็นเช่นกับภิกษุผู้สัทธาธิมุต ที่พระองค์ตรัส
ชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุผู้มีศรัทธาในพระศาสนา
นี้เถิด
เมื่อเรากราบทูลดังนี้แล้ว พระมหามุนี
ผู้มีความเพียรใหญ่ มีพระทรรศนะมิได้เครื่อง
กีดกัน ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า
จงดูมาณพผู้นี้ ผู้นุ่งผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง
มีอวัยวะอันบุญสร้างสมให้คล้ายทองคำ ดูดดื่มตา
และใจของหมู่ชน ในอนาคตกาล มาณพผู้นี้จักได้
เป็นพระสาวกของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง
ใหญ่ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต
เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตามจักเป็นผู้
เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง รวบรวมโภคทรัพย์
ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระ-
นามชื่อว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
มาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-
ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าวักกลิ
เพราะผลกรรมที่เหลือนั้น และเพราะ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เรามีความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไป
ในภพน้อยภพใหญ่ ได้เกิดในสกุลหนึ่งในพระ-
นครสาวัตถี
มารดาของเราถูกภัยแต่ปีศาจคุกคาม มี
ใจหวาดกลัวจึงให้เราผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น
นุ่นนิ่มเหมือนใบไม้อ่อน ๆ ซึ่งยังนอนหงาย ให้
นอนลงแทบบาทมูลของพระผู้แสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ กราบทูลว่าข้าแต่พระโลกนาถ หม่อม
ฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์ ข้าแต่พระโลก
นายก ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเราด้วยเถิด
ครั้งนั้น สมเด็จพระมุนีผู้เป็นที่พึ่งของ
หมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว พระองค์ได้ทรงรับเราด้วย
ฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มมีตาข่ายอันท่านกำหนด
ด้วยจักร

จำเดิมแต่นั้นมา เราก็เป็นผู้ถูกรักษาโดย
พระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้พ้นจาความป่วยไข้ทุก
อย่าง อยู่โดยสุขสำราญ
เราเว้นจากพระสุคตเสียเพียงครู่เดียวก็
กระสัน พออายุได้ 7 ขวบ เราก็ออกบวชเป็น
บรรพชิต
เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประ-
เสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงตาสีเขียว
ล้วน เกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม
ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงทราบว่า เรา
ยินดีในพระรูป จงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลย
วักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียด ซึ่งชน
พาลชอบเล่า
ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อ
ว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อ
ว่าไม่เห็น
กายมีโทษไม่สิ้นสุดเปรียบเสมอด้วยต้นไม้
มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง ล้วนเป็นที่ประชุม
ของทุกข์
เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง
ขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดย
ง่าย

เราอันสมเด็จพระโลกนายกผู้แสวงหา
ประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ได้
ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขา
พระพิชิตมารผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่
เชิงเขา เมื่อจะทรงปลอบโยนเรา ได้ตรัสเรียก
ว่า วักกลิ เราได้ฟังพระดำรัสนั้นเข้าก็เบิกบาน
ครั้งนั้น เราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาสูงหาย
ร้อยชั่วบุรุษ แต่ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียว
ด้วยพุทธานุภาพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระ-
ธรรมเทศนา คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
แห่งขันธ์ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้วจึง
ได้บรรลุอรหัต
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระ-
ปรีชาใหญ่ทรงทำที่สุดแห่งจรณะ ทรงประกาศ
ในท่ามกลางมหาบุรุษว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลายฝ่ายสัทธามุต
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด
ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตภาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวักกลิเถราปทาน

532. อรรถกถาวักกลิเถราปทาน



พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระวักกลิเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ
นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้
บังเกิดในเรือนอันมีสากล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ไปยัง
พระวิหารพร้อมกับพวกอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งกำลังเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา
ไปถึงแล้วยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท กำลังฟังธรรมอยู่ มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่ง
พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศรัทธา-
ธิมุต (คือหนักไปในความเชื่อ) แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงได้
ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด 7 วัน แล้วได้ตั้ง
ปณิธานไว้แล้ว พระศาสดาทรงเห็นว่าเธอไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์.
เขาได้บำเพ็ญกุศลกรรมไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้บังเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี. มารดาบิดาได้ตั้งชื่อเขาว่า วักกลิ. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า กลิ เป็นชื่อของโทษมีมลทินและตกกระเป็นต้น กลิ คือ