เมนู

สุภูติวรรคที่ 3


สุภูติเถราปทานที่ 1 (21)


ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ


[23] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อนิสภะ เราได้สร้าง
อาศรมไว้ที่ภูเขานิสภะนั้นอย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้.

ในกาลนั้น เราเป็นชฎิลมีนามชื่อว่าโกสิยะ มีเดชรุ่งเรือง
ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ที่ภูเขานิสภะ.

เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ ใน
กาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้นที่เกิดเองและหล่นเองเลี้ยงชีวิต

เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ แม้จะสละชีวิต ย่อมยังจิต
ของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา.

จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้นแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้นเราบอก
ตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น.

ท่านกำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคือง
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงใหลในอารมณ์
เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จงออกไปเสียจากป่า.

ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ ท่านอย่า
ประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่าเถิด.

ท่านจักเป็นเจ้าเรือน ได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด ท่านอย่ายินดี
แม้ทั้งสองอย่างนั้นเลย จงออกไปจากป่าเถิด.

เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ไม่ใช่ทำกิจอะไรที่ไหน ๆ ไม้

นั้นเขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้านหรือป่าหรือในป่า ฉันใด ท่านก็
เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ฉันนั้น ไม่ใช่คฤหัสถ์ สมณะก็ไม่ใช่
วันนี้ท่านพ้นจากเพศทั้งสอง จงออกจากป่าไปเสียเถิด.

ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ข้อนี้ของท่าน ใครจะ
นำธุระของเราไปโดยเร็ว เพราะท่านมากด้วยความเกียจ
คร้าน.

วิญญูชนจักเกลียดท่าน เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่
สะอาดฉะนั้น ฤๅษีทั้งหลาย จักคร่าท่านมาโจทท้วงทุกเมื่อ.

วิญญูชนจักประกาศท่านว่ามีศาสนาอันท่านก้าวล่วงแล้ว ก็
เมื่อ ไม่ได้สังวาส ท่านจักเป็นอยู่อย่างไร.

ช้างมีกำลัง เข้าไปหาช้างกุญชรสกุลช้างมาตังคะตกมัน
ในที่ 3 แห่ง มีอายุ 60 ถอยกำลังแล้วนำออกจากโขลง มัน
ถูกขับจากโขลงแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ มันเป็นสัตว์
มีทุกข์เศร้าใจ เขาหวั่นไหวอยู่ ฉันใด.

ชฎิลทั้งหลายจักนำ (ขับ) แม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก
ท่านถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ
ฉันนั้น.

ท่านเพียบพร้อมแล้วด้วยลูกศร คือความโศก ทั้งกลาง-
วันและกลางคืน จักถูกความเร่าร้อนแผดเผาเหมือนช้างถูก
ขับจากโขลงฉะนั้น.

หม้อน้ำทองย่อมไม่ไปในที่ไหน ๆ ฉันใด ท่านมีศีลอัน
เสื่อมแล้ว ฉันนั้น จักไม่ไปในที่ไหน ๆ.

แม้ท่านอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไร ทรัพย์อัน
เป็นของมารดาและแม้ของบิดาที่ฝังไว้ของท่าน ไม่มี.

ท่านจักต้องทำการงานของตน จะต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ จัก
เป็นอยู่ในเรือนอย่างนี้ กรรมที่ดีนั้นท่านไม่ชอบ.

เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น เรา
ได้ธรรมกถาต่าง ๆ ห้ามจิตจากบาปธรรม.

เมื่อเรามีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เวลา 3
หมื่นปีล่วงเราไปในป่าใหญ่.

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเห็นเราผู้ไม่
ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์น่าอันอุดม จึงเสด็จมายังสำนัก
ของเรา.

พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังสีทองชมพูนุท หาประมาณมิได้
ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เสด็จจงกรมอยู่
ในอากาศในเวลานั้น.

พระพุทธเจ้าไม่มี ใครเสมอด้วยพระญาณ เหมือนพญารัง
มีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าในระหว่างกลีบเมฆ พระ-
องค์เสด็จจงกรนอยู่ในอากาศในเวลานั้น.

ดังราชสีห์ผู้ไม่กลัว ดุจพญาช้างร่าเริง เหมือนพญา-
เสือโคร่งผู้ไม่ครั่นคร้าม เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศเวลานั้น.

พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังแต่งทองสิงคี เปรียบด้วยถ่าน
เพลิงไม้ตะเคียน มีพระรัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณี เสด็จ
จงกรมอยู่ในอากาศในกาลนั้น.

พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีเปรียบดังเขาไกรลาสอัน บริสุทธิ์
เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศในเวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ
ดุจพระอาทิตย์เวลาเที่ยง.

เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศ ในเวลานั้น
จงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผ้านี้เป็นเทวดาหรือว่าเป็นมนุษย์. นระเช่น
นี้ เราไม่เคยได้ฟังหรือเห็นในแผ่นดิน บทมนต์จะมีอยู่บ้าง
กระมัง ผู้นี้จักเป็นพระศาสดา.

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรา
รวบรวมดอกไม้และของหอมต่าง ๆ ไว้ในเวลานั้น.

ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้อันวิจิตรดีเป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระผู้เป็นสารถีว่า

ข้าแต่พระวีรเจ้า อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้า-
พระองค์จัดไว้ถวายแล้ว ขอได้โปรดทรงยังจิตของข้าพระองค์
ให้ร่าเริง ประทับนั่ง บนอาสนะดอกโกสุมเถิด.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ทรงหวาด ดังพญาไกรสร
ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น 7 คืน 7 วัน.

เราก็ได้ยินนมัสการพระองค์ตลอด 7 คืน 7 วัน พระ-
ศาสดายอดเยี่ยมในโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรง
พยากรณ์กรรมของเรา ได้ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า ทำจงเจริญ
พุทธานุสสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย.

ท่านเจริญพุทธานุสสตินี้แล้ว จักยังใจให้เต็มได้ จัก
รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด 3 หมื่นกัป.

จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ 80 ครั้ง จัก
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้น 1,000ครั้ง.

จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)
พุทธานุสสติ.

เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็นอันมาก
จะไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)
พุทธานุสสติ.

ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคดม โดยพระ-
โคตร จักยังมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ
อุบัติในโลก

ท่านจักทิ้งทรัพย์ 80 โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก
จักบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
โคดม. จักยังพระสัมพุทธเจ้าโคคมศากยบุตรผู้ประเสริฐให้
ทรงยินดี จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสุภูติ.

พระศาสดาพระนามว่าโคดม ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรงตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศใน 2 ตำแหน่ง.
คือในคณะพระทักขิไณยบุคคล 1 ในความเป็นผู้มีธรรมเครื่อง
อยู่โดยไม่มีข้าศึก 1.

พระสัมพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ทรงเป็นนายกสูงสุด เป็น
นักปราชญ์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดัง
พญาหงส์ในอัมพร.

เราอันพระโลกนาถทรงพร่ำสอนแล้ว นมัสการพระตถาคต
มีจิตเบิกบาน เจริญพุทธานุสสติอันอุดมทุกเมื่อ.

ด้วยกุศลกรรมที่เราทำได้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้
เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ได้เป็นจอมเทวดา
เสวยทิพยสมบัติ 80 ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
1,000 ครั้ง.

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
ได้เสวยสมบัติเป็นดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธา-
นุสสติ.

เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราย่อมได้โภค-
สมบัติมา เราไม่มีความบกพร่องโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง
(การเจริญ) พุทธานุสสติ.

ในแสนกัป แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมอันใดไว้ในกาลนั้น
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นิเป็นผลแห่ง
(การเจริญ) พุทธานุสสติ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนั้นแล.

ทราบว่า ท่านพระสุภูติเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบสุภูติเถราปทาน

สุภูติวรรคที่ 3


21. อรรถกถาสุภูติเถราปทาน


อปทานของท่านพระสุภูติเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร
ดังนี้.
ท่านสุภูติเถระแม้นี้ บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลาย้อนเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก ยังไม่
เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัตทกัปนี้ ท่านเกิดเป็นบุตรน้อยคน
หนึ่งของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในหังสวดีนคร. พราหมณ์ได้ตั้งชื่อท่าน
ว่า นันทมาณพ. นันทมาณพนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็น
สิ่งที่เป็นสาระในไทรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤาษีอยู่ที่เชิงเขาพร้อมด้วยมาณพ
44,000 ผู้เป็นบริวารของคน ยังสมาบัติ 8 และอภิญญา 5 ให้เกิดแล้ว.
ทั้งได้บอกกรรมฐานให้แก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิก
เหล่านั้นต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระเสด็จอุบัติ
ขึ้นในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจ
ดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก
ของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วย
องค์สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่
ในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุไร ๆ อื่น เป็นดุจสีหะ
เสด็จไปเพียงพระองค์เดียว ขณะนั้นอันเตวาสิกของนันทดาบสไปหาผลาผล
เมื่อนันทดาบสมองเห็นอยู่นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่