เมนู

รัตติยปุปผิยเถราปทานที่ 3 (173)


ว่าด้วยผลแห่งการถวายถวายดอกอัญชัน


[175] ในกาลก่อน เราเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ได้
เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและ
มนุษย์.

เราเห็นต้นอัญชันเขียวขึ้นอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานอยู่
กลางคืน จึงถอนขึ้นพร้อมทั้งราก น้อมเข้าไปถวายแด่พระ-
พุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่.

ในกัปที่ 91 แต่กัปนี้ เราถวายดอกไม้ใด ด้วยการถวาย
ดอกไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกไม้.

และในกัปที่ 8 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรง
พระนามว่าสุปปสันนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรัตติยปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบรัตติยปุปผิยเถราปทาน

173. อรรถกถารัตติยปุปผิยเถราปทาน


อปทานของท่านพระรัตติยปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท
ปุเร อาสึ
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ท่านได้เกิดในตระกูลของนายพราน เที่ยวฆ่าเนื้อในป่า ได้พบเห็นพระผู้
มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ซึ่งเสด็จเที่ยวไปในป่าเพราะความกรุณา
แก่เขาแล้ว มีใจเลื่อมใส เก็บเอาดอกไม้ชื่อว่าราตรีซึ่งบานแล้ว และดอก
อัญชันพร้อมทั้งขั้วมาบูชา ด้วยจิตอันประกอบไปด้วยโสมนัส. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ก็เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-
โลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้
เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มองเห็นโทษในกามทั้งหลาย
แล้วออกบวช ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตน
ได้ เกิดความโสมนัสใจว่า เราเป็นนายพราน ได้ทำกุศลกรรมไว้ดีหนอ
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์ในคำนั้น
ว่า ชื่อว่า มิคลุททะ เพราะเป็นคนโหดร้าย ป่าเถื่อน ฆ่าเนื้อทั้งหลาย,
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า มิคลุททะ เพราะเป็นพรานมีความโลภในหมู่เนื้อ
อธิบายว่า ในครั้งก่อนเราได้เป็นนายพราน. บทว่า รตฺติกํ ปุปฺผิตํ