เมนู

3. เถราปทาน


สารีปุตตเถราปทานที่ 3 (1)


ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร


ลำดับนี้ขอเชิญฟังเถราปทาน


[3] ในที่ไม่ไกลแต่หิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ เรา
สร้างอาศรมไว้อย่างดี สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น
อาศรมของเราไม่ไกลจากแม่น้ำอันไม่ลึก มีท่าน้ำราบเรียบ
เป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาวสะอาด.
ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวดตลิ่งไม่ชัน
น้ำจืดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็นไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.
ฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลาม และเต่า ว่ายเล่นอยู่ในแม่น้ำ
นั้น แม่น้ำไหลไปทำให้อาศรมของเรางาม.
ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา
ตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโดดอยู่ ทำให้อาศรมของ
เรางาม.
ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่
ทั้งสองฝั่ง ทำให้อาศรมของเรางาม.
ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า แคฝอย ไม้ย่างทราย
ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กากะทิ บุนนาค
และลำเจียก มีกลิ่นหอมฟุ้งเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรม
ของเรา.

ไม้ลำดวน ต้นอโศก ดอกกุหลาบบานสะพรั่ง ไม้ปรู
และมะกล่ำหลวง ดอกบานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
การะเกด พะยอมขาว พิกุลและมะลิซ้อน มีดอกหอมอบอวล
ทำให้อาศรมของเรางาม.
ไม้เจตพังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันมีมาก
ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำให้อาศรมของเรางาม.
บุนนาค บุนนาคเขา และแคฝอย ดอกบานสะพรั่ง
หอมตลบอบอวล ทำให้อาศรมของเรางาม. ไม้ราชพฤกษ์
อัญชันเขียว ไม้กระทุ่มและพิกุลมีมาก ดอกหอมฟุ้งไป
ทำให้อาศรมของเรางาม.
ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด งอกงามด้วยน้ำหอม
ออกผลสะพรั่ง.
ดอกปทุมอย่างอื่นบานเบ่ง ดอกบัวชนิดอื่นก็เกิดขึ้น บัว
หลวงชนิดหนึ่งดอกร่วงพรู บานอยู่ในบึงในกาลนั้น.
กอปทุมมีดอกตูม เหง้าบัวก็เลื้อยไป กระจับเกลื่อนด้วยใบ
งามอยู่ในบึงในกาลนั้น.
ไม้เตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรา และชบา กลิ่นหอม
ตลบไป ดอกบานอยู่ในบึงในกาลนั้น.
ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา
ตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน มีอยู่ในบึงในกาลนั้น.
ฝูงจระเข้ ปลาสลาด ปลาฉนาก ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือม
ใหญ่ อยู่ในบึงนั้นในกาลนั้น. ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ

นกจากพรากที่เที่ยวไปในน้ำ นกดุเหว่า และสาลิกา อาศัย
สระนั้นเลี้ยงชีวิต.
ฝูงนกกวัก ไก่ฟ้า ฝูงนกกะลิงป่า นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า
ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต. ฝูงหงส์ นกกะเรียน นกยูง
นกดุเหว่า ไก่ นกค้อนหอย และนกโพระดก ย่อมอาศัย
เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.
ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขา เหยี่ยวและนกกาน้ำ
จำนวนมาก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.
ฝูงเนื้อฟาน กวาง หมู หมาป่า หมาจิ้งจอก ละมั่ง
และเนื้อทรายมากมาย ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน เสือดาว
โขลงช้าง แยกกันเป็นสามพวก อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้
สระนั้น.
เหล่ากินนร วานร แม้คนทำงานในป่า หมาไล่เนื้อ
และนายพราน ก็อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.
ต้นมะพลับ มะหาด มะซาง หมากเม่า เผล็ดผลอยู่
เป็นประจำในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา.
ต้นคำ ต้นสน กระทุ่ม สะพรั่งด้วยผลมีรสหวาน เผล็ดผล
ทุกฤดู อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา.
ต้นสมอ มะขามป้อม มะม่วง หว้า สมอพิเภก กระเบา
ไม้รกฟ้า และมะตูม เผล็ดผลเป็นนิจ.

เหง้ามัน มันอ้อน ต้นนมแมว มันนก กะเม็ง และคัดมอน
มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.
ณ ที่ไม่ไกลอาศรมของเรานั้น มีสระขุดไว้อย่างดี มี
น้ำรสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นที่รื่นรมย์ใจ.
ดาดาษด้วยบัวหลวง อุบล และบัวขาว เกลื่อนกลาด
ด้วยบัวขม บัวเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.
ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์
ด้วยวัตร มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌานทุกเมื่อ บรรลุ
อภิญญาพละ 5 อยู่ในอาศรมที่สร้างเรียบร้อยน่ารื่นรมย์ ใน
ป่าอันมีไม้ดอก ไม้ผล สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทั้งปวงด้วย
ประการอย่างนี้.
ศิษย์ของเรา 24,000 คนนี้เป็นพราหมณ์ทั้งหมด ผู้มีชาติ
มียศ บำรุงเราอยู่.
มวลศิษย์ของเรานี้เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์
ในตำราทำนายลักษณะและในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์
นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ ถึงความเต็มเปี่ยมในธรรมของตน.
เหล่าศิษย์ของเราเป็นผู้ฉลาดในลางดีร้าย. ในนิมิต และ
ในลักษณะ ศึกษาดีแล้วในแผ่นดิน ในพื้นที่และอากาศ.
ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้มักน้อย มีปัญญา มีอาหารน้อย ไม่โลภ
สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.
เป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ
มีจิตตั้งมั่น ปรารถนาความไม่มีกังวล ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

เป็นผู้ถึงความยอดเยี่ยมแห่งอภิญญา ยินดีในโคจรคือ
อาหารอันเป็นของบิดา เที่ยวไปในอากาศ เป็นนักปราชญ์
ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.
ศิษย์ของเราเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ สำรวมทวาร 6 ไม่
หวั่นไหว รักษาอินทรีย์ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ หาผู้ทัดเทียม
ได้ยาก.
ศิษย์ของเราเหล่านั้นยับยั้งอยู่ตลอดราตรี ด้วยการนั่งคู้
บัลลังก์ ด้วยการยืนและการเดินจงกรม หาผู้ทัดเทียมได้
ยาก.
เหล่าศิษย์ของเรา ไม่กำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่
หลงในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง หาผู้ทัดเทียมได้ยาก.
ศิษย์เหล่านั้นแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ประพฤติอยู่เป็นนิจ-
กาล บันดาลให้แผ่นดินไหวก็ได้ ยากที่ใครจะแข่งได้.
ศิษย์ของเราเหล่านั้น เมื่อจะเล่น ย่อมเล่นฌาน นำผล
หว้าจากต้นหว้ามา หาผู้ทัดเทียมมิได้.
พวกหนึ่งไปยังอมรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปยังปุพพ-
วิเทหทวีป พวกหนึ่งไปยังอุตตรกุรุทวีป ไปนำเอาผลหว้ามา
ยากที่ผู้อื่นจะทัดเทียมได้ด้วยการแสวงหา.
ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้างหน้า ตนเองไปข้างหลัง
ท้องฟ้าถูกดาบส 24,000 ปกปิดแล้ว. ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุก

ด้วยไฟแล้วกิน บางพวกก็กินดิบๆ นั่นเอง บางพวกเอาฟัน
แทะเปลือกออกแล่วจึงกิน.
บางพวกซ้อมด้วยครกแล้วกิน บางพวกทุบด้วยหินกิน
บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง บางพวกชอบสะอาด ลงอาบน้ำ
ทั้งเวลาเย็นและเช้า บางพวกเอาน้ำราดตัว ศิษย์ของเราหา
ผู้ทัดเทียมได้ยาก.
ศิษย์ของเราปล่อยเล็บมือ เล็บเท้า และขนรักแร้ออกยาว
ขี้ฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร หอมด้วยกลิ่นศีล หาผู้ทัดเทียม
ได้ยาก.
ชฏิลทั้งหลายมีตบะแรงกล้า ประชุมกันในเวลาเช้า
แล้วไปประกาศลาภมากในอากาศในกาลนั้น. เมื่อดาบส
เหล่านี้หลีกไป เสียงอันดังย่อมเป็นไป เทวดาทั้งหลายย่อม
ยินดีด้วยเสียงหนังเสือ.
ฤๅษีเหล่านั้นกล้าแข็งด้วยกำลังของตน เหาะไปในอากาศ
ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ตามปรารถนา.
ปวงฤๅษีนี้แลทำแผ่นดินให้หวั่นไหว เที่ยวไปในอากาศ
มีเดชแผ่ไป ยากที่จะข่มขี่ได้ อันคนอื่นให้กระเพื่อมไม่ได้
ดังสาครอันใคร ๆ ให้กระเพื่อมไม่ได้ฉะนั้น.
ฤๅษีศิษย์ของเรา บางพวกประกอบการยืนและเดิน บาง
พวกไม่นอน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง หาผู้อื่นเสมอ
ได้ยาก.

ท่านเหล่านี้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา แสวงหาประโยชน์เกื้อ-
กูลแก่สรรพสัตว์ ไม่ยกตนทั้งหมด ไม่ติเตียนใคร ๆ ทั้งนั้น.
เป็นผู้ไม่สะดุ้งดังพญาราชสีห์ มีกำลังดังพญาคชสาร ยาก
ที่จะข่มได้ดังเสือโคร่ง ย่อมมาในสำนักของเรา.
พวกวิชาธร เทวดา นาค คนธรรพ์ ผีเสื้อน้ำ กุมภัณฑ์
อสูร และครุฑ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.
ศิษย์ของเราเหล่านั้น ทรงชฎา สมบูรณ์ด้วยหาบบริขาร-
ดาบส นุ่งห่มหนังสัตว์ เที่ยวไปในอากาศได้ทุกคน อาศัย
เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.
ในกาลนั้น ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้เหมาะสม มีความเคารพกัน
และกัน เสียงไอจามของศิษย์ทั้ง 24,000 ย่อมไม่มี.
ท่านเหล่านี้ซ้อนเท้าบนเท้า เงียบเสียง สังวรดี ทั้งหมด
นั้น เข้ามาไหว้เราด้วยเศียรเกล้า.
เราเป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในณาน อันศิษย์เหล่านั้นผู้สงบ
ผู้มีตบะ ห้อมล้อมอยู่ในอาศรมนั้น.
อาศรมของเรามีกลิ่นหอมด้วยกลิ่นศีลของเหล่าฤๅษี และ
ด้วยกลิ่นดอกไม้และกลิ่นผลไม้ทั้งสองอย่าง.
เราไม่รู้จักคืนและวัน ความไม่พอใจ ย่อมไม่มีแก่เรา
เราสั่งสอนบรรดาศิษย์ของตน ย่อมได้ความร่าเริงอย่างยิ่ง.
เมื่อดอกไม้ทั้งหลายบาน และเมื่อผลไม้ทั้งหลายสุก
กลิ่นหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม.

เราออกจากสมาธิแล้ว มีความเพียร มีปัญญา ถือเอา
บริขารดาบสเข้าไปป่า.
ในกาลนั้น เราศึกษาชำนาญในลางดีร้าย ในการทำนาย
ฝัน และตำราทำนายลักษณะ ทรงบทมนต์อันกำลังเป็นไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้ประเสริฐ
ในโลก เป็นนระผู้องอาจ ทรงใคร่ความวิเวก เป็นพระ-
สัมพุทธเจ้า เข้าไปยังเขาหิมวันต์.
พระองค์ผู้เลิศ เป็นมุนี ประกอบด้วยพระกรุณา เป็น
อุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าหิมพานต์แล้ว ทรงนั่งขัดสมาธิ.
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระรัศมีสว่างจ้า
น่ารื่นรมย์ใจ ดุจดอกบัวเขียว ควรบูชา ทรงรุ่งเรื่องดังกองไฟ.
เราได้เห็นพระนายกของโลก ทรงรุ่งโรจน์ดุจต้นไม้
ประดับด้วยประทีป ดุจสายฟ้าในท้องฟ้า ดุจพญารังอันบาน
สะพรั่ง.
เพราะอาศัยการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้
เป็นมหาวีระ ทรงทำที่สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์
ทั้งปวงได้.
ครั้นเราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดา
แล้ว ได้ตรวจดูลักษณะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือมิใช่.
เอาเถอะ เราจะดูพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ เราได้
เห็นจักรมีกำพันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะ
ของพระองค์แล้ว จึงถึงความตกลงใจในพระตถาคต.

ในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั้น แล้วได้นำเอา
ดอกไม้ 8 ดอก มาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ครั้นบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำ
หนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการพระนายกของโลก.
พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วยพระญาณใด
เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคำเรากล่าว.
ข้าแต่พระสยัมภู ผู้เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งพระคุณหาประ-
มาณมิได้ ขอพระองค์จงรื้อถอนสัตว์โลกนี้ สัตว์โลกเหล่านั้น
อาศัยการได้เห็นพระองค์ ย่อมข้ามกระแสคือความสงสัย
เสียได้.
พระองค์ทรงเป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธงชัย เป็นหลัก
เป็นที่อาศัย เป็นที่พึ่งพิง เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ เป็นพระพุทธ-
เจ้าของสัตว์ทั้งหลาย.
น้ำในมหาสมุทรอาจประมาณได้ด้วยมาตราตวง แต่
ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้
เลย.
เอาดินมาชั่งดูแล้ว อาจประมาณแผ่นดินได้ แต่ใคร ๆ
ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย.
อาจวัดอากาศได้ด้วยเชือกหรือนิ้วมือ แต่ใคร ๆ ไม่อาจ
ประมาณพระสัพพัณญุตญาณของพระองค์ได้เลย.
พึงอาจประมาณน้ำในมหาสมุทร และแผ่นดินทั้งหมดได้
แต่จะถือเอาพระพุทธญาณมาประมาณนั้นไม่ควร.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ จิตของสัตว์เหล่าใดย่อมเป็น
ไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก สัตว์เหล่านี้ย่อมอยู่ในภายในข่าย
คือพระญาณของพระองค์.
พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดสิ้นเชิง ด้วย
พระญาณใด พระสัพพัญญูก็ทรงย่ำยีอัญเดียรถีย์ ด้วยพระ-
ญาณนั้น. สุรุจิดาบสกล่าวชมเชยด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ปูลาด
หนังเสือบนแผ่นดินแล้วนั่ง.
ท่านกล่าวไว้ในบัดนี้ว่า ขุนเขาสูงหยั่งลงในห้วงมหรรณพ
84,000 โยชน์ ขุนเขาสิเนรุทั้งด้านยาวและด้านกว้าง สูง
เพียงนั้น ทำให้ละเอียดถึงแสนโกฏิ ด้วยชนิดแห่งการนับ.
เมื่อทำคะแนน (นับ) ไว้ ย่อมถึงความหมดสิ้นได้ แต่
ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย.
ผู้ใดพึงเอาข่ายตาถี่ ๆ ล้อมน้ำไว้ สัตว์น้ำบางเหล่าพึง
เข้าไปในภายในข่ายของผู้นั้น.
ข้าแต่พระมหาวีระ เดียรถีย์ผู้มีกิเลสหนาบางพวกก็ฉันนั้น
แล่นไปถือเอาทิฏฐิผิด หลงอยู่ด้วยการลูบคลำ.
เดียรถีย์เหล่านี้เข้าไปภายในข่าย ด้วยพระญาณอัน
บริสุทธิ์ มีปกติทรงเห็นได้โดยไม่ติดขัด ไม่ล่วงพ้นพระญาณ
ของพระองค์ไปได้.
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี
ผู้มีพระยศใหญ่ ทรงชำนะกิเลส เสด็จออกจากสมาธิแล้ว
ทรงตรวจดูทิศ.

พระอัครสาวกนามว่า นิสภะ ของพระอโนมทัสสีมุนี อัน
พระขีณาสพหนึ่งแสน ผู้มีจิตสงบมั่นคง บริสุทธิ์สะอาด ได้
อภิญญา 6 ผู้คงที่ แวดล้อมอยู่ ทราบพระดำริของพระ-
พุทธเจ้าแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก.
ท่านเหล่านั้นอยู่ในอากาศ ได้กระทำประทักษิณพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ลงมาประนมอัญชลีนมัสการอยู่ในสำนัก
ของพระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นโลก-
เชษฐ์ เป็นนระผู้องอาจ ทรงชำนะกิเลสแล้ว ประทับนั่งใน
ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ทรงกระทำการแย้มพระโอฐ.
พระภิกษุนามว่า วรุณะ อุปัฏฐากของพระศาสดาอโนมทัสสี
ทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระโลกนายกว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเป็นเหตุให้พระศาสดา
ทรงกระทำการแย้มหนอ เพราะเมื่อไม่มีเหตุ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายย่อมไม่ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก เป็น
นระผู้องอาจ ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
นี้ว่า ผู้ใดบูชาเราด้วยดอกไม้ ทั้งชมเชยญาณของเรา เรา
จักประกาศผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
เทวดาทั้งปวงพร้อมทั้งมนุษย์ ทราบพระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าแล้ว ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้า
พระสัมพุทธเจ้า.
หมู่ทวยเทพผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ประสงค์จะฟัง
พระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.
จตุรงคเสนา คือพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
ดนตรีหกหมื่น กลองที่ประดับสวยงาม จักบำรุงผู้นี้เป็น
นิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
หญิงล้วนแต่สาว ๆ หกหมื่นนาง ประดับประดาสวยงาม
มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตรตระการตา สวมกุณฑลแก้วมณี มี
หน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผาย ไหล่ผึ่ง เอวกลม จักห้อม
ล้อมผู้นี้เป็นนิจ.
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ใน
เทวโลกตลอดแสนกัป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแผ่นดิน
พันครั้ง จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง
จักเป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับไม่ถ้วน.
เมื่อถึงภพสุดท้าย ถึงความเป็นมนุษย์ จักคลอดจากครรภ์
นางพราหมณีชื่อสารี นระนี้จักปรากฏตามชื่อและโคตรของ
มารดา โดยชื่อว่า สารีบุตร จักมีปัญญาคมกล้า จักหากังวล
มิได้ ละทิ้งทรัพย์ 80 โกฏิ แล้วออกบวช จักเที่ยวแสวงหา
สันติบททั่วแผ่นดินนี้.

ในกัปอันประมาณมิได้ แต่กัปนี้ไป พระศาสดาทรง
พระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร ทรงสมภพในสกุล
พระเจ้าโอกกากราช จักมีขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาท
ในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จัก
ได้เป็นพระอัครสาวกมีนามว่า สารีบุตร.
แม่น้ำคงคาชื่อว่า ภาคีรสี นี้ ไหลมาแต่ประเทศหิมวันต์
ไหลไปถึงมหาสมุทร ยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม ฉันใด พระสารี-
บุตรนี้ ก็ฉันนั้น เป็นผู้อาจหาญแกล้วกล้าในเวททั้งสาม ถึงที่สุด
แห่งปัญญาบารมี จักยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ.
ตั้งแต่ภูเขาหิมวันต์จนถึงมหาสมุทรสาคร ในระหว่างนี้
ว่าถึงการนับทรายนี้ใดนับไม่ถ้วน การนับทรายแม้นั้น ก็อาจ
นับได้โดยไม่เหลือ ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร
จักไม่มี ฉันนั้นเลย.
เมื่อทำคะแนน (นับ) ไว้ ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป
แต่ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักไม่เป็นเหมือนอย่าง
นั้นเลย.
คลื่นในมหาสมุทร เมื่อจะว่าโดยการนับ ก็นับไม่ถ้วน
ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักนับไม่ได้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
พระสารีบุตรจักยังพระสัมพุทธเจ้า ผู้ศากยโคดม ผู้ประ-
เสริฐให้ทรงโปรด แล้วจักได้เป็นพระอัครสาวกถึงความยอด
เยี่ยมแห่งปัญญา จักประกาศตามได้โดยชอบ ซึ่งพระธรรม-

จักรที่พระผู้มีพระภาคศากยบุตรทรงประกาศแล้ว จักยังเมล็ด
ฝน คือธรรมให้ตกลาง.
พระโคดมผู้เป็นศากยะ ผู้ประเสริฐ ทรงทราบข้อนั้น
ทั้งหมดแล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จักทรงตั้งไว้
ในตำแหน่งอัครสาวก.
โอ ! กรรมเราได้ทำไว้อย่างดีแล้ว แก่พระศาสดาพระ-
นามว่า อโนมทัสสี. เราได้กระทำอธิการคือบุญอันยิ่งใหญ่
แก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ถึงที่สุดในที่ทั้งปวง พระ-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้น่าอัศจรรย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรรมที่เรากระทำไว้ใน
กาลอันนับไม่ได้ว่าเป็นวิบากของกรรมในภพสุดท้ายนี้แก่เรา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว เหมือนกำลังแห่งลูกศรอันพ้น
ดีแล้ว(จากแล่ง). เรานี้แสวงหาบทอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
ดับสนิท ไม่หวั่นไหว พิจารณาเดียรถีย์ทั้งปวง ท่องเที่ยว
ไปแล้วในภพ.
คนเป็นไข้พึงแสวงหาโอสถ ต้องสะสมทรัพย์ไว้ทุกอย่าง
เพื่อปลดเปลื้องความป่วยไข้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อ
แสวงหาอมตบทคือพระนิพพาน อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้
บวชเป็นฤๅษี 500 ชาติ โดยไม่ปะปนกัน.
เราทรงชฎา เลี้ยงชีวิตด้วยหาบคอน นุ่งห่มหนังเสือ
ถึงที่สุดอภิญญาแล้ว ได้ไปสู่พรหมโลก. ความบริสุทธิ์ในลัทธิ
ภายนอก ย่อมไม่มี ยกเว้นแต่ศาสนาของพระชินเจ้า.

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีปัญญา ย่อมบริสุทธิ์ได้ใน
ศาสนาของพระชินเจ้า. เพราะฉะนั้น เราจึงไม่นำตัวเรานี้
ผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ไปในลัทธิภายนอก, เราเมื่อแสวงหาบท
อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง จึงท่องเที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด.
บุรุษผู้ต้องการแก่น พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก จะไม่ได้
แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น ฉันใด คน
เป็นอันมากผู้เป็นเดียรถีย์ มีทิฏฐิต่าง ๆ กันในโลก ก็ฉันนั้น
แล.
คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจากอสังขตบท เหมือนต้นกล้วย
ว่างเปล่าจากแก่นฉะนั้น. เมื่อถึงภพสุดท้ายแล้ว เราได้เป็น
เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ ละทิ้งโภคสมบัติเป็นอันมาก ออกบวช
เป็นบรรพชิตแล้ว.

จบปฐมภาณวาร

ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของพราหมณ์นามว่า สัญชัย ซึ่ง
เป็นผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ข้าแต่พระมหาวีระ
พราหมณ์ชื่อ อัสสชิ สาวกของพระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก
มีเดชรุ่งเรื่อง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น.
ข้าพระองค์ได้เห็นท่านผู้มีปัญญาเป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นใน
ความเป็นมุนี มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาค แย้มบานดัง
ดอกปทุม.

ครั้นข้าพระองค์เห็นท่านผู้มีอินทรีย์อันฝึกดีแล้ว มีใจ
บริสุทธิ์ องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า จึงเกิดความคิดว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์.
ท่านผู้มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส มีรูปงาม สำรวมดี จักเป็น
ผู้ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกอันสูงสุด จักเป็นผู้เห็นอมตบท
เราถามแล้ว ท่านจักตอบ เราจักสอบถามท่านอีก.
ข้าพระองค์ได้ตามไปข้างหลังของท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑ-
บาต รอคอยโอกาสอยู่ เพื่อจะสอบถามอมตบท.
ข้าพระองค์เข้าไปหาท่านซึ่งพักอยู่ในระหว่างถนน แล้ว
ได้ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มีความเพียร ท่านมีโคตร
อย่างไร ท่านเป็นศิษย์ของใคร.
ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้วไม่ครั่นคร้าม ดังพญาไกรสร
ได้พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก อาตมา
เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ผู้เป้นอนุชาตบุตร มียศมาก
ศาสนธรรมแห่งพระพุทธเจ้าของท่าน เป็นเช่นไร ขอได้
โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.
ข้าพระองค์ถามแล้ว ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุก
อย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศรคือตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความ
ทุกข์ทั้งมวลว่า
ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุ

แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระ
มหาสมณเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้.
เมื่อท่านพระอัสสชิแก้ปัญหาแล้ว ข้าพระองค์นั้นได้บรรลุ
ผลที่หนึ่ง เป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้ฟัง
คำสอนของพระชินเจ้า.
ครั้นข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระมุนี ได้เห็นธรรม
อันสงสุด จึงหยั่งลงสู่พระสัทธรรม แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า
ธรรมนี้เท่านั้น ถ้ามีเพียงเท่านั้น พระองค์ทรงทำให้แจ้ง
บทอันไม่เศร้าโศก ที่ข้าพเจ้าไม่ได้พบเห็น ล่วงเวลาไปหลาย
หมื่นกัป.
ข้าพระองค์แสวงหาธรรมอยู่ ได้เที่ยวไปในลัทธิผิด
ประโยชน์นั้นอันข้าพระองค์ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ กาลนี้
มิใช่กาลที่เราจะประมาท ข้าพระองค์อันพระอัสสชิให้ยินดี
แล้ว เพราะได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว.
ข้าพระองค์เมื่อจะแสวงหาสหาย จึงได้ไปยังอาศรม
สหายของข้าพระองค์ สหายเห็นข้าพระองค์จากที่ไกลทีเดียว
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ได้กล่าวคำนี้ว่า
ท่านเป็นผู้มีหน้าตาผ่องใส ความเป็นมุนีคงจะปรากฏแน่
ท่านได้บรรลุอมตบทอันดับสนิท ไม่มีการเคลื่อนแลหรือ.
ท่านได้เป็นผู้เหมาะสมแก่ความงามมาแล้ว เหมือนช้างถูก
แทงด้วยหอกซัดไม่หวั่นไหฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน

เป็นเหมืนฝึกตนแล้ว เป็นผู้สงบระงับในธรรมเครื่องฝึกที่ได้
ฝึกมาแล้ว.
เราได้บรรลุอมตบทอันเป็นเครื่องบรรเทาลูกศรคือความโศก
ได้แล้ว แม้ตัวท่านก็จงบรรลุอมตบทนั้น พวกเราจงไปยัง
สำนักของพระพุทธเจ้ากันเถิด.
สหายอันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว รับคำแล้ว ได้จูงมือ
พากันเข้ามายังสำนักของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากย-
บุตร ข้าพระองค์ทั้งสองจักบวชในสำนักของพระองค์ จัก
อาศัยคำสอนของพระองค์ แล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
ท่านโกลิตะ เป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์ ข้าพระองค์ถึงที่สุด
แห่งปัญญา ข้าพระองค์ทั้งสองจะร่วมกันทำศาสนาให้งาม
ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด จึงเที่ยวไปในลัทธิผิด
เพราะได้อาศัยทัสสนะของพระองค์ ความดำริของข้าพระองค์
จึงเต็ม.
ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งกลิ่น
หอมตลบ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ-
ศากยบุตร ผู้มียศใหญ่ ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ดำรงอยู่ใน
ศาสนธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมเบ่งบานในสมัย.
ข้าพระองค์แสวงหาดอกไม้คือวิมุตติ เป็นที่พ้นภพสงสาร
ย่อมยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ด้วยการได้ดอกไม้ คือวิมุตติ.
ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ เว้นพระมหามุนีเสีย ตลอดพุทธ-

เขต ไม่มีใครเสมอด้วยปัญญาแห่งข้าพระองค์ผู้เป็นบุตรของ
พระองค์.
ศิษย์และบริษัทของพระองค์ พระองค์ทรงแนะนำดีแล้ว
ให้ศึกษาดีแล้ว ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกจิตอันสูงสุด ย่อม
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
ท่านเหล่านั้นเพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์
มีจิตสงบ ตั้งมั่น เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี ย่อม
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
ท่านเหล่านั้นมีความปรารถนาน้อย มีปัญญา เป็น
นักปราชญ์ มีอาหารน้อย ไม่โลเล ยินดีทั้งลาภ และความ
เสื่อมลาภ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
ท่านเหล่านั้นถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีธุดงค์ เพ่งฌาน
มีจีวรเศร้าหมอง ยินดียิ่งในวิเวก เป็นนักปราชญ์ ย่อม
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติมรรค 4 ตั้งอยู่ในอรหัตผล เป็น
เสขะพรั่งพร้อมด้วยผลเบื้องต่ำ 3 หวังประโยชน์อันสูงสุด
ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
ทั้งท่านผู้เป็นพระโสดาบัน ทั้งท่านที่เป็นพระสกทาคามี
พระอนาคามี และพระอรหันต์ปราศจากมลทิน ย่อมแวดล้อม
พระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
สาวกของพระองค์เป็นอันมาก ฉลาดในสติปัฏฐาน ยินดี
ในโพชฌงคภาวนา ทุกท่านย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา
หมั่นประกอบในสัมมัปปธาน ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุก
เมื่อ.
ท่านเหล่านั้นมีวิชชา 3 มีอภิญญา 6 ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์
และปัญญา ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บรรดาศิษย์ของพระองค์เช่นนี้
แลหนอ ศึกษาดีแล้ว หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.
พระองค์ อันศิษย์เหล่านั้นผู้สำรวมดีแล้ว มีตบะ แวดล้อม
แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ดุจพญาราชสีห์ ย่อมงดงามดุจ
พระจันทร์.
ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดินย่อมงาม ถึงความไพบูลย์ และ
ย่อมเผล็ดผล ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระยศ
ใหญ่ พระองค์ก็เป็นเช่นกับแผ่นดิน ฉันนั้น ศิษย์ทั้งหลายตั้ง
อยู่ในศาสนาของพระองค์ ย่อมได้อมตผล.
แม่น้ำสินธุ สรัสสดี จันทภาคา คงคา ยมุนา สรภู
และแม่น้ำมหี เมื่อแม่น้ำเหล่านี้ไหลมา สาครย่อมรับไว้หมด
แม่น้ำเหล่านี้ย่อมละชื่อเดิม ย่อมปรากฏว่าเป็นสาครเท่านั้น
ฉันใด วรรณ 4 เหล่านี้ ก็ฉันนั้น ในสำนักของพระองค์
แล้ว ทั้งหมดย่อมละชื่อเดิม ปรากฏว่าพุทธบุตร.
เปรียบเหมือนดวงจันทร์อันปราศจากมลทิน โคจรอยู่ใน
อากาศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงหมู่ดาวทั้งหมดในโลก ด้วยรัศมี

ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ ก็ฉันนั้น อันศิษย์
ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว ย่อมรุ่งเรืองล้นเหล่าเทวดาและมนุษย์
ตลอดพุทธเขตในกาลทุกเมื่อ.
คลื่นตั้งขึ้นในน้ำลึก ย่อมล่วงเลยฝั่งไปไม่ได้ คลื่นเหล่า
นั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อมเป็นระลอกเล็กน้อยละลายหายไป
ฉันใด ชนในโลกเป็นส่วนมากที่เป็นเดียรถีย์ ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิ
ต่าง ๆ กัน ต้องการจะข้ามธรรมของพระองค์ แต่ก็ไม่ล่วง
เลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ก็ถ้าชนเหล่านั้นมาถึงพระ-
องค์ด้วยความประสงค์จะคัดค้าน พากันเข้ามายังสำนักของ
พระองค์แล้ว ย่อมกลายเป็นจุณไฟ.
เปรียบเหมือนโกมุท บัวขมและบัวเผื่อนเป็นอันมาก ที่
เกิดในน้ำ ย่อมเอิบอาบอยู่ด้วยน้ำเปือกตมและโคลน ฉันใด
สัตว์เป็นอันมาก ก็ฉันนั้น เกิดแล้วในโลก อันราคะและโทสะ
เบียดเบียนแล้วงอกงามอยู่ เหมือนโกมุทงอกงามอยู่ใน
เปือกตมฉะนั้น.
ปทุมเกิดในน้ำ ย่อมไพโรจน์อยู่ในท่ามกลางน้ำ มันมี
เกสรบริสุทธิ์ ไม่ติดด้วยน้ำ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
พระองค์ ก็ฉันนั้น เป็นมหามุนีเกิดในโลก แต่ไม่ติดโลก
เหมือนปทุมไม่ติดน้ำฉะนั้น.
ดอกไม้อันเกิดในน้ำเป็นอันมาก ย่อมบานในเดือนจิตร-
มาส ย่อมไม่ล่วงพ้นเดือนนั้น สมัยนั้นเป็นสมัยดอกไม้น้ำ

บาน ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ ก็ฉันนั้น
เป็นผู้บานแล้วด้วยวิมุตติของพระองค์.
สัตว์ทั้งหลายไม่ล่วงเลยศาสนาของพระองค์ ดังดอกบัว
เกิดในน้ำ ย่อมบานไม่พ้นเดือนกัตติกาฉะนั้น.
พญาไม้รังดอกบานสะพรั่ง กลิ่นหอมตลบ อันไม้รังต้นอื่น
แวดล้อม ย่อมงามยิ่ง ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์
ฉันนั้น บานแล้วด้วยพุทธญาณ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว
ย่อมงาม เหมือนพญาไม้รังฉะนั้น.
ภูเขาหินชื่อว่าหิมวันต์เป็นที่เกิดโอสถของปวงสัตว์ เป็นที่
อยู่ของพวกนาค อสูร และเทวดาทั้งหลาย ฉันใด ข่าแต่
พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ ฉันนั้น เป็นดังโอสถของมวลสัตว์.
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บุคคลผู้บรรลุวิชชา 3 และอภิญญา 6
ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ผู้ที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาพร่ำสอนแล้ว
ย่อมยินดีด้วยความยินดีในธรรม ย่อมอยู่ในศาสนาของ
พระองค์.
ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ออกจากถ้ำที่อยู่เหลียวดูทิศทั้ง 4
แล้วบันลือสีหนาท 3 ครั้ง เมื่อราชสีห์คำราม มฤคทั้งปวง
ย่อมสะดุ้งกลัว.
อันที่จริง ราชสีห์ผู้มีชาติกำเนิดนี้ ย่อมยังปศุสัตว์ให้
สะดุ้งกลัวทุกเมื่อ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์
ทรงบันลืออยู่ พสุธานี้ย่อมหวั่นไหว สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ย่อม
ตื่น หมู่มารย่อมสะดุ้งกลัว ฉันนั้น.

ข้าแต่พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ ปวงเดียรถีย์
ย่อมสะดุ้งกลัว ดังฝูงกา เหยี่ยว และเนื้อ วิ่งกระเจิงเพราะ
ราชสีห์ฉะนั้น.
ผู้เป็นเจ้าคณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชาวโลกเรียกกันว่าเป็น
ศาสดาในโลก ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมอันนำกันสืบ ๆ มา
แก่บริษัท.
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ส่วนพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรมแก่
มวลสัตว์เหมือนอย่างนั้น พระองค์ตรัสรู้สัจจะและโพธิปัก-
ขิยธรรม ด้วยพระองค์เอง ทรงทราบอัธยาศัยกิเลส และ
อินทรีย์มีกำลังและไม่มีกำลัง ทรงทราบภัพพบุคคลและ
อภัพพบุคคล แล้วจึงทรงบันลือประดุจมหาเมฆ.
บริษัทจะพึงนั่งเต็มรอบจักรวาล เขาเหล่านั้นมีทิฏฐิต่างกัน
คิดต่างกัน เพื่อทรงตัดความสงสัยของสัตว์เหล่านั้น พระองค์
ผู้เป็นมุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมา ทรงทราบจิตของสัตว์ทั้งปวง
เมื่อได้ทรงแก้ปัญหาข้อเดียวเท่านั้น ก็ตัดความสงสัยของสัตว์
ทั้งหลายได้.
แผ่นดินพึงเต็มด้วยคนเช่นกับจอกแหนในน้ำ คนทั้งหมด
นั้นประนมอัญชลีสรรเสริญพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก หรือ
ว่าคนเหล่านั้นสรรเสริญอยู่ตลอดกัป ฟังสรรเสริญพระคุณ
ต่าง ๆ ก็ไม่ทำพระคุณให้สิ้นสุดประมาณได้ พระตถาคตมี
พระคุณหาประมาณมิได้.

ด้วยว่าพระมหาชินเจ้า เป็นผู้อันเราสรรเสริญแล้วตาม
กำลังของตนเท่านั้นฉันใด คนทั้งหลายก็ฉันนั้น เมื่อสรรเสริญ
อยู่ถึงโกฏิกัป ก็จะพึงสรรเสริญอย่างนี้ ๆ.
ก็ถ้าใคร ๆ จะเป็นเทพหรือมนุษย์ก็ตาม ผู้ศึกษามาดีแล้ว
จะสรรเสริญคุณให้สุดประมาณได้
ผู้นั้นก็จะได้แต่ความลำบากเท่านั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้
ศากยบุตร มีพระยศมาก ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในศาสนาของ
พระองค์ ถึงที่สุดแห่งปัญญาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้อยู่.
ข้าพระองค์จะย่ำยีพวกเดียรถีย์ ยังศาสนาของพระชินเจ้า
ให้เป็นไป จะเป็นธรรมเสนาบดีในศาสนาของพระศากยบุตร
ในวันนี้ไป.
กรรมที่ข้าพระองค์กระทำแล้ว ในกาลอันหาประมาณมิได้
แสดงผลแก่ข้าพระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์เผากิเลสแล้ว ดุจ
ลูกศรอันหมดกำลังแล้ว.
มนุษย์คนใดคนหนึ่งทูนของหนักไว้บนศีรษะทุกเวลา ต้อง
ลำบากด้วยภาระ ฉันใด อันภาระที่เราแบกอยู่ ก็ฉันนั้น. เรา
ถูกไฟ 3 กองเผาอยู่ เป็นผู้แบกภาระคือภพ เหมือนถอน
เขาสิเนรุวางไว้บนศีรษะ ท่องเที่ยวไปในภพ.
บัดนี้ เราปลงภาระแล้ว เพิกภพทั้งหลายเสียแล้ว กิจที่
ควรทําทุกอย่างในศาสนาของพระศากยบุตร เราทำเสร็จแล้ว.
ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระศากยบุตร เราเป็นเลิศด้วย
ปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา.

เราเป็นผู้ฉลาดดีในสมาธิ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์วันนี้ เรา
ปรารถนาจะนิรมิตคนสักพันก็ได้.
พระมหามุนีทรงเป็นผู้ชำนาญในอนุปุพพวิหารธรรม ตรัส
คำสอนแก่เรา นิโรธเป็นที่อยู่ของเรา.
ทิพยจักษุของเราหมดจด เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่น
ประกอบในสัมมัปปธาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์.
ก็กิจทุกอย่างที่สาวกจะพึงทำ เราทำเสร็จแล้ว เว้นพระ-
โลกนาถ ไม่มีใครเสมอเรา.
เราเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้ฌานและวิโมกข์รวดเร็ว
ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ ถึงที่สุดแห่งสาวกคุณ.
เราทั้งหลายเป็นผู้เคารพในบุรุษผู้สูงสุด ด้วยการสัมผัส
สาวกคุณ และด้วยปัญญาจิตของเรา สงเคราะห์เพื่อน
พรหมจรรย์ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ.
เรามีความเย่อหยิ่งด้วยมานะอันวางแล้ว ดุจงูถูกถอนเขี้ยว
และเหมือนโคเขาหักฉะนั้น เข้าไปหาหมู่คณะด้วยความ
เคารพหนัก.
ถ้าปัญญาของเราจะมีรูปร่าง ก็จะเสมอด้วยพระเจ้า-
แผ่นดินทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระญาณของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี.
เราย่อมยังพระธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคศากยบุตร
ผู้คงที่ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ นี้เป็นผล
แห่งการชมเชยพระญาณ.

คนที่มีความปรารถนาลามก เกียจคร้าน ละความเพียร
มีสุตะน้อย และไม่มีอาจาระ อย่าได้สมาคมกับเราในที่ไหนๆ
ในกาลไร ๆ.
ส่วนคนผู้มีสุตะมาก มีปัญญา ตั้งมั่นดีแล้วในศีล และ
เป็นผู้ประกอบด้วยความสงบใจ ขอจงตั้งอยู่บนกระหม่อม
ของเรา.
ด้วยเหตุนั้น เราจึงขอบอกกล่าวท่านทั้งหลาย ขอความ
เจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในสมาคมนี้.
ขอท่านทั้งหลายจงมีความปรารถนาน้อย สันโดษ และ
ให้ทานทุกเมื่อ.
เราเป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้เห็น
พระอัสสชิก่อน ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชินั้น เป็นอาจารย์
ของเรา เป็นนักปราชญ์.
เราเป็นสาวกของท่าน วันนี้ เป็นธรรมเสนาบดี ถึงที่สุด
ในที่ทุกแห่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชิผู้เป็นอาจารย์ของเรา อยู่ใน
ทิศใด เราย่อมทำท่านไว้เหนือศีรษะในทิศนั้น.
พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ ทรงระลึกถึงกรรมของเรา
แล้วประทับนั่งอยู่ในหมู่ภิกษุ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ.
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ
เสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสารีปุตตเถราปทาน

พรรณนาเถราปทาน


1. พรรณนาสารีปุตตเถราปทาน


ต่อจากนั้น เพื่อจะสังวรรณนาคาถารวบรวมเถราปทาน ท่าน
จึงกล่าวว่า อถ เถราปทานํ สุณาถ ดังนี้.
อรรถแห่ง อถ ศัพท์ และ อปทาน ศัพท์ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น.
ก็บรรดาศัพท์เหล่านี้ เถร ศัพท์นี้ เป็นไปในอรรถมิใช่น้อย มี
อรรถว่า กาล มั่นคง บัญญัติ ชื่อ และใหญ่ เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น เถรศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า กาล เช่นในประโยค
มีอาทิว่า เถโรวสฺสิกานิ ปูตีนิ จุณฺณกชาตานิ แปลว่า ท่อนกระดูก
ทั้งหลาย ที่ฝนตกชะอยู่เกินเวลานานปีแล้ว ผุป่นละเอียดไป. อธิบายว่า
ฝนตกชะอยู่นาน คือตกเป็นเวลานาน.
ใช้ในความหมายว่า มั่นคง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโรปิ ตาว
มหา
แปลว่า เพียงเป็นผู้มั่นคง เป็นใหญ่ก่อน. อธิบายว่า เป็นผู้มีศีล
มั่นคง.
ใช้ในความหมายว่า บัญญัติ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโร
อยมายสฺมา มหลฺลโก
แปลว่า ท่านผู้มีอายุนี้เป็นคนแก่คนเฒ่า, อธิบายว่า
เป็นเพียงโลกบัญญัติ.